https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !! MUSLIMTHAIPOST

 

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!


649 ผู้ชม


14-15 ก.ค. นี้ ! กระทรวงการคลังมอบสิทธิกับผู้สูงอายุได้จองซื้อพันธบัตรก่อน หากมีวงเงินเหลือก็จะจัดสรรขายให้กับประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งหากไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน กระทรวงการคลังก็พร้อมออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นล้านบาท   

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

  

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

        

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

       รัฐบาลประกาศขายพันธบัตร .....โดยทางธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งแก่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้ครบเต็มวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงการคลังจำนวน 7,100 ล้านบาทภายใน 1 ชั่วโมงที่เปิดขาย ส่วนการจำหน่ายช่วงที่ 2 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รายงานว่า การเปิดจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งที่ธนาคารทั้งสิ้น 4,700 ล้านบาท มีประชาชนได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 6,600 ราย  ซึ่งจะเป็นพันธบัตรอายุ 5 ปี คาดว่าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยช่วงปีที่ 1-3 ที่ 3.0%, ปีที่ 4 อัตรา 4.0% และ ปีที่ 5 อัตรา 5.0% ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะสิทธิกับผู้สูงอายุได้จองซื้อพันธบัตรก่อน หากมีวงเงินเหลือก็จะจัดสรรขายให้กับประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งหากไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน กระทรวงการคลังก็พร้อมออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นล้านบาท

 ที่มา : สำนักข่าวไทย

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

เนื้อหาสาระเพิ่มเติม เกี่ยวกับพันธบัตร

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร 

        พันธบัตรรัฐบาล คือ ตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและ ผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย

        การกู้เงินของรัฐบาล โดยออกเป็นพันธบัตรนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ก็เพื่อทำนุบำรุงประเทศ

ช่วยเหลือเงินคงคลัง พันธบัตรรัฐบาลมีการออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        สำหรับพันธบัตรรัฐบาลภายในประเทศเริ่มออกจำหน่ายครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาใน พ.ศ. 2483 กระทรวงการคลังได้มอบให้สำนักงานธนาคารชาติไทยทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับพันธบัตร เมื่อได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยใน พ.ศ. 2485 จึงรับโอนกิจการพันธบัตรดังกล่าวมาดำเนินการต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    การออกจำหน่ายพันธบัตรแต่ละครั้งอาศัยพระราชบัญญัติจัดการกู้เงินที่ตราขึ้นใช้เป็นคราวๆ ไป จนกระทั่งใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฉบับที่ 2 พ.ศ. 2503 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การกู้เงินเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลประจำปี จึงไม่จำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติให้อำนาจรัฐบาลกระทำการกู้เงินในประเทศต่างหากอีกชั้นหนึ่ง ยกเว้น โครงการกู้เงินพิเศษซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างไป เช่น พันธบัตรปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

ประเภทของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่าย

      นับตั้งแต่แรกออกพันธบัตรรัฐบาลจำหน่ายถึงปีงบประมาณพ.ศ. 2503 ได้มีการออกพันธบัตรหลายประเภทและเรียกชื่อพันธบัตรต่างๆ กัน

    1. กรณีแบ่งตามลักษณะการถือไว้ครอบครอง มี 3 ชนิด

        1.1 พันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ใครเป็นผู้ถือพันธบัตรหรือบัตรดอกเบี้ยก็จะจ่ายเงินให้แก่ผู้นั้นพันธบัตรชนิดนี้จะมีบัตรดอกเบี้ยเป็นคูปองติดกับตัวพันธบัตรและโอนกรรมสิทธิ์กันได้โดยการส่งมอบ

        1.2 พันธบัตรชนิดจดบัญชีเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีพันธบัตรไว้ครอบครอง แต่จะฝากไว้กับนายทะเบียนซึ่งออกใบรับให้แก่ผู้ขอจดบัญชีมีการจ่ายดอกเบี้ยตามจดบัญชีแจ้งความจำนงไว้ คือ สั่งจ่ายเป็นเช็คหรือนำเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร การโอนกรรมสิทธิต้องทำเป็นหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียน

        1.3 พันธบัตรชนิดจดทะเบียน เป็นพันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อในพันธบัตรโดยไม่มีบัตรดอกเบี้ยและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิไว้ที่นายทะเบียน
การโอนกรรมสิทธิในพันธบัตรจะทำได้โดยการจดทะเบียน และมีการจ่ายดอกเบี้ยตามที่ผู้ซื้อหรือผู้มีชื่อในพันธบัตรแจ้งความจำนงไว้ คือ สั่งจ่ายเป็นเช็คหรือนำเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร      อนึ่ง ในปัจจุบันรัฐบาลออกจำหน่ายพันธบัตรชนิดที่ 2 และ 3 เป็นส่วนใหญ่

    2. กรณีแบ่งพันธบัตรตามลักษณะรายได้ มี 2 ชนิด

        2.1 พันธบัตรชนิดจ่ายดอกเบี้ยประจำ เหมาะสำหรับผู้ซื้อที่ต้องการรายได้ประจำจากดอกเบี้ยพันธบัตรซึ่งจ่ายเป็นงวดประจำทุก 6 เดือน จนครบอายุของพันธบัตร

        2.2 พันธบัตรชนิดดอกเบี้ยทบต้น เหมาะแก่ผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการดอกเบี้ยไว้ใช้จ่ายประจำงวดแต่ต้องการสะสมเงินให้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆเมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอนจะมีราคาเพิ่มขึ้นจากราคาที่ซื้อไว้

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

 พันธบัตรรัฐบาลต่างจากตราสารประเภทอื่นอย่างไร

     พันธบัตรรัฐบาลต่างจากหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคย เพราะพันธบัตรจะมีอายุชัดเจนกว่าหุ้น ซึ่งจะไม่มีวันครบกำหนดจนกว่าจะมีการเลิกกิจการ โดยพันธบัตรหรือหุ้นกู้จะให้ผลตอบแทนในรูปของ "อัตราดอกเบี้ย" (Coupon Rate) ซึ่งกำหนดจ่ายเป็นรายงวด (อาจเป็นรายเดือน รายครึ่งปีหรือรายปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นรายครึ่งปี)

    นอกจากนี้ พันธบัตรยังระบุระยะเวลา หรืออายุ (Maturity) เอาไว้แน่นอน ตัวอย่างล่าสุด ได้แก่ พันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5 ปี ของรัฐบาลที่จำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยให้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.75 ต่อปี และงวดการจ่ายดอกเบี้ยรายครึ่งปี เป็นต้น

   ทั้งนี้ หากนักลงทุนซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวไว้จนครบอายุพันธบัตร นักลงทุนก็จะได้รับกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยที่ระบุไว้บนหน้าตั๋วตลอดไปจนครบ 5 ปี เช่นซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลเป็นมูลค่าหน้าตั๋ว (Par) 10,000 บาท (หากซื้อมากกว่า นับเป็น 1,2,3,… เท่าของ 10,000 ก็ได้)นักลงทุนสามารถคิดผลตอบแทนที่จะได้รับคือมูลค่า 10,000 คูณด้วย .0675 เท่ากับ 675.0 บาท หารด้วยสองสำหรับการจ่ายครึ่งปีได้เท่ากับ 337.50 บาท (ยังไม่หักภาษี) ทุกครึ่งปีไปจนครบอายุพันธบัตร โดยในปีสุดท้ายผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวน 10,000 บาท ตามมูลค่าหน้าตั๋วที่จ่ายไป อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง นักลงทุนต้องการขายพันธบัตรตลาดรองนั้น การคิดราคาขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรก็จะซับซ้อนขึ้น

อัตราดอกเบี้ย ( coupon rate)

    อัตราดอกเบี้ย คือ เงินที่รัฐบาลสัญญาว่าจะจ่ายให้ผู้ถือพันธบัตรเป็นระยะๆ เช่น ทุก 6 เดือน ซึ่งอัตรานี้จะคงที่ตลอดอายุของพันธบัตรจนถึงงวดสุดท้ายส่วนใหญ่พันธบัตรจะเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ดังนั้น ไม่ว่าราคาของพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผู้ถือพันธบัตร ก็จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุพันธบัตร เช่น พันธบัตรราคาฉบับละ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 6.75% ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ย 67.50 บาทต่อปีจนครบอายุพันธบัตร

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

ผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร

    ผลตอบแทนที่ผู้ถือตราสารได้รับนับจากวันซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ผลตอบแทนของพันธบัตรเป็นสิ่งจูงใจให้คนถือพันธบัตร ผลตอบแทนอาจแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1.)ผลตอบแทนคิดเป็นตัวเงิน (nominal yield)ได้แก่จำนวนเงินจากดอกเบี้ยและผลตอบแทน อื่นๆ 2.) ผลตอบแทนในปัจจุบัน (current yield) คือดอกเบี้ยรับเทียบกับราคาพันธบัตรที่ซื้อมา ผลตอบแทนปัจจุบันอาจไม่สามารถสะท้อนถึงผลตอบแทนของพันธบัตรที่แท้จริง เพราะไม่ได้คำนึงถึงราคาซื้อและราคา ขาย และ 3.) ผลตอบแทนเมื่อครบกำหนด ( yield to maturity) เป็นผลตอบแทน ในรูปดอกเบี้ยและราคาพันธบัตรเทียบกับราคาที่ซื้อมา 

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !! อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน ( current yield) หมายถึง เงินดอกเบี้ยที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับเงินลงทุนซื้อพันธบัตร ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ในการคำนวณจะคำนึงถึงราคาซื้อพันธบัตรนั้น และอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้
พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !! อัตราผลตอบแทนจนถึงอายุไถ่ถอน ( yield to maturity) หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับนับจากวันที่ซื้อพันธบัตรจนถึงวันที่พันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ในการคำนวณจะคำนึงถึงราคาตลาด มูลค่าไถ่ถอน อัตราดอกเบี้ยที่รับต่อปี และช่วงเวลาที่เหลือในการรับดอกเบี้ย

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

เหตุใดราคาของพันธบัตรจึงเปลี่ยนแปลง

    ในระหว่างที่พันธบัตรยังไม่ครบกำหนด นอกจากพันธบัตรจะมี "มูลค่าในตัวเอง" ตามปริมาณกระแสเงินสดในอนาคตที่ผู้ซื้อจะได้อัตราดอกเบี้ย (coupon rate)ที่กำหนด เป็นระยะเวลาที่เท่ากับอายุที่เหลือของพันธบัตรแล้ว ราคาพันธบัตรยังแปรผกผันหรือเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอีกด้วย 

ตัวอย่างของอิทธิพลดอกเบี้ยในตลาด เช่น หากนักลงทุน ต้องการขายพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ซึ่งเป็นพันธบัตรที่นักลงทุนถือครองมาเป็นเวลา

1 ปีแล้ว และสมมติในช่วงเวลาที่ต้องการจะขายนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นช่องทางหาผลตอบแทนประเภทหนึ่งลดลงเหลือร้อยละ 4 ดังนั้น ราคาขายพันธบัตร ที่นักลงทุนต้องการขายในขณะนั้นก็ควรจะสูงกว่าเดิมเนื่องจากพันธบัตรให้ดอกเบี้ยผู้ถือได้ถึงร้อยละ 6 สูงกว่าเงินฝากที่ให้อัตราร้อยละ 4 มาก ทำให้พันธบัตรเป็นที่ต้องการมากขึ้นราคาพันธบัตรจึงสูงขึ้นการที่มีผู้อยากได้พันธบัตรรุ่นนี้มากก็จะทำให้ราคาสูงขึ้น เช่น จะต้องจ่ายเงินจำนวน 1,093.50 บาทซึ่งสูงกว่าราคาตรา 93.50 บาท แต่หากสมมุติว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวสูงขึ้นจากวันซื้อในปีก่อนมาอยู่ในระดับร้อยละ 8 ราคาของพันธบัตรก็ควรจะลดลง เนื่องจากพันธบัตรให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาด นักลงทุนจะมีความต้องการถือครองพันธบัตรรุ่นนี้น้อยลง ทำให้ราคาลดลงเป็น 925.20 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาตรา 74.80 บาท ซึ่งเป็นการขาดทุน ดังนั้นนักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจว่าการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้นั้น มิใช่การลงทุนที่ปลอดความเสี่ยงทั้งหมด แต่เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงจากผลกำไรหรือขาดทุนในลักษณะดังกล่าว แต่หากผู้ลงทุนถือพันธบัตรไว้จนครบกำหนดก็จะได้รับการไถ่ถอนในราคาตรา ( par) การขาดทุนจึงเป็นการขาดทุนทางบัญชีหรือค่าเสียโอกาส

 สถานที่ซื้อหรือขายพันธบัตรรัฐบาล

    รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนทำหน้าที่ออกพันธบัตรให้รัฐบาลตามประกาศกระทรวงการคลังเป็นคราวๆซึ่ง
วิธีการจำหน่ายอาจใช้การประมูลหรือจำหน่ายโดยตรงแกผู้ลงทุน ดังนั้นประชาชนสามารถซื้อพันธบัตรได้โดย

    1. จากธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาหรือตัวแทนที่กระทรวงการคลังแต่งตั้ง อาทิ คลังจังหวัด ธนาคารออมสิน

    2. จากสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตค้าหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถติดต่อสอบถามราคาและผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นต่างๆได้โดยตรงที่สถาบันการเงินแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีพันธบัตรหลายรุ่นแตกต่างกันตามที่ประมูลได้จากรัฐบาลแต่ละคราว เพื่อความสะดวก สถาบันการเงิน ทั้ง 10 แห่งนี้พร้อมที่จะให้คำปรึกษาแนะนำและเสนอราคาพันธบัตรแก่ผู้ลงทุนรายย่อย

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน )
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน)
ธนาคาร เอเชีย จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร ซิตี้แบงค์
ธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร เอ็น. วี.
ธนาคาร สแตนดาร์ดชาเตอร์ด
ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จำกัด

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

ภาระภาษีของผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาล

    บุคคลธรรมดาผู้ถือพันธบัตรจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด โดยส่วนเงินฝากและพันธบัตรของ ธปท. มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราภาษีตามประเภทผู้ถือพันธบัตรมีรายละเอียดดังนี้

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

บุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทย     หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!

บุคคลธรรมดาที่มิได้อยู่ในไทย     หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

                ที่มา : กระทรวงการคลัง

พันธบัตรรัฐบาล..มาแล้วจ้า !!
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1245

อัพเดทล่าสุด