แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1) MUSLIMTHAIPOST

 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


807 ผู้ชม


แมงมัน คือมดชนิดหนึ่งทำรังอยู่ใต้ดิน เมื่อเริ่มฤดูฝนก็จะออกจากรัง และกลายมาเป็นอาหารจานโปรดในที่สุด   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และผู้ที่สนใจทั่วไป
          พอเริ่มฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน ฝนเริ่มโปรยปราย ระยะแรกที่ฝนเริ่มตกใหม่ ๆ นี่แหละสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดินทั้งหลายก็จะเริ่มออกมาหากินขยายพันธุ์สืบต่อไปเป็นตามวงจรชีวิตของมัน  หนึ่งในนั้นได้แก่ “แมงมัน”  แมงมัน คือมดชนิดหนึ่งทำรังอยู่ใต้ดิน เมื่อเริ่มฤดูฝนก็จะออกจากรัง  คนทางภาคเหนือนิยมรับประทานกันมากเพราะมีรสชาติอร่อย ทำให้มีราคาแพงมากถ้าซื้อเป็นกิโลกรัมราคาถึงหลักพัน  และหาซื้อกันไม่ได้ง่ายนักเพราะหายากปีหนึ่งจะให้ได้รับประทานกันแค่ต้นฤดูฝนเท่านั้น

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


        แมงมัน (The subterranean ants) เป็นชื่อเรียกของมดชนิดหนึ่ง ที่เราพบเห็นตัวโดยทั่วไปนั้นทำหน้าที่เป็นมดราชินีสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carebara sp. 1 of AMK ทางภาคเหนือเรียกว่า “ลูกแมงมัน”   อันที่จริงคือ “มดราชินี” นั่นเอง

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


ลักษณะของแมงมันแบ่งตามชนิดที่พบมี 3  ลักษณะคือ
           1.  แม่แมงมัน หรือมดงาน จะมีลักษณะคล้ายมดตัวเล็กๆ สีแดงออกส้ม กัดเจ็บและคันมาก 
           2.  ไข่ มีลักษณะคล้ายไข่มดแดง มีสีนวล เรียกไข่แมงมัน  ไข่แมงมันมีอยู่ 2 ชนิดคือ
                  -ไข่ฟองเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า “แย๊บ”  ซึ่งจะเป็นแม่แมงมัน หรือมดงาน  
                  - ไข่ฟองใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า “เต้ง”  ซึ่งจะเป็นลูกแมงมัน 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


           3.  ลูกแมงมัน มีปีกคล้ายกับลูกมดแดงแต่ตัวใหญ่กว่า ส่วนท้ายจะป่องมากมีสีน้ำตาลไหม้ บินได้ มีอยู่ 2 ชนิด คือ 
                 - ตัวผู้  มีสีออกเหลือง มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย  ชาวบ้านเรียกว่า “แมงมันปู๊”  หรือ  “แมงมันคา”    ชนิดนี้คนไม่ค่อยนิยมรับประทานเพราะรสชาดไม่อร่อย  
                 - ตัวเมีย  สีออกแดงคล้ำ ตัวใหญ่กว่าตัวผู้  ชาวบ้านเรียกว่า “แมงมันหลวง”  หรือ“แมงมันก่ำ”   หรือ “แมงมันแม่”   เป็นชนิดที่คนนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร
 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


              ภาพ เปรียบเทียบระหว่าง แมงมันตัวเมีย(แมงมันแม่)  กับแมงมันตัวผู้(แมงมันปู๊)

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)

                            แมงมันหลวง   บางทีเรียกว่า “แมงมันแม่”   หรือ “แมงมันก่ำ”

ที่อยู่อาศัย
        แมงมันชอบอาศัยอยู่ตามที่ดินที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบดินแข็งและชอบอยู่ใกล้รากไม้ใหญ่ๆ  เช่น ต้นไผ่    ต้นโพธิ์   ต้นฉำฉา  แมงมันจะทำรังคล้ายปลวก แมงมันจะไม่ย้ายรังถ้าไม่ถูกรบกวนจากคน ก่อนที่ลูกแมงมันจะออกมาแม่แมงมันจะออกมา ก่อนเพื่อขยายรูให้กว้างขึ้น เพราะลูกแมงมันตัวโตกว่า แม่แมงมันจะใช้เวลาขยายรูประมาณ 2-3  ชั่วโมง ลูกแมงมันถึงจะออกจากรูตามมาจะบินไปผสมพันธุ์ใหม่  ตามปกติรังของแมงมันตัวผู้กับรังของแมงมันตัวเมียจะอยู่แยกกันคนละแห่ง  เมื่อทั้งแมงมันตัวผู้และแมงมันตัวเมียบินออกจากรูแล้ว ก็จะบินไปหาคู่กันเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ต่อไป   สำหรับรังเดิมหากไม่ถูกรบกวนก็จะขยายรังมีขนาดใหญ่ และขยายรังอยู่บริเวณใกล้เคียงมากขึ้น   รังส่วนใหญ่จะอยู่ในดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 1)


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
         1.   อธิบายวงจรชีวิตของแมงมัน
         2.   เพราะเหตุใดแมงมันจึงมีราคาแพง
         3.   อธิบายลักษณะของ  แม่แมงมัน  ไข่แมงมัน  และลูกแมงมัน
         4.   บอกความแตกต่างของแมงมันตัวผู้  กับแมงมันตัวเมีย
         5.   อธิบายที่อยู่อาศัยของแมงมัน


กิจกรรมเสนอแนะ
          1.   สัมภาษณ์ชาวบ้านที่มีอาชีพเก็บแมงมันมาขาย
          2.   ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต
          3.   ศึกษาจากสถานที่จริงที่มีแมงมัน


การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาไทย

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  / ภาพประกอบ
https://www.horapa.com/webboard/show.php?Category=&No=3330
https://www.dnp.go.th/FOREMIC/NForemic/this_month/Carebara%20castanea/carebara.htm
https://se7en.allblogthai.com/11
https://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem704.html
https://www.banrongkhun.com/webboard/view.php?Qid=252&cat=2
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2676

อัพเดทล่าสุด