https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2) MUSLIMTHAIPOST

 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)


871 ผู้ชม


แมงมันสามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารจานโปรดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือไข่แมงมันและอย่างที่สองคือ ตัวโตเต็มวัยของมันได้แก่แมงมันแม่ ดังนั้นกรรมวิธีที่จะได้แมงมันมาทำเป็นอาหารได้จึงมี 2 วิธีตามชนิดของมัน   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   และผู้ที่สนใจทั่วไป

วิธีการหาแมงมัน    การหาแมงมันเพื่อมาทำเป็นอาหารนั้นมี 2 แบบ คือ
1.  การขุดหาไข่แมงมัน
          ชาวบ้านมักจะขุดหาแมงมันประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน  การหาแหล่งรังหรือโพรงที่อยู่ของแมงมันที่ง่ายที่สุดก็คือ ชาวบ้านจะขุดบริเวณที่แมงมันเคยออก ขุดเพื่อหารูเล็กๆโดยสังเกตจากการพบแม่แมงมัน จากนั้นจึงขุดตามรูไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพบโพรงไข่สำรองที่เรียกว่า "โผ้งเผาะ" ซึ่งเป็นรังขนาดเล็กแต่ก็มีไข่แมงมันอยู่บ้าง จากนั้นค่อยๆ ขุดลงไปจะพบโพรงจริงที่เรียกว่า "โผ้งใหญ่" จะพบไข่เป็นจำนวนมาก ค่อยๆตักไข่แมงมันทั้งหมด หากพบนางพญามักจะปล่อยไปเพื่อให้ออกไข่ต่อไป นำไข่ทั้งหมดมากรองด้วยผ้าขาวบางค่อยๆเทน้ำล้าง เรียกว่า "ถะหลอง" เพื่อคัดเอารัง  เศษดิน เศษรากไม้ออก ส่วนหลุมเดิมตามความเชื่อบางคนจะเอาใบไม้หรือเศษกระดูกสัตว์ใส่ไว้ก่อนกลบดินโดยเชื่อว่าแมงมันจะไม่ย้ายไปไหน การขุดแมงมันโดยวิธีนี้ เพื่อต้องการ ไข่  ตัวอ่อน และดักแด้ มาทำเป็นอาหาร   แต่การหาแมงมันด้วยวิธีนี้ แมงมันมักจะไม่มีให้ขุดหรือเก็บในปีต่อไป  ดังนั้นชาวบ้านมักจะไม่ขุดในที่บ้านของตัวเอง แต่มักไปขุดตามป่าหรือนอกบ้าน

  แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)

                                                         การขุดหาไข่แมงมัน

 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)

                               รังแมงมัน  หรือโพรงที่อยู่  ชาวบ้านเรียกว่า "โผ้งแมงมัน"

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)


                                                               ไข่แมงมันที่ขุดได้


2.   การเก็บแมงมัน   
         แมงมันจะเจริญเติบโตเต็มวัยของมันเมื่อฝนเริ่มตกในเดือนพฤษภาคม  ผืนดินมีความเปียกชื้นพอสมควร หลังจากฝนตกวันแรกไปแล้วประมาณ 1 วัน ช่วงตอนเย็นเวลาประมาณ 16.00-20.00 น.เป็นช่วงเวลาที่แมงมันจะออกจากรู แต่ถ้าเย็นวันนั้นฝนตกแมงมันก็จะไม่ออกจากรูและรอวันถัดไปที่ไม่มีฝนตก  แมงมันที่เก็บมาเป็นอาหารคือแมงมันหลวง หรือแมงมันแม่ หรือแมงมันก่ำตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียกกัน  ชาวบ้านจะเตรียมขวดเปล่า ขี้เถ้า แล้วเดินหารูแมงมันตามบริเวณที่แมงมันเคยออกเมื่อปีก่อนๆ สังเกตแม่แมงมันจะขุดรูขึ้นมาก่อนและขยายรูให้ใหญ่ขึ้นเพื่อจะให้ลูกแมงมันออกมาจากรูได้  เมื่อเห็นจะเอาไม้ปักใกล้ๆบริเวณนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเจ้าของไว้ก่อนเรียกว่า "หมายรู"  เป็นการจับจอง แล้วเดินหาตามบริเวณนั้น เผื่อจะมีรูอื่นๆให้จับจองอีก  เมื่อมีลูกแมงมันเริ่มออกรูคนที่เก็บจะใช้ขี้เถ้าที่เตรียมมาโรยเป็นทางเพื่อกันไม่ให้แม่แมงมันมากัดได้ เพราะหากโดนกัดจะคันมาก  แมงมันบางรูจะมีแมงมันออกมาเป็นจำนวนมากและรวดเร็วจนเก็บแทบไม่ทันเรียกกันว่า "แมงมันกึน"   วิธีการเก็บมักจะรอให้สลัดปีกก่อนแล้วจึงเก็บโดยการจับที่ปีก หากจับช้าไปแมงมันก็จะบินหนีไปอย่างรวดเร็ว   ช่วงเวลาที่เก็บไม่ควรส่งเสียงดังหรือเดินจนหน้าดินสะเทือน ทั้งนี้เป็นเพราะถ้ามันรู้ตัวว่าจะมีภัยแมงมันจะไม่ออกมา   การเก็บบางครั้งก็ค่ำมืดต้องหาตะเกียงหรือไฟฉายมาส่อง    แต่ในบางครั้งมีแมงมันเป็นจำนวนมากที่ไม่มีคนพบเห็นก็จะบินมาเล่นไฟเหมือนแมลงทั่วไป  ชาวบ้านมักจะเอาน้ำใส่กาละมังวางไว้ใต้หลอดไฟก็จะสามารถเก็บเอาแมงมันมาเป็นอาหารได้เหมือนกัน

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)

                                                       แมงมันกำลังออกจากรู

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)
 การเก็บแมงมัน


การทำอาหารจากแมงมัน
     1.   อาหารที่ทำจากไข่แมงมัน  ไข่แมงมันสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงใส่ไข่  ใส่ต้นหอม  ต้มใส่ผักกาด  เครื่องปรุงมี กะปิ หอมแดง พริกแห้ง  นอกจากนี้ไข่แมงมันยังสามารถเก็บไว้รับประทานนานๆ ได้ โดยการดองไข่แมงมัน เรียกว่า “แมงมันจ่อม”  วิธีการก็คือ นำน้ำแช่ข้าวเหนียว(น้ำข้าวมวก) ใส่เกลือเล็กน้อย  ต้มน้ำให้สุก ใส่ไข่แมงมันลงไปดองในภาชนะที่มีฝาปิด ทิ้งไว้สัก 2-3  วัน จะมีรสเปรี้ยวนิดหน่อยวิธีรับประทานโดยการนำแมงมันจ่อมมาโรยด้วยพริกแห้งปิ้งที่โขลกหยาบๆ โรยหน้าพร้อมกับต้นหอมผักชีรับประทานกับสะเดาที่ลวกแล้ว
 

 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)

                                           แมงมันจ่อมที่วางขายตามท้องตลาด                                                 

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)

                                                              แกงไข่แมงมัน


 
2.  อาหารจากลูกแมงมัน  หรือแมงมันแม่ที่มีปีก ชาวบ้านนิยม นำมาคั่วใส่เกลือนิดหน่อย หรือบางคนใส่น้ำมันพืชลงไปเล็กน้อย  ชาวบ้านเรียก "แมงมันคั่ว" รับประทานกับข้าวเหนียว  แมงมันคั่วสามารถเก็บไว้ทานได้นานๆ  และสามารถนำมาทำเป็น “น้ำพริกแมงมัน”  โดยการนำแมงมันคั่ว เด็ดปีกออกโขลกกับพริกหนุ่ม พร้อมเครื่องปรุง เกลือป่น หอม กระเทียม

แมงมัน....อาหารจานโปรดของชาวเหนือ (ตอนที่ 2)


                                                                    แมงมันคั่ว


         วัฒนธรรมในการรับประทานอาหารของแต่ละภาคมักจะแตกต่างกันไปซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น  การรับประทานแมงมันก็เช่นกันเป็นอาหารที่โปรดปรานทางภาคเหนือซึ่งนับวันจะหายากเนื่องจากมีการขุดมารับประทานตั้งแต่เป็นไข่อยู่ในดิน เป็นการตัดตอนทำลายวงจรชีวิตของมันไป เหมือนดังเช่น กบ เขียด ปู ปลา แมงดา ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วแต่สัตว์พวกนี้ยังสามารถเพาะเลี้ยงได้  ส่วนแมงมันยังไม่มีใครสามารถเพาะเลี้ยงได้  ดังนั้นจึงสมควรที่อนุรักษ์เอาไว้ห้ามมิให้มีการขุดเพื่อจะได้มีให้รับประทานต่อไปนาน ๆ 


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
            1.  อธิบายลักษณะรังที่อยู่ของแมงมัน
            2.  อธิบายการหาแมงมันโดยวิธีการเก็บแมงมัน
            3.  อธิบายวิธีการทำอาหารจากไข่แมงมัน
           4.  อธิบายวิธีการทำอาหารจากแมงมันแม่
           5.  เสนอแนะวิธีการอนุรักษ์แมงมัน

กิจกรรมเสนอแนะ
          1.   สัมภาษณ์แม่ค้าหรือชาวบ้านถึงกรรมวิธีในการนำแมงมันมาทำเป็นอาหาร
          2.   ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์    การงานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาไทย

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  / ภาพประกอบ
https://www.horapa.com/webboard/show.php?Category=&No=3330
https://www.dnp.go.th/FOREMIC/NForemic/this_month/Carebara%20castanea/carebara.htm
https://se7en.allblogthai.com/11
https://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem704.html
https://www.banrongkhun.com/webboard/view.php?Qid=252&cat=2
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2677

อัพเดทล่าสุด