https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หลิว เสี่ยว โป ผู้ที่ได้รับรางวัล Nobel Prize ประจำปี 2010 สาขาสันติภาพ ด้านสิทธิมนุษย MUSLIMTHAIPOST

 

หลิว เสี่ยว โป ผู้ที่ได้รับรางวัล Nobel Prize ประจำปี 2010 สาขาสันติภาพ ด้านสิทธิมนุษย


588 ผู้ชม


นำเสนอประวัติและผลงานของหลิว เสี่ยว โป   


“หลิว เสี่ยว โป” ผู้ที่ได้รับรางวัล Nobel Prize ประจำปี 2010



หลิว เสี่ยวโป เป็นนักต่อต้านระบอบเผด็จการที่เป็นนักเขียนมาก่อนก็คือ ในช่วงเหตุการณ์“เทียนอันเหมิน” ปี 1989  (พ.ศ. 2532) มี เติ้งเสี่ยวผิง เป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน  หลี่ เผิง เป็นนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คือ  จ้าวจือหยาง  ซึ่งได้ทำการเจรจากับนักศึกษาที่ชุมนุมประท้วง แต่นักศึกษาก็ยืนกรานเพื่อให้รัฐบาลลาออกหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายเติ้งเสี่ยวผิงและนายหลี่เผิงไม่ยอมตามคำเรียกร้อง เพราะผูู้นำจีนเชื่อว่ามีชาติตะวันตกมาอยู่เบื้องหลังเพื่อล้มล้างพรรค คอมมิวนิสต์ ซึ่งนำไปสู่การนองเลือด นักศึกษาชาวจีนร่วมชุมนุมกันในครั้งนั้นเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีน เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพ มีผู้เข้าร่วมถึงหลักแสน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,500 คน บาดเจ็บ 7,000-10,000 คน แต่การประท้วงนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ


         ในเหตุการณ์“เทียนอันเหมิน” ขณะนั้นหลิว เสี่ยวโป อายุเพียง 33 ปี  เขาได้ลาออกตำแหน่ง ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา และเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อเข้าร่วมการประท้วงรัฐบาลจีน จากเหตุการณ์นี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนผันชะตาชีวิตของเขา
“เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ตลอดเส้นทางชีวิตตลอด 50 ปีของฉัน” และแล้วหลิว เสี่ยวโป  ก็ถูกจับเข้าห้องขังครั้งแล้วครั้งเล่า
    “สำหรับปัญญาชนผู้โหยหาเสรีภาพในประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการนั้น คุกคือจุดเริ่มต้น ตอนนี้ผมกำลังก้าวเข้าสู่จุดเริ่มต้น และเสรีภาพนั้นอยู่แค่เอื้อม”
     งานเขียนที่มีชื่อเสียงมาก คือ งานวิจารณ์ปรัชญาของ Li Zehou ของนักคิดคนสำคัญของจีน บทกวีหลายชิ้นของหลิว เสี่ยวโป ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาทิ “One Letter is Enough”, “Longing to Escape”, “A Small Rat in Prison” และ “Daybreak” เป็นต้น 
      แท้จริงแล้ว หลิว เสี่ยวโป เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์วรรณกรรม นักเขียนที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นศาสตราจารย์ประจำที่ Beijing Normal University และในช่วงปี พ.ศ.2546-2550 เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมนักเขียนอิสระของจีน (The Independent Chinese PEN Center) และปัจจุบันเขายังคงมีชื่อเป็นกรรมการบริหารของสมาคมฯ นี้อยู่ 


       หลิว เสี่ยวโป เกิดในครอบครัวปัญญาชน ในช่วง พ.ศ. 2512 – 2516 จีน ได้ออกนโยบายให้เยาวชนได้ไปเรียนรู้ชีวิตในชนบท บิดาของหลิว เสี่ยวโป จึงพาเขาไปเรียนรู้ชีวิตของชาวชนบทในเขตพื้นที่มองโกเลียชั้นใน อายุ 19 ปี เขาถูกส่งไปทำงานในหมู่บ้านชนบทในจังหวัด Jilin และที่ไซด์งานก่อสร้าง ปี พ.ศ. 2519 เข้าศึกษาที่ Jilin University  จบปริญญาตรีสาขาวรรณคดี ในปี 2525 ศึกษาต่อปริญญาโทจาก Beijing Normal University ในปี 2527 หลังจากนั้นได้เข้าสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ และศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจนสำเร็จดุษฎีบัณฑิต ในปี 2531
        พ.ศ.2532 เมื่อ เกิดเหตุการณ์ประท้วงที่จตุรัส“เทียนอันเหมิน” หลิว เสี่ยวโป ร่วมอดอาหารประท้วงเพื่อสนับสนุนนักศึกษา   และเรียกร้องฝ่ายนักศึกษาให้ใช้สันติวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการนองเลือด มากขึ้น ครั้งนั้นเขาต้องถูกจำคุก 2 ปี หลังเหตุการณ์เทียนอันเหมิน เขาได้รับเชิญไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งออสโล  มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
        พ.ศ. 2539 เขาถูกลงโทษโดยให้“ทบทวนการศึกษาผ่านการใช้แรงงาน”(เป็นการลงโทษเพื่อเข้าฐานปรับความคิดและการใช้แรงงาน หรือในอดีตคือการลงโทษและล้างสมองไปพร้อมๆ กัน) อีก 3 ปี ต่อมา งานเขียนที่เขาได้ตั้งคำถามต่อบทบาทของระบบนำแบบพรรคเดียวบริหารประเทศ และเรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลจีนกับองค์ทะไลลามะแห่งทิเบต ซึ่งบทความนี้ตีพิมพ์เฉพาะในต่างประเทศ
          พ.ศ.2547 เขา วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่รัฐยัดข้อหาแก่เขาว่าต้องการล้มล้างอำนาจรัฐ การปิดปากสื่อมวลชนและเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวขาถูกตัดสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสารกับโลกภายนอก ไม่ให้เขาติดต่อทางโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้ แต่เขาก็ได้ริเริ่มและร่วมร่าง “กฎบัตร 08” (Charter 08) ซึ่ง เป็นคำประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลจีนมีการปฏิรูปทางการเมือง ให้การเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และให้ยกเลิกการปกครองประเทศแบบพรรคเดียว  โดยมีผู้ร่วมลงนามในคำประกาศนี้จำนวนหลายร้อยคนจากทั่วประเทศ
           ก่อนถึงกำหนดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2551 ที่จะมีการแถลงคำประกาศ กฎบัตร 08 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกมาที่บ้านพักของเขา ในกรุงปักกิ่ง นำตัวพวกเขาไปและยึดคอมพิวเตอร์ไป  คนที่ได้ร่วมกันลงชื่อ 300 คน ก็ถูกสอบสวนเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีด้วย
           วันที่ 23 ธันวาคม 2552 เขาถูกพิจารณาโทษจากการไต่สวนฉุกเฉินโดยศาลประชาชน ตามคำฟ้องว่าเขา “ปลุกปั่นให้ล้มล้างอำนาจรัฐ” เขาต่อสู้ดคี แต่ทนายจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงหลักฐาน
           อีก 2 วันต่อมา เขาถูกตัดสินลงโทษจำคุก 11 ปี และถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลสูงกรุงปักกิ่งได้พิจารณายกคำร้องอุทธรณ์ 


แหล่งอ้างอิง
https://www.oknation.net/blog/

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3256

อัพเดทล่าสุด