https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย MUSLIMTHAIPOST

 

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย


1,216 ผู้ชม


มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูประถัมภ์ ได้จัดกิจกรรม “ร้อยใจไทยภักดี 110 ปีสมเด็จย่า” 17 ตุลาคม 2553 ณ พระตำหนักดอยตุง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยการแข่งขันกีฬาเปตอง วิ่งเพื่อสุขภาพ ประกวดวาดภาพ และการแข่งขันจักรยานเสือภูเขา   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   และผู้ที่สนใจทั่วไป
           มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูประถัมภ์ ได้จัดกิจกรรม “ร้อยใจไทยภักดี 110 ปีสมเด็จย่า”  ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม  2553  ณ  พระตำหนักดอยตุง  จังหวัดเชียงราย  ประกอบด้วยการแข่งขันกีฬาเปตอง  การแข่งขันวิ่งเพื่อสุขภาพ  การแข่งขันประกวดวาดภาพ และการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาพิชิตดอยตุง

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย


           การแข่งขันประกวดวาดภาพ  ในหัวข้อ “รักสมเด็จย่า” มีผู้ส่งภาพเข้าประกวดมากมาย  ผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับอายุ คือ ไม่เกิน 12 ปี ไม่เกิน 18 ปี ไม่เกิน 25 ปี และไม่จำกัดอายุ ซึ่งทางผู้จัดการประกวดจะกำหนดสถานที่วาดภาพไว้ 5 จุด ณ พื้นทรงงานดอยตุง สำหรับผู้ร่วมเข้าประกวดทุกท่านจะได้รับประกาศนียบัตร
ตัวอย่างภาพที่ชนะการประกวดในงานนี้

 “ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย   “ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

              กิจกรรมที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษได้แก่การแข่งขันจักรยานเสือภูเขาพิชิตดอยตุง   ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดประมาณ 1500  คน รวม 24 รุ่น ดังนี้
             1. ประเภท แข่งขัน A (ระยะทาง 23 กม.) แบ่งเป็น   A1 ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี    A2 ชาย รุ่นทั่วไป A3 ชาย รุ่นอายุ 30 - 39 ปี    A4 ชาย รุ่นอายุ 40 - 49 ปี   และA5 ชาย รุ่นอายุ 50 ปี ขึ้นไป 
             2. ประเภท แข่งขัน B (ระยะทาง 18 กม.)  แบ่งเป็น B1 ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี     B2 ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี    B3 ชาย รุ่นทั่วไป    B4 ชาย รุ่นอายุ 30 - 34 ปี   B5 ชาย รุ่นอายุ 35 - 39 ปี     B6 ชาย รุ่นอายุ 40 - 44 ปี    B7 ชาย รุ่นอายุ 45 - 49 ปี    B8 ชาย รุ่นอายุ 50 - 54 ปี     B9 ชาย รุ่นอายุ 55 - 59 ปี B10 ชาย รุ่นอายุ 60 ปี ขึ้นไป   B11 ชาย รุ่นนํ้าหนักตัว 85 กิโลกรัม ขึ้นไป       B12 หญิง รุ่นอายุ ไม่เกิน 18 ปี  และB13 หญิง รุ่นทั่วไป 
           3. ประเภท แข่งขัน C (ระยะทาง 13 กม.)  แบ่งเป็น C1 ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี   C2 ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี   C3 หญิง รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี   C4 หญิง รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี   C5 หญิง รุ่นทั่วไป 
และ C6 หญิง รุ่นอายุ 35 ปี ขึ้นไป 
           4. จักรยานเพื่อสุขภาพ เฉลิมพระเกียรติ (ระยะทาง 13 กม.) ไม่มีการแบ่งรุ่นแข่งขันและไม่มีชิงถ้วยรางวัล นักกีฬาที่ปั่นจักรยานเข้าเส้นชัยทุกคน จะได้รับเหรียญรางวัลที่ระลึกเส้นทางการแข่งขัน

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้นมีนักจักรยานเสือภูเขาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยตลอดจนมีชาวต่างชาติมาร่วมกันลงทะเบียนแข่งอย่างล้นหลาม


         จุดเริ่มต้นปล่อยตัว บริเวณหน้าสถานีขนส่งดอยตุง (ท่ารถม่วง) ปั่นไปตามเส้นทางลาดยางดอยตุงสายใหม่ทั้งหมด   จุดเส้นชัย อยู่บริเวณหน้าอาคารหอแห่งแรงบันดาลใจ พระตำหนักดอยตุง

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย


รางวัลการแข่งขัน 
          1. ถ้วยรางวัลพระราชทาน ชาย ผู้ชนะเลิศ OVER ALL ประเภท แข่งขัน A ระยะทาง 23 กม. (A1-A5)
          2. ถ้วยรางวัลพระราชทาน หญิง ผู้ชนะเลิศ OVER ALL ประเภท แข่งขัน B ระยะทาง 18 กม. (B12- B13)
          3. ถ้วยรางวัลผู้ชนะการแข่งขันลำดับที่ 1- 5 ทุกรุ่น 
          4. เหรียญรางวัลที่ระลึกผู้เข้าเส้นชัยทุกคน 
กฎ กติกา และระเบียบการแข่งขัน 
        1. ใช้กติกาการแข่งขัน ตามสมาพันธจักรยานนานาชาติ และระเบียบของสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย
        2. การนับอายุ ให้นำปี พ.ศ. ปัจจุบัน(2553) ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด 
        3. นักกีฬาต้องสวมหมวกกันกระแทกตลอดเวลาการแข่งขัน 
        4. จักรยานต้องเป็นจักรยานเสือภูเขาเท่านั้น โดยมีขนาดล้อ 26 นิ้ว และยางนอกไม่ตํ่ากว่า 1.8 นิ้ว
        5. นักกีฬีาที่ได้รับรางวัล 1 - 5 ทกุรุ่นต้องแสดงหลักฐานฉบับ จริง ให้กับคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ก่อนรับถ้วยรางวัล
        6. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

“ร้อยใจไทยภักดี 110 ปี สมเด็จย่า” ดอยตุง..เชียงราย

บรรดานักแข่งหลังเข้าเส้นชัยบนดอยตุง


ติดตามภาพกิจกรรมบางส่วนได้ที่นี่  https://www.lannabiketrip.com/webboard/viewtopic.php?t=6691

ประวัติความเป็นมาของ  "มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี"
         มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทำงานด้านพัฒนาเพื่อสาธารณกุศลเป็นหลัก ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า รักษาป่าต้นน้ำ คนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ พร้อมทำงานด้านการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ของชาวไทยภูเขา และชาวไทยภาคเหนือ สืบสานคงอยู่ตลอดไป
         ภายหลังที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สวรรคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ รับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมอบให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน และดำเนินงาน ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสืบต่อมา จนถึงบัดนี้
         "แม่ฟ้าหลวง" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า "สังวาลย์" ประสูติเมื่อ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2443 พระชนก ชื่อ "ชู" พระชนนีชื่อ "คำ" ในครอบครัวสามัญชน ประกอบอาชีพช่างทอง พระชนก "ชู" เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงอยู่ในความดูแลของพระชนนี "คำ" และพระญาติ ที่ชุมชนวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี
          หลักในการเลี้ยงดูพระโอรส พระธิดา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเลือกที่จะเลี้ยงดูพระโอรส พระธิดา ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ด้วยการดำเนินชีวิตเรียบง่าย อย่างสามัญชน โดยเน้นให้ทุกพระองค์มีสุขภาพแข็งแรง ได้รับการศึกษาที่ดี แต่ต้องใฝ่เรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา เป็นผู้ที่มีเมตตา กรุณา รู้จักการให้ มีธรรมะประจำใจ มีสติ มีความรับผิดชอบ ต้องคิดถึงประโยชน์บ้านเมืองก่อนถึงตนเอง
          ทรงงานเพื่อประชาชน      หลังจากนั้นพระองค์ ทรงไปประทับพักผ่อนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นเวลานาน จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2506 ทรงมีพระชนมายุ 63 พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเริ่มประกอบ พระราชกรณียกิจในหลายๆด้าน ทรงก่อตั้งมูลนิธิสงเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดนและครอบครัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียนตามชายแดนและถิ่นทุรกันดาร ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังทรงอนุเคราะห์ แก่ทหารพิการ ทุพพลภาพ ชาวเขา คนยากจนในชุมชนแออัด ในปีพุทธศักราช 2512 ได้ทรงเริ่มหน่วยแพทย์อาสา ออกรักษาประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ตามพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล และได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.)เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานของหน่วยแพทย์อาสาซึ่งปัจจุบันมีอยู่เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทรงก่อตั้ง มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในปีพุทธศักราช 2515 เป็นการเปิดโอกาส ให้แก่ชาวเขาเผ่าต่างๆเป็นครั้งแรก ด้วยการให้ความช่วยเหลือนำเอางานหัตถกรรมของชาวเขามาจำหน่าย ซึ่งประสบความสำเร็จทำให้ได้รับความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อมามีการขยายขอบเขตการทำงานกว้างขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น
"มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"
           เสด็จสวรรคต   ในปีพุทธศักราช 2538 ขณะที่การดำเนินงานของมูลนิธิฯต่างๆที่พระองค์ทรงก่อตั้ง กำลังเป็นไปด้วยดี ประชาชนชาวไทยกลับพบความเศร้าโศกเสียใจครั้งใหญ่ 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคต ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 95 พรรษา
          โลกยกย่อง ในพุทธศักราช 2543 เป็นวโรกาสครบรอบ 100 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2542 ถวายพระเกียรติ ด้วยการอัญเชิญพระนามบันทึกไว้ในปฏิทินบุคคลสำคัญระดับโลก ประจำปีคริสต์ศักราช 2000-2001 ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวม ในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
       1.  มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง
       2.  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ท่านทรงงานเพื่อประชาชนด้านใดบ้าง
       3.  นักเรียนคิดว่าจะมีส่วนร่วมตามรอยของสมเด็จย่าอย่างไรบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ
       1.  ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต
       2.  ร่วมกิจกรรมที่ทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดขึ้น

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
         สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์     สุขศึกษาพลศึกษา                    

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  
https://www.maefahluang.org/home.php

https://www.lannabiketrip.com/webboard/viewtopic.php?t=6691

   
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3266

อัพเดทล่าสุด