https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาษีอากร MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษีอากร


621 ผู้ชม


ภาษีอากรกับการพัฒนาประเทศ   

 ภาษีอากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

               ปัจจุบันมาตรฐานการบัญชีสากลมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีไปจากเดิมค่อนข้างมาก  ทั้งนี้ก็เนื่องจากลักษณะการประกอบธุรกิจที่ทวีความซับซ้อนขึ้นจากอดีต เครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อให้การเคลื่อนย้ายทุนในยุคโลกไร้พรม แดน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น มาตรฐานการบัญชีสากลในปัจจุบันจึงเน้นการนำข้อมูลบัญชีไปใช้เพื่อการตัดสินใจมากกว่าการเป็นข้อมูลแสดงผลการดำเนินงานอย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ย่อมหลีกหนีไปจากกติกาสากลนี้ไม่ได้ มาตรฐานการบัญชีของไทยจึงต้องก้าวตามและก้าวไปให้ทันตามมาตรฐานการบัญชีสากล เพื่อแสดงความโปร่งใส  บางกรณีผู้ที่มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีจึงอาจจะต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วนก่อนจะยื่นรายการประเมินตนเอง ผู้ต้องเสียภาษีจึงควรทำการตรวจสอบรายการในแบบแสดงรายการ ซึ่งนับเป็นอีกก้าวกระโดดที่สำคัญของการพัฒนาระบบภาษีในประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างความเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในสังคมไทยสืบไป.
ที่มา  : https://www.dailynews.co.th  วันอังคารที่  19  พฤษภาคม  54

                การเสียภาษีของประชาชน  ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสร้างความเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพให้             เกิดขึ้นในสังคมไทย

ภาษีอากร

ที่มาภาพ  :  https://school5.pattaya.go.th/picarkan/A1.jpg
 
               

                 กลุ่มสารการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3                                 สาระที่  3  เศรษฐศาสตร์  มาตรฐาน  ส  3.2  เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ  ความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ  และความจำเป็นของความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

 
                การจัดเก็บภาษี
                ภาษี หมายถึง รายได้หรือรายรับของรัฐบาลที่เรียกเก็บจากประชาชนทุกคนที่ทำงาน เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
ในประเทศให้เจริญและดีขึ้น   ในการจัดเก็บภาษีต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
 1. ผู้เสียภาษีอากร คือ บุคคลทุกคนที่ประกอบอาชีพและมีรายได้ ต้องมีหน้าที่เสียภาษีโดยไม่หลบเลี่ยง มิฉะนั้นถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
 2. ระบบการจัดเก็บภาษี คือ วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีหลักเกณฑ์ มีประสิทธิภาพและได้ผลตามเป้าหมาย
 3. ประเภทของภาษี ภาษีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียบเก็บจากผู้ที่มีรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก เป็นต้น
 ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้มีรายรับผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่น เช่น ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์   ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
           วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี   มีดังนี้
 1. เป็นรายได้หลักของรัฐบาลในการนำไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างปัจจัยมูลฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า  ประปา โรงพยาบาล เขื่อน เป็นต้น
 2. เป็นเครื่องมือส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการยกเว้นภาษีเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศและเก็บภาษีสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ
 3. เป็นเครื่องมือควบคุมการบริโภคของประชาชน รัฐเรียกเก็บภาษีอากรสูงสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น ภาษีรถยนต์ สุรา
 ยาสูบ เป็นต้น
 4. เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ของประชาชน รัฐเรียกเก็บภาษีรายได้ตามระดับของรายได้ ผู้มีรายได้มากก็เสียภาษีมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ
 5. เป็นการสนองโยบายของประเทศในการนำระบบภาษีมาใช้บังคับหรือชักนำให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติตาม เช่น การเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากของรัฐบาล เป็นต้น
           หน่วยราชการที่จัดเก็บภาษี
  หน่วยราชการที่จัดเก็บภาษีในประเทศไทย ได้แก่
 1. กรมสรรพากร  จัดเก็บภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรมหรสพ อากรแสตมป์
 2. กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีจากสินค้าต่าง ๆ เช่น บุหรี่ สุรา เครื่องดื่ม ไพ่ เป็นต้น
 3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดเก็บภาษีการพนัน
 4. องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาล จัดเก็บภาษี โรงเรือน ที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ และอากาฆ่าสัตว์
 5. กรมทรัพยากรธรณี จัดเก็บภาษีเป็นค่าภาคหลวงแร่
 6. กรมประมง จัดเก็บอาหารประมง
 7. กรมป่าไม้ จัดเก็บภาษีผู้ทำสัมปทานป่าไม้
               การลงโทษผู้หลีกเลี่ยงภาษี
การจัดเก็บภาษีของรัฐจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและการสร้างสาธารณสุขขั้นพื้นฐานเพื่อให้การบริการแก่ประชาชน โดยเรียกเก็บจากประชาชนที่ประกอบอาชีพและมีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด การเสียภาษีจึงเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
จะได้รับโทษทางอาญา อาจถูกปรับ หรือทั้งถูกปรับและถูกจำคุกได้
ที่มา  :  https://www.maceducation.com

ภาษีอากร

ที่มาภาพ  :  https://farm3.static.flickr.com/2377/2136647599_fb7e271261_o.jpg 
 
 ใครเป็นผู้มีหน้าที่ในการเสียภาษี
 ภาษีที่เก็บได้นำไปใช้ทำอะไรบ้าง
 ผู้ไม่เสียภาษีจะเป็นอย่างไร

 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มจัดทำรายงานเรื่องภาษี 

 สาระศิลปะให้นักเรียนวาดภาพประโยชน์ที่ได้จากภาษีเป็น  My  Mapping
 

ที่มาภาพไอคอน  :  https://203.155.220.217/laksi/ls/Picture/49506-01.jpg


 


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3971

อัพเดทล่าสุด