https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กินดี...อยู่ดี...ชีวีมีสุข MUSLIMTHAIPOST

 

กินดี...อยู่ดี...ชีวีมีสุข


896 ผู้ชม


เราลองมาดูกันซิว่าการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ...กินดี...อยู่ดี...ชีวีมีสุข ควรทำอย่างไรคะ   

กินดี…อยู่ดี...ชีวีมีสุข

กินดี...อยู่ดี...ชีวีมีสุข

[ภาพจาก  :  เส้นทางสุขภาพ]

          การกิน ไม่ใช่กินอย่างไรให้อร่อย   แต่เน้นเรื่อง “ กินดี ”  เพื่อต้านโรค เพราะว่าคนยุคนี้มีโรคภัยมากมายเกาะกุม
รุมเร้า อันมีสาเหตุมาจากอาหารการกิน หลายคนทราบแล้วว่า อาหาร กับ สุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก  และโรคภัย
ไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดกับร่างกาย  ก็มีผลมาจากการรับประทานอาหารด้วยส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ 
ต้องเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  เช่น  เลือกรับประทานผักมากกว่าเนื้อสัตว์  เลี่ยงที่จะบริโภคไขมัน  การรับประทานเพื่อสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร  เราลองมาดูกันซิว่าการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ...กินดี...อยู่ดี...ชีวีมีสุข  เป็นอย่างไรคะ
          ปทุมรัตน์ เพียรชอบ ผู้จัดการ Wellness บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอาหาร กล่าวว่า  เทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ คือต้องกินอยู่อย่างสมดุล  อาหารที่สมดุล  หมายถึง ความหลากหลาย  ต้องรับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย ให้ครบทั้ง  5  หมู่  ต้องรับประทานในสัดส่วนที่พอเหมาะ  และวิถีการใช้ชีวิต หมายถึง การสะท้อนข้อคิดในการบริโภคอาหารและการใช้ชีวิตให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน  พิจารณาสัดส่วนอาหารให้เหมาะกับวัย  เพศ  ขนาดของร่างกาย และพฤติกรรมการใช้ชีวิต  จึงต้องรับประทานอาหารที่ “หลากหลาย” และ “พอเหมาะ” ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีและยั่งยืน  

แล้วอาหารมีผลอย่างไรที่ทำให้เกิดโรคได้ ? 
          เมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นโครงสร้างเล็กๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ หรือเมตาบอลิซึม ที่ทำให้เซลล์เล็กๆ ในร่างกายสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์และเป็นพลังงาน แต่เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่ไม่สมดุล
เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ทำให้มีแนวโน้มของการได้รับสารอาหารบางประเภทมากเกิน   เมื่อได้รับมากเกินไป
จะทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และเมื่อมีปริมาณไม่เพียงพอ จะนำไปสู่
การเป็นเบาหวานได้  และโรคต่างๆ เช่น ไขมันที่ไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น 
ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด จนอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง 
          แหล่งข้อมูล https://www.yourhealthyguide.com/article/an-healthy-eat.htm

ตอนเช้าทำตัวเหมือนรวย  ตอนเย็นทำตัวเหมือนยาจก 
          วิถีชีวิตคนเมือง  การทำงานที่เร่งรีบ ละเลยการบริโภคอาหารเช้าหรือรับประทานแต่น้อย  เพราะรีบเดินทาง
การไม่รับประทานอาหารเช้า มีผลทำให้สมองมีคุณภาพที่ด้อยลง-เสื่อมลงก่อนวัยอันสมควร  เนื่องจากเวลาที่ร่างกายคนเรา
นอนหลับ 10-12 ชั่วโมง   สารอาหารจะไม่เหลือเลย ร่างกายจะไม่มีน้ำตาลให้สมองใช้งานในวันรุ่งขึ้น 
          วิธีแก้ไข  คือ  ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างความสมดุล คือต้องรับประทานอาหารเช้า เช่นเดียวกับอาหารเย็น
ควรรับประทานเย็นให้ห่างๆ จากเวลาที่จะหลับตานอน หรืออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะเวลาที่คนเราเข้านอน 
ระบบประสาทต่างๆ เริ่มพักผ่อน ทำให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานไม่เต็มที่หรือไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อระบบย่อยอาหารไม่ดี 
จะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน  เหมือนกับที่นักโภชนาการมักพูดกันว่า ให้เราทำตัวเหมือนคนรวยตอนเช้า รับประทานอาหาร
ให้เยอะๆ รับประทานให้อิ่ม ส่วนตอนเย็นทำตัวเหมือนยาจก รับประทานอาหารแต่พอประมาณ

กว่าสมองจะรู้ว่า 'อิ่ม' 
          ในการรับประทานอาหาร  สมองใช้เวลา 15 นาที กว่าจะรับรู้ว่าร่างกายอิ่มแล้ว เพราะฉะนั้นอย่ารีบรับประทาน การรีบรับประทาน มีโอกาสทำให้ร่างกายได้ปริมาณอาหาร และพลังงานเกินจำนวนที่ร่างกายต้องการ เมื่อร่างกายได้พลังงานเกินความต้องการ และเผาผลาญไม่หมด ก็ทำให้เกิดปัญหาความอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ กับร่างกาย 
          วิธีแก้ไข คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ด้วยการเคี้ยวอาหารให้ช้าลง

เพิ่มความเข้มข้นให้โภชนบัญญัติข้อที่มักละเลย 
          หลักโภชนาการ  9  ข้อ ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ที่คนส่วนไทยใหญ่มัก 'ละเลย' หรือยัง 'ด้อย
ในการปฏิบัติ'  
          ข้อที่ 3  รับประทานพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้ใยอาหาร 
ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
          ข้อที่ 6   กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร   ร่างกายของผู้หญิง ผู้ชาย และคนใช้แรงงาน  ต้องการพลังงานจากไขมันไม่เกินวันละ 25 กรัม  ควรเลี่ยงอาหารที่เป็นของทอด อาหารประเภทผัด แกงกะทิ รวมทั้งเลี่ยงการใช้น้ำมันที่ผ่านการทอดแล้ว  และไม่ควรบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว  ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 
          ข้อที่ 7  หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด  หวานจัด  เค็มจัด  หมายถึงลดการบริโภคน้ำตาล-เกลือ ความหวานจากน้ำตาลเป็น พลังงานที่สูญเปล่า (Empty Calories) เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่มีเส้นใยอาหาร ไม่มีสารอาหาร ไม่มีวิตามิน-เกลือแร่
ให้กับร่างกาย 
          เกลือ  ซึ่งทำให้อาหารมีความเค็ม และแทรกอยู่เต็มไปหมดในน้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ให้ความเค็มที่มีคุณภาพ (โซเดียมต่ำ)  ลดการบริโภคอาหารที่ปรุงรสเค็มจัด  ถ้าบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาความดันต่ำ
          ที่มา  :  https://www.yourhealthyguide.com/article/an-healthy-eating.html

บทสรุป 
          การบริโภคอาหารและใช้ชีวิตให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน เพื่อให้ชีวิตปลอดภัยด้วยหลัก  4  ประการง่ายๆ  คือ  
กินหลากหลาย-เพิ่มผักผลไม้, ลดหวาน มัน เค็ม, กินเท่าไรใช้ให้หมด และอ่านเป็นกินเป็น เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ดังนั้น
จึงควรให้ความสำคัญกับอาหารที่กินในแต่ละมื้อเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เพราะ You Are What You Eat... ก็ยังคงเป็นจริงเสมอ
บทความนี้เหมาะสำหรับนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 3 ช่วงชั้นที่ 4   และผู้ที่สนใจทั่วไป
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
          1. ในแต่ละวัย ควรเลือกอาหารอย่างไร ถึงจะเหมาะสม
          2. หลักโภชนาการที่ถูกต้องหมายถึงอะไร
กิจกรรมเสนอแนะ
          1. ให้นักเรียนศึกษาผลกระทบในการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลต่อร่างกาย
          2. ให้นักเรียนจัดทำรายงานเรื่องหลักโภชนาการที่ถูกต้อง
          3. ครูและนักเรียนจัดทำสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาหารหลัก 5  หมู่
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
           -  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ   สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
           -  กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์   เรื่อง  กินดีมีสุข


แหล่งข้อมูล  https://www.yourhealthyguide.com/article/an-healthy-eating.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=73

อัพเดทล่าสุด