https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง MUSLIMTHAIPOST

 

ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง


1,164 ผู้ชม


ปัจจุบันปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมีแพงมาก เกษตรกรควรหันมาหาปุ๋ยทดแทนปุ๋ยวิทยาศาสตร์   

ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง

          ปัจจุบันราคาปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก สูตรที่ใช้กันมาก คือ 15-15-15 ตราเรือใบ ไวกิ้ง กระสอบละ 1500 บาท สูตร 8-24-24 กระสอบละ 1800  บาท  หากเกษตรกรนำไปใส่พืช ผลผลิตที่ได้มักจะไม่คุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะผลไม้ เกษตรกรที่มีอาชีพทำสวนผลไม้ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน  เช่น ปุ๋ยคอก ได้แก่ ขี้วัว กระสอบละ 20 บาท ขี้ไก่กระสอบละ 30 บาท หากซื้อเป็นรถ 10 ล้อ ราคา 13000 บาท นำไปใส่ผลไม้ได้ผลดี (ดังภาพผลไม้ที่สวนวงศ์สมิตกุล อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยวิทยาศาสตร์)

ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง

ภาพต้นลิ้นจี่  ที่ อ.ปากช่อง

ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง

ภาพต้นเงาะ ที่ อ.ปากช่อง

ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่ปากช่อง

ภาพต้นทุเรียน ที่ อ.ปากช่อง

         ปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่จะแนะนำ คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากก้อนเห็ดเก่า  หลังจากที่เก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาใส่เครื่องตีให้แตกผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1 ต่อ 4 คือขี้วัว 1 ส่วน ก้อนเห็ดเก่า 4 ส่วน ผสมให้เข้ากัน แล้วนำน้ำหมัก EM มาผสมพอหมาด ๆ  ใส่ถุงปุ๋ยมัดให้แน่น หมักไว้ 30 วัน หรือรอจนกว่าปุ๋ยจะเย็นนำไปใส่ผลไม้ได้ผลดีมาก โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลย

          ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้

ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้

 (1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
 
  1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง  ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 
  2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย  น้อยกว่าปุ๋ยเคมี 
  3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ  มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช 
  4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน 
 ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
 (2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
 
  1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ 
  2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช 
  3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช 
  4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
  5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท  ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ 
  6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น  จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้ 
  7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช  และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้ 
  8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง  เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน 
  9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก 
  10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน  ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท 
  11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน  จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ 
  12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน  
    1. นักเรียนลองสังเกตดูที่โรงเรียนหรือที่บ้านนักเรียนมีเศษวัสดุอะไรบ้างที่นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพได้บ้าง
    2. นักเรียนลองเปรียบเทียบว่า หากซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 1 กระสอบจะซื้อปุ๋ยคอกได้กี่กระสอบ
    3. นักเรียนลองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี

กิจกรรมเสนอแนะ

         นักเรียนควรจะทดลองทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้ในโรงเรียนหรือที่บ้าน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

         กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง 

         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  สูตรทางเคมีของปุ๋ย

แหล่งอ้างอิง


ที่มาhttps://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm
ภาพhttps://www.thepoodang.com/puipoodang/pui.html

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1452

อัพเดทล่าสุด