https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การทาสีบ้าน MUSLIMTHAIPOST

 

การทาสีบ้าน


691 ผู้ชม


บ้านคือวิมานของเรา ถึงแม้บ้านจะเก่า ถ้าเราทาสีใหม่ ก็จะได้บ้านใหม่สมใจนึก   

การทาสีบ้าน


         การทาสีอาคารบ้านเรือนให้สวยทนนานนั้น นอกจากการเลือกใช้สีที่มีคุณภาพได้มาตรฐานแล้ววิธีการทำสีที่ถูกต้องและครบตามขั้นตอนการทาก็เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น และคงความสวยให้ยืนยาวคุ้มค่าไปอีกนานแสนนาน

เนื้อหาสาระ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว เรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

การทาสีบ้าน
ที่มาภาพ

ประเภทของสี แบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสีดังนี้
1.สี น้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูง
กว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
2.สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้ 
3. สีย้อมไม้ เป็ฯสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ
4.สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกรอ์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้
5.สีกันสนิม เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
6.สี รองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสี
ทับหน้าดียิ่งขึ้น
ส่วนประกอบของสี โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1.สารยึดเกาะหรือ อะครีบิคซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
2.ผงสีซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
3.ตัวทำละลายซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4.สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา
โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้
      เกรด A เป็น สีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคา
แพง
     เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
     เกรด C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค 70% การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
     เกรด D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%

การทาสีบ้าน
ที่มาภาพ

      การรักษาบ้านให้ดูใหม่อยู่เสมอไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้วิธีอย่างเช่น การเปลี่ยนสีสันของบ้านหรือเปลี่ยนเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ ก็ทำให้บ้านดูสวยได้แล้ว ขอแนะนำ 9 ข้อที่น่ารู้ในการทาสีให้ดูสดใสโดดเด่น... 

 9 ขั้นตอนที่ควรรู้ในการทาสีบ้านใหม่  
        
1. เตรียมงบประมาณ อย่างแรกต้องคำนึงถึง เงิน ที่เราสามารถใช้จ่าย ว่าเรามีงบประมาณอยู่เท่าไหร่ซึ่งจะต้องรวมทั้ง ค่าสี ค่าช่างทาสี รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ 
        
2. ถามผู้เชี่ยวชาญ ในการทาสีบ้านเราต้องรู้ว่าเราจะทาสีลงบนพื้นผิวประเภทใด ผิวปูน หรือ ผิวไม้ ใช้ทาสีภายใน หรือภายนอก หากเราไม่แน่ใจว่าจะใช้ ว่าจะใช้สีอะไรดี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิก หรือช่างทาสี ซึ่งจะมีคำแนะนำดี ๆ ในการใช้สีให้ถูกประเภท และลักษณะการใช้งาน
        
3. เลือกสี เมื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญจนแน่ใจในเรื่องการใช้สีให้ถูกต้องแล้ว เลือกสีที่ตัวเองชอบ ยิ่งเป็นสีทาภายในควรให้กลมกลืนกับขอบประตู-หน้าต่าง ละถ้าพื้นผิวภายนอกเป็นปูน ควรเลือกใช้สีที่มีคุณภาพสูงที่สามารถยืดอายุการใช้งาน ให้นานปกป้องสีบ้านจากการซีดจางที่เกิดจากแสงแดด ทนทานต่อสภาวะอากาศต่อต้าน การเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ รวมทั้งไม่จับฝุ่นซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่าย 
         4. เตรียมพื้นผิว ก่อนจะลงมือทาสีควร ทำความสะอาดฝุ่นละออง และใช้แปรงแซะสีเก่าที่หลุดลอกออกเช็ดให้สะอาด  แล้วปล่อยให้แห้งสนิท การเตรียมพื้นผิวที่ถูก
ต้องจะช่วยให้สีที่ทาติดนานยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะการเตรียมพื้นผิวอย่างถูกต้อง จะทำให้สีที่ทาลงไปมีความสวยงามกลมกลืนเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนทาสีทุกครั้งต้องทำความสะอาดคราบฝุ่นคราบไขมันบนพื้นผิวก่อนด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หากมีราหรือ ตะไคร่น้ำต้องกำจัดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หากเป็นผนังปูนเก่าและสีเดิมอยู่ในสภาพหลุดล่อนชำรุด ต้องขัดล้างสีเก่าออกก่อนให้หมด เมื่อเตรียมพื้นผิวเสร็จแล้ว ต้องทิ้งให้แห้งสนิทก่อนที่จะทาสีใหม่ และหากมีรอยแตกร้าว ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน
         5. ทาสีรองพื้น การทาสีรองพื้นรก่อนจะช่วยยึดเกาะกับผนังได้ดีไม่หลุดออกง่าย ๆ เลือกสีรองพื้นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิว เพราะสีรองพื้นสำหรับพื้นที่ยังไม่
เคยทาสีมาก่อน ควรใช้สีรองพื้นที่สามารถป้องกันด่าง หรือการใช้สีรองพื้นสำหรับพื้นผิวเนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็งที่อาจมียางซึม ออกมาได้ ควรทาสีรองพื้นที่สามารถกันยางและเชื้อรา
   พื้นผิวปูน : หากเป็นปูนใหม่ รองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ เพื่อปรับสภาพพื้นผิวคอนกรีตใหม่ และชิ้นงานต่างๆ ที่มีค่าความเป็นด่างสูง ช่วยเพิ่มการกลบพื้นผิวดีเยี่ยม หากเป็นปูนเก่ารองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนเก่า เพื่อเคลือบผนังปูนที่สีเก่าเสื่อมสภาพเป็นฝุ่นผงหรือหลุด ลอกให้กลับมีสภาพดี ช่วยเสริมการยึดเกาะกับสีทับหน้าได้ 
อย่างมีคุณภาพและคงทน
    พื้นผิวไม้ : รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้ เพื่อป้องกันยางไม้หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ไม่ให้ซึมออกมาผสมกับสีทับหน้า ทั้งยัง ช่วยปรับสภาพพื้นผิวไม้ให้เรียบเนียน เพิ่ม
ความสวยเงางามของสีทับหน้า
    พื้นผิวเหล็ก : สีรองพื้นช่วยป้องกันการเกิดสนิม และช่วยเสริมการยึดเกาะของสีทับหน้า 

การทาสีบ้าน
ที่มาภาพ


        6. อุปกรณ์ทาสี แปรงทาสี และลูกกลิ้งมีความแตกต่างกัน แปรงทาสีสามารถเข้าได้ทุกซอกมุมของพื้นที่ที่ต้องการทา จึงเหมาะกับในกรณีที่เตรียมพื้นผิว แบบหยาบ ๆ

การทาสีบ้าน

หรือผิวที่ไม่เรียบ การใช้แปรงทาจะทำให้สีสัมผัสกับผิวผนัง ในซอกมุมต่าง ๆ ได้ดี ลูกกลิ้งเหมาะสำหรับการทาในพื้นที่กว้าง ๆ ซึ่งสามารถ ทำให้การทาสีทำได้เร็วกว่า แต่ลูกกลิ้งจะใช้ปริมาณมากกว่าการทาด้วยแปรง 
       
7. อุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ  สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือผ้าปูผื้นกันเปื้อนเพื่อป้องกันสี กระเด็นหรือตกหล่นพื้น บันได้สำหรับทาที่สูงและเพดาน ถาดผสมสี และ  อุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ 
       
8. เก็บรายละเอียด เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอกัน หรือยังไม่ได้ทาใน ส่วนที่เป็นซอกเป็นมุม จากนั้นเก็บรายละเอียดของงานให้ละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่ดูใหม่ และ  สดใสขึ้นโดยไม่ต้องมีการตกแต่งอะไรให้สิ้นเปลือง
        
9. การเก็บรักษาสี หากใช้สีไม่หมดแต่เหลือจำนวนสีไม่มาก และอยากเก็บสีไว้ใช้ต่อครั้งหน้า  ควรจะเทสีใส่กระป๋องที่มี ขนาดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันการแข็งตัวของสีบนพื้นผิว

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1. นอกจากการทาสีบ้านแล้ว การดูแลรักษาบ้านอื่น ๆ มีอะไรบ้าง 
 2. ถ้าบ้านเป็นบ้านปูนควรเลือกใช้สีชนิดใด ทาบ้านเพื่อให้สีบ้านอยู่ได้คงทน
กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสีทาบ้าน แล้วจัดทำรายงานส่ง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ใช้ในการทำสีทาบ้าน
ที่มา  
https://www.akesteel.com/index.php?mo=3&art=47676 
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=danuwat&month=11-2008&date=15&group=1&gblog=22
https://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=15&ID=63

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2073

อัพเดทล่าสุด