https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
10 อาหารอันตราย..ที่นิยม MUSLIMTHAIPOST

 

10 อาหารอันตราย..ที่นิยม


747 ผู้ชม


ปัจจุบันมีการผลิตอาหารในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมาย ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคจำนวนมาก แต่เรารู้หรือไม่ว่าอาหารนั้น..มันอันตราย   

        เราเคยตรวจสอบหรือไม่ว่า อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นมันมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราหรือเปล่า มันคุ้มค่ากับเงินที่เราต้องจ่ายหรือไม่ แล้วมันมีอันตรายอะไรแฝงอยู่บ้าง จากการอ่านบทความ เรื่อง 10 อาหารอันตราย มีอาหารที่เรานิยมรับประทานกันมาก มีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วย วันนี้จึงนำอาหารอันตราย 10 อย่าง มาให้รู้จักกัน

10 อาหารอันตราย

1. แฮมเบอเกอร์ ทำมาจากเนื้อส่วนที่เหลือที่แย่ที่สุดจากโรงฆ่าสัตว์ เนื้อส่วนใดที่ขายไม่ได้แล้วจะนำมาบดทำเป็นเบอเกอร์รวมทั้งกีบ กระดูก จมูก หูและส่วนอื่นๆของสัตว์ แฮมเบอร์เกอร์ทั้งหมดจะใส่สารปรุงรส (MSG=Monosodium Glutamate) ทำให้ปวดศีรษะและเกิดอาการแพ้ MSG เป็นสารเคมีที่ห้องปฏิบัติการทดลองใช้ช่วยทำให้สัตว์อ้วนขึ้น 
และท้ายที่สุดก็ทำให้ท่านอ้วนขึ้น นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ใช้ยาปฏิชีวนะมากที่สุดในโลก เพราะยาที่ใช้ล้างแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในเนื้อ 
2.ฮอทด็อก  ฮอทด็อกทำมาจากเนื้อส่วนที่เหลือที่แย่ที่สุดจากโรงฆ่าสัตว์ เช่นเดียวกับแฮมเบอรเกอร์ 
3. เฟรนช์ฟราย เป็นอาหารที่มี “ความเป็นพิษสูง” การทอดเฟร้นช์ฟราย จะทอดกันที่อุณหภูมิสูง ทำให้มีสารเคมีอะคริลิไมด์(Acrylimides) ออกมา ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นสารก่อโรคมะเร็งและทำลายประสาท 
4.โอริโอ้ คุกกี้ อันตารยที่เด่นชัดมากก็คือ ส่วนของน้ำตาลมีอยู่สูงถึง 23 กรัมเลยทีเดียว ช็อกโกเล็ตนั้นเป็นสารอาหารรายการสุดท้าย นั่นหมายความว่า มีช็อคโกเล็ตประกอบอยู่น้อยมาก น้ำตาลปริมาณสูง ทำให้ผิวหนังเ่ยวย่นและเกิดริ้วรอยได้เร็วยิ่งขึ้น
5. พิซซ่า ในเชิงทางการค้าจะประกอบไปด้วยอาหารที่มาจากการตัดแต่งทางพันธุ์กรรม 5 ชนิด 
    - เนยแท้ (cheese) เพียง 10% เท่านั้น 
    - แป้งสาลีที่นำมาใช้เป็นแป้งชนิดที่มีการตัดแต่งทางพันธุ์กรรม 
    
    - ซอสมะเขือเทศ ทำด้วยสารที่คล้ายมะเขือเทศที่สร้างยาฆ่าแมลงของมันขึ้นมาได้เอง ในร่างกายของท่าน 
    - มีน้ำมันฝ้ายประกอบอยู่ด้วย ฝ้ายไม่ได้จัดเป็นพืชพวกอาหาร มันผ่านการสเปรย์ด้วยยาฆ่าแมลงที่ชาวไร่ใช้ 
6. น้ำอัดลม สารตัวสำคัญที่มีอยู่ในโค้กก็คือกรดกำมะถัน (Phosphoric acid) ในด้านความเป็นกรดด่าง มันมีความเป็นกรดอยู่สูงมากพอที่จะละลายตะปูได้ภายใน 4 วันกรดที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้ยากที่จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้
7. ชิ้นไก่เนี้อนุ่มไม่มีกระดูก ทำมาจากชิ้นส่วนของไก่ที่ไม่ใช้แล้ว น้อยมากที่จะทำมาจากเนื้อขาวจริงๆ การรับประทานต่อครั้งโดยทั่วไป จะให้พลังงาน 340 แคลอรี่  50% เป็นไขมันมีแป้งขนมปังผสมอยู่มาก จึงมีคาร์โบไฮเดรตอยู่สูง มีการเติมสารปรุงรส (MSG=Monosodium Glutamate) ทำให้ปวดศีรษะ 
8. ไอศครีม มีไขมันอยู่สูงมาก (ขนาดปกติ 4 ออนซ์) มีไขมันเกินกว่า 50% ของไขมันที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวัน มีคาร์โบไฮเดรตอยู่มาก เกือบ 40% ของคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวัน มีน้ำตาลอยู่มาก ทำให้มีความกระหายน้ำตาลมากยิ่งขึ้น เป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเ่หี่ยวย่น 
9. โดนัท โดยเฉลี่ยแล้ว จะให้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี่ ในโดนัทหนึ่งชิ้นมีแป้งคาร์โบไฮเดรตอยู่มากกว่า 50% 
ของที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวันมีเกลือโซเดียมอยู่สูงมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ 
10. มันฝรั่งทอด อาหารขบเคี้ยว การทอดมันฝรั่งจะทอดกันที่อุณหภูมิสูงทำให้มีสารเคมีอะคริลิไมด์ (Acrylimides) ออกมา ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นสารก่อโรคมะเร็งและทำลายประสาท กินมันฝรั่งทอดเพียงวันละ 1 ถุง เท่ากับซดน้ำมันพืชปีละ 5 ลิตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี   ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.4-6)
สาระที่  1  การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานบ้าน)   เรื่อง การเลือกอาหาร

ประเด็นคำถามอภิปราย
1. เรารู้ว่าอาหาร 10 อย่างนี้อันตราย เราจะรับประทานหรือไม่ เพราะอะไร
2. ถ้าเราประกอบอาหารรับประทานเอง จะมีวิธีเลือกอาหารอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
ค้นคว้าอันตรายที่แฝงอยู่ในอาหารประเภทอื่นๆ

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  เรื่องสารอาหาร

ที่มาแหล่งอ้างอิง
https://atcloud.com/stories/65312
ภาพ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2450

อัพเดทล่าสุด