https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่กำลังหายไป MUSLIMTHAIPOST

 

20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่กำลังหายไป


614 ผู้ชม


พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่กำลังจะสูญพันธุ์มีอีกมาก เพราะเมื่อมนุษย์ไม่เห็นความสำคัญพืชและสัตว์เหล่านั้นก็จะสูญหายไป ดังนั้น เรามาช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เช่น ถ้าเป็นพันธุ์พืชก็ต้องรู้จักการขยายพันธุ์เพื่อให้คงอยู่   

 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่กำลังหายไป
 
               นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า มนุษย์ เป็นผู้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก และมีความสูญเสียในอัตราที่สูงจนน่าวิตก และมีปรากฏการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่างๆทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ ทั้งนี้ ทางองค์การสหประชาชาติ จึงกำหนดให้ปี 2010 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญให้ได้ภายในปีนี้ สำหรับประเทศไทยได้ร่วมตอบรับกิจกรรมดังกล่าวภายใต้แผนอนุรักษ์ 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามให้ได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า  20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ประกอบด้วย สัตว์ 20 ชนิด คือ นกกระเรียน นกแต้วแร้วท้องดำ นกเงือก นกกระสาคอดำ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว เสือโคร่ง ช้างเอเชีย พะยูน ละมั่ง โลมาอิรวดี เต่าทะเล ตะพาบม่านลาย หอยมือเสือ ปูเจ้าพ่อหลวง ปูราชินี กระท่าง ปลากะโห้ สมเสร็จ และผีเสื้อถุงทอง ส่วน 10 พันธุ์พืชคือ ชายผ้าสีดา ฟ้ามุ่ยน้อย กุหลาบพันปี ค้อเชียงดาว พลับพลึงธาร กันภัยมหิดล เพชรหึง เหลืองจันทบูร รองเท้านารี และจันทร์ผา ทั้งนี้ ทส.จะเปิดตัวโครงการนี้วันที่ 22 พ.ค. ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว.

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 13 พฤษภาคม  2553

20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่กำลังหายไป

รูปที่ 1 ไก่ฟ้าพญาลอ

ที่มา ไกฟ้าพญาลอ

บทนำ/เกริ่นนำ  
พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่กำลังจะสูญพันธุ์มีอีกมาก เพราะเมื่อมนุษย์ไม่เห็นความสำคัญพืชและสัตว์เหล่านั้นก็จะสูญหายไป ดังนั้น เรามาช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เช่น ถ้าเป็นพันธุ์พืชก็ต้องรู้จักการขยายพันธุ์เพื่อให้คงอยู่

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี    
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานการเรียนรู้  ง 1.1
  เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

 

20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืชของไทย ที่กำลังหายไป


ความหมายของการขยายพันธุ์พืช
  การขยายพันธุ์พืช หมายถึง  การเพิ่มจำนวนต้นพืชจากต้นเดียวให้มีปริมาณมากขึ้น โดยไม่ได้นำมาจากที่อื่น  รวมทั้งการถนอมพันธุ์พืชที่ดีอยู่แล้วไม่ให้สูญพันธุ์

ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
 การขยายพันธุ์พืชเป็นวิธีการที่พืชใช้ในการดำรงพันธุ์ไม่ให้สูญหายไป โดยในธรรมชาติพืชมีการขยายพันธุ์ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว  เช่น การแตกหน่อ การงอกของเมล็ด เป็นต้น  ซึ่งสามารถทำให้พืชเพิ่มปริมาณต้นที่มีอยู่ให้มากขึ้นได้ แต่การเพิ่มปริมาณโดยวิธีธรรมชาตินั้น ได้ต้นพืชไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมนุษย์ มนุษย์จึงศึกษาคิดค้นวิธีขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ  เพื่อให้ได้ต้นพืชปริมาณมากและรวดเร็ว มีความสมบูรณ์แข็งแรง และอาจได้พันธุ์พืชใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม
 จะต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ที่จะนำไปปลูก และพิจารณาถึงความต้องการของตลาด ความทนทานการดูแลรักษาง่าย และให้ผลผลิตสูง

 วิธีการขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว  สามารถแบ่งออกได้เป็น  2 ประเภท  
 1. การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศหรือด้วยส่วนต่าง ๆ ของพืช  ได้แก่  การตัก  การแบ่ง  หรือการเพาะชำ  เพื่อทำให้เกิดรากและต้นใหม่ขึ้นมา  เช่น หอมหัวใหญ่  หอมแดง  ขิง  มันเทศ  ตะไคร้  เป็นต้น 
 2. การขยายพันธุ์โดยการใช้เพศหรือด้วยเมล็ดพันธุ์ เช่น  ข้าวโพด  ผักกาด  กวางตุ้ง  คะน้า  เป็นต้น

การเพาะเมล็ด

          การเพาะเมล็ด คือ  วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการนำเมล็ดไปเพาะในวัสดุเพาะหรือในแปลงเพาะจนงอกเป็นต้นกล้าหรือพืชต้นใหม่  สำหรับนำไปปลูกหรือนำไปใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการติดตาต่อกิ่ง การเพาะเมล็ดทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะในภาชนะและการเพาะในแปลงปลูก
         1. การเพาะในภาชนะ  ภาชนะที่ใช้เพาะเมล็ด  ได้แก่ กระบะเพาะสำเร็จรูป  กระถาง  ถุงพลาสติก กระทง หรือภาชนะอื่น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการเพาะดังนี้ 
        เตรียมภาชนะที่ใช้เพาะเมล็ดจะต้องเป็นภาชนะที่มีรูระบายน้ำ และไม่เป็นพิษกับพืช
        เตรียมดินเพาะ วัสดุเพาะที่นำมาใช้ผสมเป็นดินเพาะ จะนำยมใช้ดินร่วน ขุยมะพร้าว  ทรายหยาบ  ถ่านแกลบ  และปุ๋ยคอก โดยใช้สูตรต่าง ๆ ดังนี้ 
                 สูตรที่  1 ทรายหยาบ : ขุยมะพร้าว  = 1:1
                 สูตรที่ 2 ทรายหยาบ : ถ่านแกลบ   = 1:1
                 สูตรที่ 3 ดินร่วน : ทรายหยาบ : ปุ๋ยคอก  = 2: 2:1
           บรรจุดินเพาะลงในภาชนะ  ก่อนบรรจุดินควรรองก้นภาชนะด้วยอิฐหัก จากนั้นบรรจุดินเพาะลงในภาชนะ  ควรให้เหลือขอบภาชนะไว้  1-2 นิ้ว เกลี่ยดินเพาะให้เรียบ  กดดินบริเวณขอบข้างภาชนะให้แน่น ป้องกันเมล็ดพืชไหลลงข้างภาชนะลึกเกินไปจนกว่าจะงอกขึ้นมาได้ โรยเมล็ดลงบนดินเพาะ  การโรยเมล็ดหรือหยอดเมล็ดลงเพาะต้องให้กระจายทั่วภาชนะ  หากเป็นเมล็ดขนาดเล็กมากให้ผสมทรายแห้งก่อนนำไปโรยเพื่อให้เมล็ดกระจายสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจึงใช้ดินเพาะหรือ ขุยมะพร้าวกลบทับบาง ๆ หรืออาจใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เก่าปิดทับ แล้วจึงรดน้ำเบา ๆ นำภาชนะที่เพาะเมล็ดแล้วไปเก็บไว้ในที่ที่มีแสงแดดรำไร  
        การรดน้ำ ต้องรดน้ำให้ชื้นทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง หากใช้หนังสือพิมพ์ปิดทับต้องเปิดออกดู ถ้าพบว่าเมล็ดเริ่มงอกแล้วให้นำกระดาษหนังสือพิมพ์ออก เมื่อเมล็ดงอกแล้วลดปริมาณการให้น้ำเป็นวันละ  1 ครั้ง 
 2. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ  นิยมใช้แปลงเพาะที่มีความกว้างไม่เกิน 1 เมตร  
เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน  การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะจะได้ต้นกล้าจำนวนมากจึงเหมาะสำหรับ การปลูกพืชหรือผลิตกล้าไม้เป็นอาชีพ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้   
            - เตรียมแปลง  วัดขนาดแปลง  ทำความสะอาดแปลง และเตรียมดิน เช่นเดียวกับวิธีการเตรียมดินในแปลงปลูก  โดยยกแปลงให้สูงกว่าระดับพื้นทางเดินประมาณ  10-15  เซนติเมตร    ย่อยดินให้ละเอียดพร้อมกับเกลี่ยดินให้เสมอ
            - ใส่ปุ๋ยคอก  โรยปุ๋ยคอกเก่าที่แห้งร่วนละเอียดปิดทับหน้าแปลง  รดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ปุ๋ยคอกไหลลงไปอุดตามช่องว่างผิวหน้าดินให้เต็ม เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดพืชไหลลงไปลึกเกินกว่าจะงอกขึ้นมาได้ 
            - นำเมล็ดลงเพาะ  อาจใช้วิธีโรย  หว่าน หยอดหรือฝังลงบนแปลง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดในภาชนะ
            - กลบทับผิวหน้าแปลง  หลังจากนำเมล็ดลงเพาะแล้วให้ใช้ดินร่วนละเอียดโรยกลบทับบาง ๆ 
            - คลุมแปลงเพาะ  หลังจากกลบทับผิวหน้าแปลงแล้วให้ใช้วัสดุจำพวกฟางข้าว ทางมะพร้าว หรือตาข่ายไนล่อนคลุมแปลงเพื่อลดปริมาณแสงแดดให้ระยะแรกที่อาจเป็นอันตรายต่อเมล็ดพืชและต้นอ่อนได้ พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม ควบคุมความชื้นในแปลงเพาะ  ต้องรดน้ำสม่ำเสมอ วันละ 2-3 ครั้ง  ในระยะแรกจนกว่าจะงอก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย 
             - กำจัดวัชพืชในแปลงเพาะ ต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืชในแปลงเพาะพร้อมกับถอนแยกต้นกล้าที่อ่อนแอหรือขึ้นเป็นกระจุกแน่นเกินไปออกทิ้ง  เพื่อให้ต้นกล้าที่เหลือเจริญเติบโตเร็วและสมบูรณ์สม่ำเสมอ  
 การย้ายต้นกล้า  เมื่อต้นกล้าที่เพาะเจริญเติบโตและมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ  แล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงหรือปลูกในภาชนะอื่น


คำถามอภิปรายในชั้นเรียน
 1. เมื่อเด็กมีต้นไม้มากมาย ทำไมโตขึ้น ต้นไม้เหล่านั้นไม่มีแล้ว เราจะรักษาได้อย่างไร   
 2. มีพืชผักชนิดใดบ้างที่สามารถเพาะเมล็ดได้ 
 
กิจกรรมเสนอแนะ  สืบค้นข้อมูลการขยายพันธุ์พืชจากอินเทอร์เน็ต

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
           ภาษาไทย  -  การอ่าน การเขียน

เอกสารอ้างอิง
พัฒนา  ประเสริฐสุข. (2546). หนังสือเรียนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีพื้นฐาน: งานเกษตร. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
น้อย   สุวรรณมณี. (2546). มาตรฐานแม็ค “งานเกษตร”. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์แม็ก จำกัด.  

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2502

อัพเดทล่าสุด