https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เขมร MUSLIMTHAIPOST

 

เขมร


535 ผู้ชม


อิทธิพลนาฏศิลป์เขมรที่มีต่อนาฏศิลป์ไทย   


 

เขมร

ที่มาภาพ   www.edtguide.com    

   

        สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เตรียมเดินทางไปพูดคุย และสร้างความเข้าใจอันดี กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล อ่านเพิ่มเติมที่มาแหล่งข่าวไทยรัฐออนไลน์ วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2552


        ตอนนี้ข่าวที่มาแรงคงหนีไม่พ้นกระแสเรื่องปราสาทพระวิหาร ที่ไทยทำหนังสือคัดค้าน การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ไปยังองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) อันที่จริงแล้วไทยกับกับกัมพูชาก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน และมีความสัมพันธ์อันดีแก่กันโดยเฉพาะด้านนาฏศิลป์เคยมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอยู่หลายครั้งกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์"

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4


        นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และกล่าวจารึ ถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง นาฏศิลป์กัมพูชาสืบต่อมาจนรุ่งโรจน์ในสมัยพระนคร และมีอิทธิพลต่อกรุงอยุธยาหลังจากที่มีกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย  เมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยได้ส่งคืนศิลปะวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันข้อมูลเพิ่มเติม

         นาฏศิลป์ไทยมีการแสดงชายชุดที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เพราะประชาชนของไทยส่วนหนึ่งมีเชื้อสายชาวไทยเขมร เช่น จังหวัดศรีสะเกษ ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามเอาไว้ ตัวอย่างการแสดง

        เรือมตร๊ด (รำตรุษหรือลังตร๊ด) เป็นของไทยเขมร นิยมเล่นตอนออกพรรษา งานกฐิน วันตรุษสงกรานต์ เพื่อบอกบุญ โดยตระเวนเล่นไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อบอกบุญขอบริจาคทรัพย์สมทบกองทุนผ้าป่า การแต่งกายสวมชุดพื้นเมืองเช่น ผ้าโสร่ง สวมเสื้อหลากสี

 

เขมร

ที่มาภาพ    www.mapculture.org

         เรือมอายัย เป็นการร้องโต้ตอบกัน ทำนองเกี้ยวพาราสี ระหว่างหนุ่มสาวชาวเขมรถิ่นไทยในเทศกาล งานรื่นเริงสนุกสนาน การแต่งกาย ใช้ผ้าทอพื้นบ้าน นุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบคล้องคอ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าไหมคาดที่เอว

เขมร

ที่มาภาพ    www1.tv5.co.th

        กันตรึม กันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของอีสานใต้ เป็นที่นิยม และมีบทบาทสำคัญตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน กันตรึมนี้ ได้รับการถ่ายทอดมาจากขอม

เขมร

ที่มาภาพ    www.gotoknow.org

        เจรียง เป็นการละเล่นของคนไทยเขมร คล้ายกับลำตัดหรือหมอลำ   เป็นการขับร้อง หรือแหล่กลอนสด เนียะจเรียง หมายถึง ผู้ขับร้อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมรอ่านเพิ่มเติม

เขมร


ที่มาภาพ      www1.tv5.co.th

เขมร


ที่มาภาพ   www.gotoknow.org


        ในกรมศิลปากรเองก็มีระบำคล้ายคลึงกับระบำนางอัปสรของเขมร เราเรียกระบำนั้นว่า“ระบำศรีชัยสิงห์” เป็นระบำที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก จากปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงจากท่ารำนางอัปสรบายน ฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐ์ท่ารำโดย นางเฉลย ศุขวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย  ของวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร  การแต่งกายเลียนแบบภาพจำหลักนางอัปสร ปราสาทเมืองสิงห์  บรรเลงโดยเพลงเขมรชมจันทร์และเพลงเขมรเร็ว

        ประเด็นคำถาม

  การประดิษฐ์ท่ารำที่ใช้ประกอบการแสดงในแต่ละชุด ควรมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอย่างไร
               
        กิจกรรมเสนอแนะ


          1) ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานด้านท่ารำประกอบเพลงโดยยึดท่านาฏศิลป์ไทยพื้นฐานในการคิดค้น 
          2) ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าการแสดงที่นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากนาฏศิลป์เขมรนอกเหนือจากที่ได้นำเสนอมาแล้ว

          บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้


        ภาษาไทย   ด้านการอ่าน  การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
        สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต

 

         แหล่งอ้างอิงข้อมูล


www.sema.go.th
www.google.co.th

www.google.co.th


        แหล่งอ้างอิงภาพ


www.images.google.co.th
www.images.google.co.th

www.images.google.co.th 
www.images.google.co.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=783

อัพเดทล่าสุด