ถวายพระพรพ่อหลวงไทย MUSLIMTHAIPOST

 

ถวายพระพรพ่อหลวงไทย


493 ผู้ชม


เพลงสำคัญของแผ่นดินที่ปวงชนชาวไทยร่วมร้องสดุดีถวายพระพรองค์ราชาและราชินี   

ถวายพระพรพ่อหลวงไทย
ขอบคุณภาพ

วันฉัตรมงคล 60 ปี “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

           เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งแล้วกับ “วันฉัตรมงคล” ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พ.ค. ของทุกปี ทั้งนี้นับได้ว่าเป็นวันที่มีความหมายมากสำหรับปวงชนชาวไทย
          
กล่าวสำหรับประวัติความเป็นมาของ “วันฉัตรมงคล” นี้ คือวันที่ระลึก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9  แห่งราชอาณาจักรไทย โดยสมบูรณ์ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจาก สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ในเวลานั้น ดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" เนื่องจากในเวลานั้น ยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั่นเอง
             จากนั้น พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทย รัฐบาลไทยในขณะนั้น ก็ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ปวงพสกนิกรชาวไทย จึงได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก 
(ขอบคุณที่มา)

         เนื่องในโอกาสวันมหามงคล นับเป็นบุญล้นเกล้าของพสกนิกรชาวไทย ที่จะได้ชื่นชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราชาวไทยต่างร่วมใจน้อมเกล้าถวายพระพรชัยแก่ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของปวงประชาราษฎร์  ด้วยการร่วมร้องเพลงซึ่งเป็นเพลงสำคัญสำหรับใช้ร้องเพื่อเป็นการถวายพระพรในวโรกาสมงคลนี้

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

                                          
                                       ********************************************

เพลงถวายพระพรองค์พ่อหลวงไทย

                             ถวายพระพรพ่อหลวงไทย
                                                     ขอบคุณภาพ

    
          ปัจจุบันเพลงนี้มีการขับร้องเพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้งสองพระองค์อยู่เสมอโดยถือเป็นธรรมเนียมทั่วไปว่าเพลงนี้ต้องขับร้องหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการจุดเทียนชัยถวายพระพร
         รัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 
         เพลงสำคัญของแผ่นดิน คือ เพลงที่รัฐบาลไทยจัดให้มีความสำคัญในระดับชาติอย่างเป็นทางการ  ซึ่งมีทั้งหมด 6 เพลง ได้แก่ 
        1.  
เพลงชาติ 
        2.  
เพลงสรรเสริญพระบารมี
        3.  เพลงมหาชัย  
        4.  เพลงมหาฤกษ์ 
        5.  
เพลงสดุดีมหาราชา 
        6.  
เพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา

         โดยยกเหตุผลว่าเพลงเหล่านี้  "เป็นเพลงที่มีคุณค่า แสดงถึงคุณค่าและความเจริญของคนในชาติ เป็นภูมิปัญญาของแผ่นดิน รวมทั้งแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ"  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชจักรีวงศ์

   

ถวายพระพรพ่อหลวงไทย
ขอบคุณภาพ

           ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้เพลงสำคัญของแผ่นดินตามฉบับที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจัดทำขึ้นใหม่ เป็นต้นฉบับในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

ขอบคุณข้อมูล

++++++++++++++++++++++++++ 

ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  อธิบาย คุณค่า ความสำคัญ และความไพเราะของเพลง
         -  อภิปรายความหมายของบทเพลงทั้งความหมายโดยตรง และโดยนัย
         -  ปัจจัยที่ทำให้เพลงเหล่านี้ เป็นเพลงที่สำคัญอยู่ในความประทับใจ ซาบซึ้งใจของปวงชนชาวไทย

เชื่อมโยงในองค์ความรู้
          สาระการเรียนรู้ศิลปะ   (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งานจากบทเพลง ตามจินตนาการ  (ดนตรี) ร้อง บรรเลง บทเพลงสดุดีมหาราชา  (นาฏศิลป์) การแสดงถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติในหลวง
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย    ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลง   คำคล้องจอง  ฉันทลักษณ์ การแต่งคำประพันธ์ คุณค่าความงามของภาษาไทย
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ    วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตความศรัทธาของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง กับสถาบันพระมหากษัตริย์
         สาระการเรียนรู้กอท.      โครงการในพระราชดำริ หลักเกษตรทฤษฎีใหม่  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        - ศึกษาเรียนรู้เพลงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของในหลวง
        -  จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ ถวายพระพรเนื่อในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช
        -  ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ   เป็นต้น
 

อ้างอิงข้อมูล 
https://www.thairath.co.th 
https://th.wikipedia.org

อ้างอิงรูปภาพ
https://www.apacnews.net 
https://www.siced.go.th 
https://www.tnews.co.th

 


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2391

อัพเดทล่าสุด