https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กลุ่ม SMEs ผวา! นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล MUSLIMTHAIPOST

 

กลุ่ม SMEs ผวา! นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล


720 ผู้ชม


กลุ่ม SMEsสร้างภาระธุรกิจเพิ่ม ร้อยละ 48.4 เตรียมหันใช้เครื่องจักรแทนกำลังคน   

ไทยโพสต์ * เอแบคโพลเผยผลสำรวจกลุ่ม  SMEs ผวา! นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล
สร้างภาระธุรกิจเพิ่ม ร้อยละ 48.4 เตรียมหันใช้เครื่องจักรแทนกำลังคน
 ส่วนอีกร้อยละ 4.4 ส่อปลดพนักงานลดต้นทุน

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 
เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เสียงสะท้อนของกลุ่ม  SMEs ต่อนโยบายรัฐบาลค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน 
และผลกระทบต่อการ ประกอบธุรกิจ กรณีศึกษาตัวอย่าง กลุ่ม  SMEs ทั่วประเทศ จำนวน 715 บริษัท
 ระหว่างวันที่ 6-9 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 56.9 ยังไม่ปรับค่า แรงขั้นต่ำสนองต่อนโยบายรัฐบาล
 ขณะที่ร้อยละ 38.7 ระบุปรับค่า แรงขั้นต่ำสนองต่อนโยบายรัฐบาล โดยไม่มีการปลดพนักงานออก ส่วนร้อยละ 4.4 
ระบุปรับค่าแรงขั้นต่ำสนองตอบนโยบายรัฐบาล แต่ต้องปลดพนักงานบางส่วนออก
ผลสำรวจยังระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจจากนโยบายการขึ้นเงินเดือน 
พบว่าร้อยละ 89.0 ระบุทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น รองลงมาหรือร้อยละ 70.8 
ระบุกังวลว่าจะส่งผลกระทบในทางลบต่อการทำธุรกิจ ร้อยละ 70.8 เท่ากัน 
ระบุการขยายตัวลดลงของเศรษฐกิจในประเทศโดยภาพรวม ร้อยละ 68.5 
ระบุความเชื่อมั่นต่อการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติลดลง

ในขณะที่ร้อยละ 67.8 ระบุว่าทำให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพดีขึ้น ร้อยละ 62.9
 ระบุการส่งออกลดลง ร้อยละ 62.1 ระบุการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ร้
อยละ 61.5 ระบุจำนวนแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 59.6 ระบุการจ้างงานแรงงานไทยลดลง/เลิกจ้าง
 และที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 57.3 จะมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการปรับตัวของธุรกิจจากนโยบายการขึ้นเงินเดือน พบว่า ตัวอย่างเกือบ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 72.3 ระบุมีการปรับระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นคุณภาพมากขึ้น ร้อยละ 66.7 ระบุมีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะพนักงานให้มีมากขึ้น ร้อยละ 65.6 ระบุมีการหาตลาดเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 63.4 ระบุมีการปรับโครงสร้างฐานเงินเดือน

ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่ม SMEs เกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.4 ระบุอาจจะใช้เทคโนโลยีแทนการ ว่าจ้างแรงงาน ร้อยละ 30.9 ระบุ ยอมขาดทุนกำไร ร้อยละ 18.0 ระบุจะลดต้นทุนโดยการจ้างแรง งานต่างด้าวมาทดแทนแรงงานไทย ร้อยละ 12.2 ระบุจะย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 8.4 ระบุจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจอย่างอื่น และร้อยละ 3.2 ระบุจะหยุด/เลิกกิจการ

ผลสำรวจได้เสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลระบุ ร้อยละ 64.9 อยากให้มีการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน ร้อยละ 21.8 อยากให้มีการลดภาษีรายได้นิติบุคคลลงมากกว่าที่เป็นอยู่ ร้อยละ 8.4 อยากให้รัฐบาลจัดอบรมเฉพาะทางให้กับ  SMEs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน และร้อยละ 4.9 ระบุการหักคืนภาษี.

 คำถาม

1.ข้อมูลข้างต้น ใช้วิธีเก็บข้อมุลแบบใด

2.ข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นข้างต้น ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนกี่คน

3. จากข้อความ กลุ่ม SMEs เกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.4 ระบุอาจจะใช้เทคโนโลยีแทนการ ว่าจ้างแรงงาน ร้อยละ 30.9 ระบุ ยอมขาดทุนกำไร ร้อยละ 18.0 ระบุจะลดต้นทุนโดยการจ้างแรง งานต่างด้าวมาทดแทนแรงงานไทย ร้อยละ 12.2 ระบุจะย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 8.4 ระบุจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจอย่างอื่น และร้อยละ 3.2 ระบุจะหยุด/เลิกกิจการ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ จงแสดงเหตุผล

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4600

อัพเดทล่าสุด