https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รับมือกับไวรัส 2009 ในโรงเรียน MUSLIMTHAIPOST

 

รับมือกับไวรัส 2009 ในโรงเรียน


611 ผู้ชม


เมื่อโรงเรียนเปิดเรียน โรงเรียนจะมีวิธีการอย่างไรในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการระบาดของโรค   

กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือมายัง กระทรวงศึกษาธิการ

ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


         ด้วยกระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือมายัง กระทรวงศึกษาธิการ ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อให้ร่วมประชาสัมพันธ์  ตามหลักสุขอนามัย 5 ประการ โดยให้ขอความร่วมมือสถานศึกษาในสังกัด และหน่วยงานในสังกัด ศธ. เผยแพร่คู่มือสำหรับป้องกันโรคดังกล่าว 

เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรุ้สุขศึกษาและพลศึกษา   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

มาตรฐาน พ ๔.๑    เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ  การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

คำแนะนำ สำหรับสถานศึกษา
เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1

ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา รวมถึงศูนย์เด็กเล็กและสถานรับเลี้ยงเด็ก

รับมือกับไวรัส 2009 ในโรงเรียน

ด้านการสังเกตอาการ
1. ก่อนเริ่มการเรียนในแต่ละวัน ควรตรวจสอบจำนวนนักเรียน หากพบเด็กขาดเรียนมาก ผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าเด็กขาดเรียนจากอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์
2. สังเกตอาการ เด็กนักเรียนในห้องเรียน หากพบเด็กป่วยด้วยอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ควรให้เด็กป่วยสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และ แยกเด็กป่วยอยู่ห้องพยาบาล รวมทั้งติดต่อให้ผู้ปกครองพากลับบ้าน เพื่อให้การดูแลรักษาเบื้องต้นและพักผ่อนที่บ้าน แต่หากเด็กมีอาการมากควรต้องรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา
3. หากมี เด็กนักเรียนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ควรติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน และ สังเกตอาการนักเรียนดังกล่าว หากมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และให้หยุดเรียนพักผ่อนอยู่ที่บ้านจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น

รับมือกับไวรัส 2009 ในโรงเรียน

ด้านการให้ความรู้
1. เผยแพร่ ให้คำแนะนำ ความรู้ เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 และ การป้องกันตนเองแก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตามความเหมาะสม
2. ส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขอนามัยของตนเอง เช่น การล้างมือ หรือ การสวม หน้ากากอนามัย ตามโอกาสต่าง ๆ

ด้านการส่งเสริมสุขอนามัย
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หลังการไอ จาม ก่อนและหลังหยิบจับอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังการขับถ่าย
3. ไม่ใช้ภาชนะหรือสิ่งของร่วมกัน เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หรือหลอดดูดร่วมกัน และใช้
ช้อนกลางในการตักอาหาร
4. ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม และ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และ
ระมัดระวังการไอจามรดกัน

รับมือกับไวรัส 2009 ในโรงเรียน

ด้านการแจ้งข้อมูลการป่วย และ ขอคำแนะนำ
หากทางโรงเรียนพบว่ามีนักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วย
ภายใน 7 วันหลังกลับถึงประเทศไทย หรือพบว่ามีนักเรียนป่วยและขาดเรียนตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียน
เดียวกัน ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเขตในพื้นที่
- กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106, 0 2246 0358
และ 0 2354 1836
- สำนักระบาดวิทยา โทรศัพท์ 0 2590 1882
2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง
3. ข้อมูลเพิ่มเติม
- ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333
- ศูนย์บริการข้อมูลทางฮ็อตไลน์ของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และ
สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994
- เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th
- เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ https://beid.ddc.moph.go.th
- เว็บไซต์สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค https://epid.moph.go.th

ถามต่อก่อปัญญา

1. พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อไวสัสสายพันธุ์ใหม่ 2009 มีอะไรบ้าง

2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขอตนเองและคนในครอบครัวมีอย่างไรบ้าง

3. นักเรียนเปรียบเทียบสุขบัญญัติ 10 ประการ กับการกลวิธีการป้องกันโรค 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=437

อัพเดทล่าสุด