โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis


568 ผู้ชม


ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน   

โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis

คือภาวะที่เนื้อกระดูกของร่างกายลดลงอย่างมาก และเป็นผลให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายเราจะมีกระบวนสร้างและสลายกระดูก เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิน 40 ปี กระบวนสร้างจะ ไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมของทางเดินอาหาร จะเสื่อมลงทำให้ร่างกายต้องดึง สารแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

      - หญิงวัยหมดประจำเดือน -- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น

      - ผู้สูงอายุ

      - ชาวเอเซียและคนผิวขาว -- โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า สองชนชาตินี้
         มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ

      - รูปร่างเล็ก ผอม

      - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ

      - ออกกำลังน้อยไป

      - สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ

      - ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์

      - เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต

      - รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไป

      - รับประทานอาหารเค็มจัด

อาการของโรคกระดูกพรุน

ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมากๆจะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ

โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย
ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป
เลี่ยงอาหารเค็มจัด
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้
หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม
การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ
และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน 
การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่างๆ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่าความหนาแน่น ของกระดูกบริเวณต่างๆเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทานยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1009

อัพเดทล่าสุด