https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด MUSLIMTHAIPOST

 

ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด


852 ผู้ชม


สาเหตุการเสียชีวิตของไมเคิลที่น่าเรียนรู้ คือผลจากการใช้ยาแก้ปวดมาเป็นเวลานานทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต   

   ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด        

  การเสียชีวิตของศิลปินนักร้องชื่อก้องโลกสัญชาติสหรัฐอเมริกา “ไมเคิล แจ๊คสัน” นั้น สำหรับในประเทศไทยเรา  สื่อทุกแขนงต่างก็นำเสนอเป็นข่าวใหญ่อย่างต่อเนื่อง  ข่าวนี้ให้ “แง่คิด” ที่เกี่ยวกับคนไทยโดยกับกรณี ไมเคิล แจ๊คสัน นั้น ไม่ว่าที่สุดแล้วผลชันสูตรจะบ่งชี้ว่าเขาต้องจากโลกนี้ไปด้วยสาเหตุอะไรแน่ แต่จากรายงานข่าว...ช่วงชีวิตบั้นปลาย ของเขาดูจะเกี่ยวข้องกับ “ยา” จำนวนมาก ซึ่งก็มี “ยาแก้ปวด” รวมอยู่ด้วย ที่สำคัญ...มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลจากยาแก้ปวดด้วย แม้ว่าจริง ๆ แล้วอาจจะไม่เกี่ยว ?!?

ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด

สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่  ๕      ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ ๕.๑   ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา     สารเสพติด และความรุนแรง

ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด

อาการปวดคืออะไรและมีสาเหตุจากอะไร

        โดยธรรมชาติอาการปวดเป็นความรู้สึกทรมานที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์แก้ไขอันตรายหรือรักษาความบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถูกมีดบาดเราจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่มีบาดแผลซึ่งเตือนให้รู้ว่ามีความบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้วและเราต้องหาทางบรรเทาอาการปวดดังกล่าวด้วยการรักษาบาดแผลให้หาย ถ้ามนุษย์ไร้ความเจ็บปวดก็จะไม่สนใจหาทางแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นและอาจปล่อยให้ลุกลามต่อไปความเจ็บปวดเกิดขึ้นเมื่อตัวรับรู้ความเจ็บปวดที่อยู่ตามผิวหนัง กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบในร่างกาย ถูกกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้นความเจ็บปวด เช่น แรงกระแทก ความร้อน สารเคมีหรือการบาดเจ็บ จากนั้นสัญญาณความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจะเดินทางไปตามเส้นประสาทจากจุดเกิดเหตุไปยังไขสันหลังและผ่านต่อไปยังสมองเพื่อตีความว่าเจ็บปวดเพียงใด ดังนั้นความ เจ็บปวดจากสาเหตุเดียวกันอาจมีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันตามพื้นฐานของอารมณ์ในขณะที่เกิดความเจ็บปวด เช่น ทหารเมื่อถูกยิงในระหว่างการรบอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดบาดแผลเนื่องจากอารมณ์ขณะนั้นจดจ่ออยู่กับการต่อสู้เอาตัวรอด แต่เมื่อเสร็จการรบเสร็จสิ้นลงจะเริ่มรู้สึกเจ็บปวดบาดแผลมากเป็นต้นไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด

        ความเจ็บปวดมีได้หลายแบบ เช่น ความเจ็บปวดเฉียบพลันซึ่งเกิดขึ้นทันทีและมีช่วงเวลาจำกัดโดยมีสาเหตุจากเกิดบาดแผล ถูกความร้อน เป็นไข้ เป็นต้น อาการปวดเหล่านี้รักษาด้วยยาได้ผลดี ความเจ็บปวดเรื้อรังซึ่งเกิดต่อเนื่องหลายเดือนโดยมีสาเหตุจากโรคเรื้อรังเช่น มะเร็ง ไขข้ออักเสบ อาการปวดเรื้อรังมักยากต่อการรักษา ความเจ็บปวดตื้นซึ่งเกิด
ขึ้นจากการบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ความเจ็บปวดลึกซึ่งเกิดขึ้นจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบหรือจากอวัยวะสำคัญภายใน ความเจ็บปวดกล้ามเนื้อซึ่งเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อลาย เอ็น หรือข้อต่อ อาการปวดเหล่านี้จะต้องเลือกใช้ยาแก้ปวดให้เหมาะสมซึ่งจะได้กล่าวในช่วงต่อไป
 
การรักษาอาการปวดที่ถูกต้องทำอย่างไร

        ปวดเป็นการแสดงออกทางปลายเหตุอย่างหนึ่งว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกาย ดังนั้นควรพิจารณาอาการอื่นที่เกิดขึ้นประกอบด้วยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกตินั้นว่าคืออะไร ควรรักษาตนอย่างไรและควรใช้ยาแก้ปวดอย่างเดียวหรือไม่เนื่องจากในบางกรณีอาการปวดเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคที่รุนแรง เช่น มะเร็ง การติดเชื้อที่สมองหรือสมองได้รับบาดเจ็บ หัวใจขาดเลือด ท่อน้ำดีอุดตัน ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องดำเนินการรักษาต้นเหตุโดยแพทย์อย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นการใช้เพียงแต่ยาแก้ปวดอาจจะบดบังอาการของโรคที่ไม่รุนแรงทำให้ไม่สนใจจะรับการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วยเมื่อเกิดอาการปวดที่ไม่ใช่ผลจากโรครุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากไข้หรือความเครียด ปวดฟันปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน สามารถใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดได้ แต่การใช้ยาแก้ปวดดังกล่าวต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับสภาพของตนเอง ทั้งนี้อาจขอคำแนะนำจากเภสัชกรที่ร้านยาที่ท่านซื้อยาแก้ปวดได้ และที่สำคัญอย่าละเลยต้นเหตุของอาการปวดดังกล่าว ต้องหาทางแก้ไขต้นเหตุนั้นด้วยเช่นกัน
ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด 
ยาแก้ปวดมีกี่ประเภท มีข้อบ่งใช้อย่างไร

         ยาแก้ปวดที่ใช้กันปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ  
1.ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดสูงแต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ทำให้ผู้ใช้
เกิดการชินยาและติดยาได้ ยาแก้ปวดประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อดังนั้นจึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่ เป็นสารจากฝิ่นและสารที่มีฤทธิ์คล้ายฝิ่น ได้แก่ มอร์ฟีน เมเปอริดีน เมธาโดน โคเดอีน เลโวโปรพรอกไซฟีน เพนตา-โซซีน ยาเหล่านี้ใช้เป็นยาเดี่ยวระงับปวดที่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมากที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อเรียบ อวัยวะภายใน และกระดูก หรือใช้เป็นยาเสริมกับยาแก้ปวดชนิดไม่
เสพย์ติดเพื่อระงับอาการปวดที่รุนแรงปานกลาง
2. ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติด เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดต่ำแต่มีฤทธิ์ลดไข้ด้วย ไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดการติดยา ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อจึงนิยมใช้กับผู้ป่วยกันทั่วไปได้แก่ ยาแก้ปวด-ลดไข้ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย (NSAID) เช่น แอสไพริน ไอบู-โปรเฟน ไดฟลูนิซาล เมเฟนามิคเอซิด นาพรอกเซน ซูลินแดค พิรอกซิแคม เป็นต้นกับยาแก้ปวด-ลดไข้ที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ พาราเซตามอล ยาประเภทนี้ใช้
ระงับปวดที่รุนแรงน้อยจนถึงรุนแรงปานกลางของกล้ามเนื้อลาย เอ็น ข้อต่อปวดศีรษะ ปวดฟัน
 
ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด

        ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดมีฤทธิ์ระงับปวดได้มากจึงใช้บรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและมีอาการปวดรุนแรง เช่น ปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบ ปวดกระดูก ยาประเภทนี้มีทั้งชนิดยาฉีดให้ใช้เมื่อต้องการเห็นผลรวดเร็ว และยารับประทานเมื่อต้องใช้ต่อเนื่อง ผลของยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดโดยทั่วไป ได้แก่ 
• ระงับปวด ทำให้เคลิ้มสุข มีฤทธิ์ระงับปวดสูงโดยออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางทำให้รับรู้ความเจ็บปวดน้อยลง ยังทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวล
• ทำให้ง่วงซึม มีผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับง่าย
• กดการหายใจ มีผลทำให้ผู้ป่วยหายใจอ่อน ช้า และมีผลเสียอย่างมากกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น หอบหืด
• ระงับไอ ใช้เป็นยาแก้ไอได้ดี เช่น โคเดอีน เดกโตรเมธอแฟน
• ทำให้รูม่านตาหด สังเกตุได้ชัดในผู้ที่เสพย์ฝิ่น ไม่มีการชินยา
• คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในระยะแรกของการใช้ยา ต่อไปอาจชินยาได้
• ท้องผูก ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น ทิงเจอร์ฝิ่นการบูน ไดฟีนอกซัยเลท
• เพิ่มความตึงตัวท่อน้ำดี ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ทั่วไปไม่ควรใช้กับอาการปวดเกร็งของท่อน้ำดี ท่อหรือกระเพาะปัสสาวะ
• กดระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เสพย์ติดฝิ่นจึงมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ  โรคเอดส์ 
   
        โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดกับอาการปวดเรื้อรังซึ่งต้องใช้ยาต่อเนื่องระยะยาวเนื่องจากปัญหาการติดยา แต่ในบางกรณีนั้นก็จำเป็นต้องใช้ เช่น อาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายซึ่งมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่นาน ในกรณีนี้การติดยาจึงเป็นประเด็นปลีกย่อย อย่างไรก็ดีปัจจุบันมียาแก้ปวดใหม่ตัวหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ระงับปวดสูงใกล้เคียงกับยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดแต่ไม่จัดเป็นยาเสพย์ติดจึงไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ชื่อ ทรามาดอล เป็นสารสังเคราะห์ที่มีสูตรโครงสร้างแตกต่างจากฝิ่น เป็นยารับประทานซึ่งมีฤทธิ์อยู่ได้นาน ใช้ระงับปวดที่รุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มีฤทธิ์กดการหายใจน้อยกว่ายาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด มีโอกาสติดยาต่ำ มีผลข้างเคียงน้อย ที่พบได้แก่ มึนงง ง่วงนอน คลื่นไส้ ท้องผูก เหงื่อแตก และ คัน จึงเป็นทาง เลือกอีกทางของผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง อย่างไรก็ดียานี้ราคาแพงมาก
 
ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดมีฤทธิ์ระงับปวดต่ำจึงใช้บรรเทาอาการปวดที่รุนแรงน้อยจนถึงรุนแรงปานกลาง และเนื่องจากยาเหล่านี้มีฤทธิ์ลดไข้จึงมักใช้กับอาการปวดที่มีอาการไข้
ร่วมด้วย เช่นอาการปวดศีรษะจากไข้หวัดหรือการติดเชื้อ นอกจากนั้นยาประเภทนี้ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบจึงระงับปวดที่เกิดร่วมกับการอักเสบ เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ
อักเสบ อาการปวดฟัน ได้ดี ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ยาแก้ปวด-ลดไข้-ต้านการอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า NSAID กับยาแก้ปวด-ลดไข้ แต่ละกลุ่มจะมี
ข้อดีข้อเสียต่างกัน

ผลของยาแก้ปวด-ลดไข้-ต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID

ยาที่เป็นแม่แบบคือ แอสไพริน ซึ่งรู้จักกันดี และใช้กันมานาน
• NSAID ทุกตัวมีผลเหมือนกับแอสไพริน แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
   i.ระงับปวด โดยออกฤทธิ์ทั้งที่ระบบประสาทส่วนกลางและบริเวณที่เกิดความเจ็บปวด
   ii.ลดไข้ ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองปรับการควบคุมอุณหภูมิให้ลดต่ำลง และขยายหลอดเลือดส่วนปลายทำให้ร่างกายถ่ายความร้อนออกได้
มาก จึงทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง
   iii.ต้านการอักเสบ ออกฤทธิ์ที่บริเวณที่เกิดการอักเสบ ทำให้อาการอักเสบไม่ลุกลามมากขึ้น
• ชะลอการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกร็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้น้อยลง จึงใช้แอสไพรินขนาดต่ำป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอุดตายจากลิ่มเลือดในผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง
• NSAID มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์สารประเภทพรอสตาแกลนดินซึ่งเป็นตัวกระตุ้นความเจ็บปวด อาการไข้ และการอักเสบ และเป็นกลไกที่มีทั้งข้อดี
และข้อเสีย
• ผลข้างเคียงหลักคือระคายเคืองทางเดินอาหารและลดความต้านทานของผนังกระเพาะและลำไส้ ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออก และเป็นแผลในทางเดินอาหาร
ส่วนมากเกิดกับการใช้ขนาดสูงเป็นเวลานาน ลดลงได้บ้างด้วยการปรับรูปแบบยาเตรียมเป็นชนิดเคลือบพิเศษ ควบคุมความเป็นกรด หรือรับประทานพร้อมอาหารหรือ
หลังอาหารทันที ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในทางเดินอาหารอยู่แล้ว
• ผลพิษของแอสไพรินทำให้เกิดอาการหูมีเสียงกริ่ง ไม่ได้ยินเสียง วิงเวียน
• การใช้ยาเกินขนาดทำให้อาเจียนอย่างหนัก หายใจถี่แรง ต้องแก้ไขโดยการล้างท้องและรักษาประคับประคองตามอาการ
• แย่งยาอื่นจับกับโปรตีนในเลือด ทำให้ระดับยานั้นในเลือดสูงขึ้นจนอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ได้
• อาจมีผลพิษต่อไตและตับในระยะยาว
• ข้อแตกต่างระหว่าง NSAID ที่สำคัญคือระยะเวลาการออกฤทธิ์ ซึ่งมีผลต่อการใช้ยา
Aspirin (วันละ 3 ครั้ง) Sulindac (วันละ 2 ครั้ง)
Diclofenac (วันละ 4 ครั้ง) Naproxen (วันละ 2 ครั้ง)
Ibuprofen (วันละ 4 ครั้ง)  Nabumetone (วันละ 1 ครั้ง)
Indomethacin (วันละ 3 ครั้ง) Piroxicam (วันละ 1 ครั้ง)

ผลของยาแก้ปวด-ลดไข้พาราเซตามอล

ยาแก้ปวด-ลดไข้พาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้กันมาก สำหรับอาการปวดทั่วไป เนื่องจากราคาถูก และมีผลไม่พึงประสงค์น้อย 
• มีฤทธิ์ระงับปวดและลดไข้โดยออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางโดยกลไกไม่ทราบชัด
• ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
• มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อย
• ใช้ระงับอาการปวดศีรษะทั่วไป โดยเฉพาะในกรณีที่แอสไพรินระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
• ขนาดที่ใช้คือ 500-1,000 มก. ทุก 4-6 ชั่วโมง สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า12 ขวบให้ใช้ขนาดครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ดีสำหรับอาการปวดทั่วไปขอแนะนำ
ให้เริ่มใช้ที่ขนาด 500 มก. ทุก 4 ชั่วโมง เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด
• การใช้ยาขนาดสูงและ/หรือติดต่อกันระยะยาวอาจทำให้เกิดผลพิษต่อตับอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยทำให้เซลตับตาย ทั้งนี้โดยปกติพาราเซตามอลส่วนหนึ่งถูกตับเปลี่ยนเป็นสาร
พิษแต่ตับเองใช้สารป้องกันตัวเองที่มีอยู่กำจัดสารพิษดังกล่าวได้ทัน อย่างไรก็ดีเมื่อใช้พาราเซตามอลไปนานๆ สารป้องกันนั้นถูกใช้จนหมดจึงไม่สามารถกำจัดสารพิษได้
ผลก็คือเซลตับซึ่งสร้างสารพิษนั้นเองถูกสารพิษทำลายจนเกิดภาวะตับเสื่อมสภาพดังนั้นการใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลจึงต้องระวังเรื่องผลพิษที่รุนแรงต่อตับจากการใช้
ต่อเนื่อง โดยไม่ควรรับประทานยานี้ในขนาดสูงมากกว่าครั้งละ 1,000 มก. (2 เม็ด)หรือเกินวันละ 6,000 มก. (12 เม็ด) และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันมากกว่า 7 วัน และไม่ควร
ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบ ดีซ่าน ตับแข็ง เป็นต้น
• ใช้ระยะสั้นเป็นยาลดไข้ในเด็ก
• มักใช้สลับกับยาแก้ปวด NSAID เมื่อต้องใช้ยาแก้ปวดระยะยาว ซึ่งตัวที่นิยมใช้สลับกับพาราเซตามอลก็คือไอบูโปรเฟนหรือแอสไพรินชนิดเคลือบพิเศษ
• ไม่ควรใช้ระงับปวดเรื้อรังร่วมกับยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด โดยเฉพาะในรายผู้ป่วยสูงอายุ
• ควรตรวจการทำงานของตับเมื่อต้องใช้ระยะยาว

ไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวดไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวดไมเคิล แจ็คสัน...บทเรียนจากยาแก้ปวด

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1124

อัพเดทล่าสุด