https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ท่านเคยปวดหัว...โดยไม่รู้สาเหตุหรือไม่ MUSLIMTHAIPOST

 

ท่านเคยปวดหัว...โดยไม่รู้สาเหตุหรือไม่


635 ผู้ชม


โรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง   


ภาพจาก...women.kapook.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้         สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                       ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

       
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11                         เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                     การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -   มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                          ของตนเอง
เนื้อหาสาระ

โรคไมเกรน

      เป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง มักเป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการ 
1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอยแต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือสลับข้างกันได้
2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากมักจะปวดตุ๊บ ๆ นานครั้งหนึ่งเกิน 20 นาที ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อ ๆ สลับกับปวดตุ๊บ ๆ ในสมองก็ได้
3. อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้
4. อาการนำจะเป็นอาการทางสายตาโดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวก่อนปวด

สาเหตุ 
1. สาเหตุที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ความเครียด สาเหตุเหล่านี้ไม่สามารถจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
2. สาเหตุที่มาจากภายนอกร่างกาย สามารถที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดโรคขึ้น ได้แก่ การอดนอน หรือการทำงานหนักมากเกินไป ขาดการพักผ่อน หรือมีความเครียด การดื่มเหล้า กาแฟ ยาคุมกำเนิด (บางคนเป็น และเมื่อหยุดยาคุม ก็จะลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้) อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมอง เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดในสมองหดตัว และขยายตัว ทำให้มีอาการปวดหัวได้ อาหารเหล่านี้ ได้แก่ กล้วยหอม ช็อคโคแลต เนยแข็ง เบียร์ ไวน์

คำแนะนำ 
1. การนอนไม่พอ การอดนอน
2. การดื่มสุรามากเกินไป จะทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้น แต่ถ้าปวดศีรษะแบบตึงเครียด อาการปวดจะบรรเทาลงด้วยการดื่มเหล้า
3. การตรากตรำทำงานมากเกินไป ทำให้ต้องอดอาหารบางมื้อ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ อาการปวดศีรษะไมเกรนจะเป็นได้ง่ายขึ้น
4. การตื่นเต้นมาก ๆ โดยเฉพาะในเด็กที่ไปงานเลี้ยง
5. การเล่นกีฬาที่หักโหมจนเหนื่อยอ่อน แต่ถ้าเล่นกีฬาเบา ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
6. การมองแสงที่มีความจ้ามาก ๆ เช่น แสงอาทิตย์ที่รุนแรง แสงที่กระพริบมาก ๆ เช่น ไฟนีออนที่เสีย หรือแสงระยิบระยับ ในดิสโก้เทค
7. เสียงดัง
8. กลิ่นน้ำหอมบางชนิด กลิ่นซิการ์ กลิ่นสารเคมีบางอย่าง กลิ่นท่อไอเสียรถยนต์
9. อาหารบางชนิด
10. อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด
11. ในระหว่างที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรจะนอนพักผ่อนในห้องที่เงียบ รับประทานยาแก้ปวดธรรมดา ถ้ามียานอนหลับก็รับประทานยาให้ หลับ หรือกดเส้นเลือดที่กำลังเต้นอยู่ที่ขมับข้างที่ปวดศีรษะ ก็จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ หรืออาจจะใช้น้ำแข็งประคบ 

ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคไมเกรนมีผลดี ผลเสียอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้หญิงกับผู้ชายอัตราการเป็นโรคไมเกรนเพศไหนมากที่สุด
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรคไมเกรนจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
ไมเกรน
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนของเลือด
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการออกกำลังกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : 
www.ideaforlife.net

อัพเดทล่าสุด