เชื่อแน่ว่า..แต่ละวันท่านต้องการออกกำลังกาย..แต่ไม่มีเวลาใช่ไหม MUSLIMTHAIPOST

 

เชื่อแน่ว่า..แต่ละวันท่านต้องการออกกำลังกาย..แต่ไม่มีเวลาใช่ไหม


556 ผู้ชม


เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังมีประโยชน์สำหรับสุขภาพและป้องกันโรคได้หลายชนิด จากหลักฐานการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพทั่วไปดีขึ้น   


ภาพจาก..nenfe.nfe.go.th

กลุ่มสาระการเรียนรู้                    สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
                         สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
                         มาตรฐาน พ 3.1:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
                         มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  
                                                 อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณ
                                                 ในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
      1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการออกกำลังกาย
      2.สามารถตระหนักและปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวการออกกำลังกาย

เนื้อหาสาระ
        การออกกำลังกายยังทำให้ปอดและหัวใจดีขึ้น( Cardiorespiratory fitness) ลดการเกิดโรคหัวใจและลดความดันโลหิต

การไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโหิตสูง

       จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มที่ใช้ชีวิตสบายๆไม่ได้ออกกำลังกายมีระดับความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก

การออกกำลังกายจะช่วยลดความดันโลหิต

       จากการรวบรวมข้อมูลของการศึกษาที่ผ่านมาสรุปได้ว่า การออกกำลังกายชนิดใช้ออกซิเจน (Aerobic Exercise) จะสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ทั้งผู้ที่มีความดันปกติและความดันโลหิตสูง โดยผู้ที่มีระดับความดันโลหิตปกติจะลดได้ 2/3 มิลิเมตรปรอท ส่วนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะลดได้10/8 มิลิเมตรปรอท

การออกกำลังกายแบบไหนถึงจะดี

       การความหนักของการออกกำลังกายสามารถประเมินได้หลายวิธี โดยคำแนะนำให้ออกกำลังกายปานกลาง เช่นการเดินจะลดระดับความดันโลหิตได้ดีพอๆกับการออกกำลังกายชนิดหนักเช่นการ วิ่ง แต่การเปรียบเทียบชัดเจนทำได้ยาก นอกจากนั้นการศึกษาใหม่พบว่าการออกกำลังกายโดยการใช้แรงในชนิดประจำวัน เช่นการขึ้นบันไดแทนลิฟท์หรือการเดินไปตลาด ทำงานบ้าน ฯลฯ จะสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ดีเหมือนกัน แต่ผู้ที่ออกกำลังกายจะมีปอดและหัวใจแข็งแรงกว่า

คำแนะนำสำหรับการออกกำลังกายเพื่อลดความดันโลหิต

       สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ต้องใช้ยา หรือผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่ความดันโลหิตสูงในระยะแรก การออกกำลังกายจะเป็นการรักษาที่ต้องทำทุกคน โดยออกกำลังตามตารางข้างล่าง

วิธีการออกกำลังกาย การออกแบบ aerobic exercise มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
ความถี่ของการออกกำลังกาย 3-5วัน/สัปดาห์
ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย 20-60 นาที
ความหนักของการออกกำลังกาย อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60%-90%ของอัตราเต้นเป้าหมาย

วิธีการออกกำลังกาย

       สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่อแพทย์แนะนำให้ท่านได้ออกกำลังกาย ท่านจะมีข้อแก้ตัวร้อยแปดพันเก้า เช่นไม่มีเวลา ปวดเข่า เพลียย ต้องเลี่ยงหลาน ออกแล้วเหนื่อย เหล่านี้เป็นข้อแก้ตัวทั้งนั้น หากท่านคิดว่าทำได้ ท่านก็จะทำได้ หากเอาแต่แก้ตัว เมื่อไรสุขภาพท่านจะดีขึ้น หลายท่านเริ่มต้นออกกำลังกายโดยการทำงานบ้านเพิ่มขึ้น หลายคนมีกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลินเพิ่มเช่นการเต้นรำ หลายท่านใช้วิธีเดินแทนการขึ้นรถหรือลงรถก่อนถึงที่ทำงานเพื่อเดิน หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สักระยะหนึ่งจึงเริ่มออกกำลังกาย ตามตารางข้างล่าง

ตัวอย่างการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3 วัน

 

อบอุ่นร่างกาย

อัตราเต้นหัวใจเป้าหมาย

อบอุ่นร่างกาย

เวลาทีออกกำลังกาย

สัปดาห์ที่ 1

เดินธรรมดา 5 นาที

เดินเร็วๆ 5 นาที

เดินธรรมดา 5 นาที

15นาที

สัปดาห์ที่ 2

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 7 นาที

เดิน 5 นาที

17 นาที

สัปดาห์ที่ 3

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 9 นาที

เดิน 5 นาที

19 นาที

สัปดาห์ที่ 4

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 11 นาที

เดิน 5 นาที

21 นาที

สัปดาห์ที่ 5

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 13 นาที

เดิน 5 นาที

23 นาที

สัปดาห์ที่ 6

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 15 นาที

เดิน 5 นาที

25 นาที

สัปดาห์ที่ 7

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 18 นาที

เดิน 5 นาที

28 นาที

สัปดาห์ที่ 8

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 20นาที

เดิน 5 นาที

30 นาที

สัปดาห์ที่ 9

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 23 นาที

เดิน 5 นาที

33 นาที

สัปดาห์ที่ 10

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 26 นาที

เดิน 5 นาที

36 นาที

สัปดาห์ที่ 11

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 28 นาที

เดิน 5 นาที

38 นาที

สัปดาห์ที่ 12

เดิน 5 นาที

เดินเร็วๆ 30 นาที

เดิน 5 นาที

40 นาที

หลังจากนั้นพยายามออกกำลังเพิ่มจนการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสูง ค่อยเพิ่มระยะเลา 30-60นาที

ข้อที่สำคัญสำหรับการออกกำลังกายคือ ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกแต่ละครั้งต้องออกอย่างต่อเนื่อง 
ประเด็นคำถาม
        1. การสร้างเสริมสุขภาพทางกายมีผลดีอย่างไร
        2. นักเรียนคิดว่าการออกกำลังกายให้ประโยชน์ต่อร่างกายคนเราอย่างไร
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าการออกกำลังกายแบบไหนถึงจะดี
        
กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
        2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับท่าการออกำลังกาย
          
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
        3. คณิตศาสตร์   การคำนวณเวลาในการออกกำลังกาย
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)  อาหารและโภชนาการสนองต่อการอออกำลังกาย

แหล่งข้อมูลที่มา : www.siamhealth.net
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1322

อัพเดทล่าสุด