การขี่จักรยาน...เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค MUSLIMTHAIPOST

 

การขี่จักรยาน...เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค


654 ผู้ชม


การออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งนั้น..มีวิธีการขี่จักรยานเพื่อสร้างสุขภาพให้กับตนเองและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วย   


ภาพจาก...thaimtb.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้                    สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
                         สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
                         มาตรฐาน พ 3.1:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
                         มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ 
                                                 อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณ
                                                 ในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง

      1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการขี่จักรยาน
      2.สามารถตระหนักและปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวกีฬาจักรยาน

เนื้อหาสาระ

การขี่จักรยาน

       การขี่จักยานอยู่กับที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลาย เนื่องจากสามารถออกกำลังกายได้ทุกสภาพอากาศ และสามารถปรับระดับความฝืดหรือความต้านทานได้ตามสภาพของผู้ที่ออกกำลังกาย การออกกำลังแต่ละครั้งควรใช้เวลาในการออกประมาณ 40 นาที ในการฝึกช่วงแรกควรจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำวิธีการขี่จักรยานอย่างถูกต้อง เครื่องที่ทันสมัยจะมีโปรแกรมเพื่อความบันเทิงเหมือนกับเราขี่ขึ้นเนินเขาหรือผ่านทุ่งหญ้า นอกจากนั้นยังสามารถตรวจวัดขีพขจรของผู้ที่ขี่จักรยาน เพื่อติดตามว่าชีพขจรเต้นตามเป้าหมายหรือยัง โดยการปรับความเร็วหรือความฝืด การออกกำลังโดยการขี่จักยานก็เหมือนการออกกำลังกายชนิดอื่นๆที่ต้องมีการอบอุ่นร่างกายก่อน และมีการยืดเส้นเอ็น

ใครที่ที่สามารถออกกำลังโดยการขี่จักรยานและใช้พลังงานเท่าใด

      การออกกำลังกายโดยการขี่จักรยานสามารถกระทำได้ทุกอายุ และทุกสภาพความแข็งแรง เป็นการออกกำำลังที่ไม่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น ปกติจะใช้พลังงานประมาณ 500 กิโลแคลรอรี่ต่อ 45 นาที

ข้อดีของการขี่จักรยาน

  • ทำให้หัวใจแข็งแรง
  • ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • สามารถออกกำลังกายได้ทั้งปี ทุกสภาพอากาศ
  • สามารถออกกำลังกายได้โดยลำพังคนเดียว
  • การขี่จักรไม่ต้องใช้ทักษะ
ข้อเสียของการออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน
  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพงเพราะต้องสมัครเป็นสมาชิก
  • หากคุณจะซื้อไว้ใช้เอง ต้องเรียนรู้วิธีการขี่อย่างถูกต้อง และลองขี่อย่างต่อเนื่องระยะหนึ่งจนแน่ใจว่าจะออกอย่างต่อเนื่อง
  • บางคนอาจจะเจ็บก้นเนื่องจากขนาดก้นและเบาะรองนั่งไม่สมดุล
ข้อแนะนำในการขี่จักยาน
  1. ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
  2. ก่อนจะขี่จักรยานต้องเรียนรู้อุปกรณ์และวิธีการขี่
  3. ปรับเบาะ มือบังคับให้ได้ระดับเหมาะสม
  • ความสูงของเบาะนั่งต้องเหมาะสมคือเมื่อนั่งบนเบาะ เท้าที่วางบนบันไดที่ต่ำเข่าจะงอเล็กน้อยโดยทำมุมประมาณ 5 องศา หากตั้งเบาะต่ำไปอาจจะทำให้ปวดเข่าเมื่อขี่จักรยาน
  • ต้องตรวจข้อล็อกต่างๆว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและแน่หนา
  • วิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่งคือให้วางส้นเท่าบนบันไดขั้นต่ำสุก เข่าจะเหยียดตรงพอดี
  • ความสูงของมือจับปรับให้พอดี โดยปรับให้สูงแล้วค่อยเลื่อนต่ำลงมา ตำแหน่งที่เหมาะสมคือข้อศอกงอเล็กน้อย ระยะห่างพอดี และจับสบายไม่ปวดหลัง การปรับนี้ผู้ขี่ต้องปรับให้พอดีกับตัวเอง
  • การเลือกรองเท้า ไม่ควรใช้รองเท้าสำหรับวิ่งหรือรองเท้าสำหรับการเต้น aerobic เพราะพื้นรองเท้านุ่มเกินไป พื้รรองเท้าสำหรับขี่จักยานควรจะแข็งพอสมควรเพื่อจะได้ขี่จักยานอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. การเตรียมอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น
  • ผ้าเช็ดเหงื่อสำหรับเช็ดโดยเฉพาะมือจับเพราะอาจจะทำให้ลื่น
  • ดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำประมาณครึ่งลิตรระหว่างการออกกำลังกาย 40 นาที
  • ดื่มน้ำอีก 1 แก้วหลังการออกกำลังกาย
  1. ก่อนออกกำลังกายให้อบอุ่นร่างกายโดยการขี่จักรยานแบบไม่มีความฝืด 5-10 นาทีหลังจากนั้นจึงเพิ่มความฝืดและเพิ่มความเร็วโดยที่ไม่เหนื่อยหรือไม่ปวดกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงควรติดตามการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ที่เริ่มขี่ควรจะขี่ด้วยความเร็วไม่มากและความฝืดไม่มาก เมื่อร่างกายแข็งแรงจึงเพิ่มความฝืดและความเร็ว
  2. หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เจ็บหน้าอก ให้หยุดขี่ และบอกคนใกล้ชิดหรือผู้คุม

ประเด็นคำถาม
        1. การสร้างเสริมสุขภาพทางกายมีผลดีอย่างไร
        2. นักเรียนคิดว่าการออกกำลังกายด้วยขี่จักรยานให้ประโยชน์ต่อร่างกายคนเราอย่างไร
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าการออกกำลังกายแบบธรรมดากับเล่นกีฬาอย่างไหนถึงจะดี..
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
        2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับ การออกำลังกายด้วยกีฬาจักรยาน
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
        3. คณิตศาสตร์   การคำนวณเวลาในการออกกำลังกาย
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)  อาหารและโภชนาการสนองต่อการอออกำลังกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด