https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทักษะตะกร้อตอนที่ 3 MUSLIMTHAIPOST

 

ทักษะตะกร้อตอนที่ 3


983 ผู้ชม


ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่นกันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย   

      หวายคู่ไทยสยบคู่ปรับกวาดทองตะกร้อคิงส์คัพ นักหวดลูกพลาสติกไทยระเบิดฟอร์มสนั่นเวียงพิงค์ คู่ชายเชือด "เสือเหลือง" มาเลเซีย 2 เซตรวด ป้องแชมป์สำเร็จ เช่นเดียวกับ คู่สาว ขยี้คู่ปรับ เวียดนาม 2-0 กระชากเหรียญทองที่สอง ผ่านสองวันฟันไปแล้ว 4 ทอง ศึกตะกร้อ "คิงส์ คัพ" ครั้งที่ 25 ที่ เชียงใหม่

ทักษะตะกร้อตอนที่ 3


                                    ที่มา: https://www.siamsport.co.th/Sport_Other/100728_186.html

กลุ่มสาระการเรียนรู้   สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
สาระที่ ๓ :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
       1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นตะกร้อวงได้
       2.เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ทักษะการเล่นตะกร้อวง
1.ตะกร้อวงเล็ก

        ตะก้อวงนับเป็นการเริ่มแรกของรูปแบบการเล่นตะกร้อ ซึ่งอาจใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียว เตะหรือเดาะลูก เล่นให้ลูกลอยอยู่ในอากาศและใช้อวัยวะหลายๆ ส่วนที่แตกต่างกันเตะหรือเดาะลูก โดยใช้ทั้งเท้า เข่า ศอก ศีรษะ ต่อมาอาจมีผู้เล่นเพิ่มเป็น ๒ คน มีการโยนให้ผู้ยืนอยู่ตรงข้ามเตะโต้กันเป็นเวลานานๆ โดยทั่วไปแล้วผู้เตะมักจะเตะลูกที่ตนถนัด เช่น ลูกแป ลูกหลังเท้า ลูกโหม่ง เป็นต้น การเล่นตะกร้อวงเล็กนั้นจะเล่นในบริเวณที่แคบๆ เช่น บนโต๊ะ หรือสนามซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ – ๓ เมตร

ทักษะตะกร้อตอนที่ 3

                                                                    ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding

2. ตะกร้อวงใหญ่ 
         ลักษณะและรูปแบบการเล่นเหมือนกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก ต่างกันตรงที่สถานที่เล่นและจำนวนผู้เล่น กล่าวคือ ตะกร้อวงใหญ่จะเล่นในสนามเรียบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘ – ๑๔ เมตร ซึ่งอยู่กับผู้เล่นว่าจะมีจำนวนเท่าใด โดยปกแล้วจะมีผู้เล่นตั้งแต่ ๕ – ๘ คน ท่าทางการเล่นนั้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก แต่ตะกร้อวงใหญ่ต้องออกแรงเตะลูกหรือส่งลูกมากกว่า มิฉะนั้นตะกร้อจะไม่ถึงผู้รับ ผู้เล่นต้องระมัดระวังจังหวะการเล่น ท่าทางต่างๆ ตลอดจนน้ำหนักหรือแรงเหวี่ยงให้เหมาะสม

ทักษะตะกร้อตอนที่ 3

ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding

ทักษะตะกร้อตอนที่ 3

                                      ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding

คุณสมบัติของนักกีฬา
            การเล่นกีฬาทุกชนิด เมื่อผู้เล่นได้ศึกษาเล่าเรียน ฝึกฝนทักษะต่างๆ จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์ทุกอย่าง บางคนเล่นได้เก่งจนเป็นนักกีฬาตะกร้อได้ แต่จะให้เก่งดีเด่นไปทุกคนก็หาไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยที่เอาจริงเอาจังหรือไม่ บางคนเล่นมาตั้งแต่เด็กจนแก่ก็เอาดีไม่ได้ บางคนลงเล่นไม่กี่ปีก็เป็นดาวเด่นขึ้นมา ที่เรียกกันว่ามีพรสวรรค์รวมทั้งพีพรแสวง คือได้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ฉะนั้นคุณสมบัติของนักกีฬาโดยทั่วไป ควรมีดังนี้
          ๑. เป็นคนตรงต่อเวลา
          ๒. ไม่เป็นคนที่อวดดื้อถือดี
          ๓. ไม่เป็นคนที่สังคมรังเกียจ
          ๔ ไม่เป็นคนที่ติดสุราหรือยาเสพติด
          ๕.เชื่อฟังการบังคับบัญชาของผู้ฝึกสอน
          ๖.เป็นคนที่เคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่น
          ๗.เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรและเอาใจใส่
          ๘.เป็นคนที่มีความประพฤติแบะมารยาทเรียบร้อย
          ๙.เป็นคนที่มีขีดความสามารถในกีฬานั้น ๆ สูงพอ
          ๑๐.เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบคนอื่นๆ
          ๑๑.เป็นคนที่ไม่ก่อกวนและก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหมู่คณะ

            ทักษะตะกร้อตอนที่ 3                                                         ทักษะตะกร้อตอนที่ 3  จงอธิบายการเล่นตะกร้อวงมาให้เข้าใจ

ประเด็นคำถาม

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ 
1. สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง การอภิปรายประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อ
2. สาระการเรียนรูวิทยาศาสาตร์ แรงและการเคลื่อนที่

กิจกรรมเสนอแนะ

1.มอบหมายให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศการเล่นตะกร้อวง
2.นักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมที่ห้องสมุดของโรงเรียน

แหล่งที่มา:

1. https://www.siamsport.co.th/Sport_Other/100728_186.html
2. https://203.172.208.244/web/stu01/site2_1/index8.htm
3. https://www.google.co.th/imglanding

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2983

อัพเดทล่าสุด