ทักษะตะกร้อตอนที่ 7 (ตอนจบ) MUSLIMTHAIPOST

 

ทักษะตะกร้อตอนที่ 7 (ตอนจบ)


6,661 ผู้ชม


การสกัดกั้นหรือที่นิยมเรียกกันว่า การบล๊อก เป็นการเล่นของฝ่ายรับ ที่พยายามไม่ให้ลูกตะกร้อจาการรุกหรือการทำของฝ่ายตรงข้าม ข้ามมาลงในสนามของฝ่ายรับ และเพื่อกดดัน การรุกหรือการทำของฝ่ายตรงข้าม   

        ทีมลูกหวายไทยชุดลุยศึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 16 ที่เมืองกวางโจว ประเทศจีน มีหนาว หลัง "โสมขาว" เกาหลีใต้ มีพัฒนาการก้าวหน้า  ตั้งเป้าขอทะลุเข้ารอบชิงชนะเลิศท้าดวลกับไทย และ "เสือเหลือง" มาเลเซีย แต่ "กมล ตันกิมหงษ์" ยังมั่นใจกวาดเรียบ 4 เหรียญทอง ยัน "สืบศักดิ์ ผันสืบ" ติดโผร่วมทีม แม้ความฟิตไม่เต็มร้อย หวังใช้ชื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้
ที่มา: https://www.ryt9.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6)
สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2 : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง 
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการสกัดกั้นได้
2.สามารถอธิบายความสำคัญของการสกัดกั้นได้

          การสกัดกั้นหรือการบล๊อกลูกตะกร้อเป็นทักษะอย่างหนึ่ง    ที่ใช้เล่นในกีฬาเซปักตะกร้อ   เป็นการเล่นของผู้เล่นฝ่ายรับ  ซึ่งมีวิธีการสกัดกั้น ดังนี้   คือ  การสกัดกั้นด้วยขาและลำตัว  การสกัดกั้นด้วยหลังและการสกัดกั้นด้วยศีรษะ  เพื่อ ไม่ให้ลูกตะกร้อจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ข้ามตาข่ายมาลงในแดนของฝ่ายรับได้ หรือเพื่อเพิ่มความกดดันการรุกหรือการทำบริเวณหน้าตาข่าย ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม

       การสกัดกั้นหรือที่นิยมเรียกกันว่า  การบล๊อก   เป็นการเล่นของฝ่ายรับ   ที่พยายามไม่ให้ลูกตะกร้อจาการรุกหรือการทำของฝ่ายตรงข้าม ข้ามมาลงในสนามของฝ่ายรับ   และเพื่อกดดัน การรุกหรือการทำของฝ่ายตรงข้าม   สถาพร  เกษแก้ว  (2543  : 133)  ได้ให้ความหมายของ   การสกัดกั้นหรือการบล๊อกไว้ว่า คือ การตั้งรับที่เกิดหลังจากการรุกด้วยการเสิร์ฟ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามจะรุกกลับทันทีหลังจากการเสิร์ฟแล้ว   อาจจะเป็นการเล่นครั้งที่ 2  หรือครั้งที่ 3    ซึ่งเป็นการรุก    ที่รุนแรงและรวดเร็ว   ยากแก่การตั้งรับแบบธรรมดา

      การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยศีรษะ การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยหลัง การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยลำตัวและขา 
การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยศีรษะ  การสกัดกั้นหรือการบล็อกด้วยศีรษะ  คือ  การกระโดดใช้ศีรษะบริเวณด้านบน     บล๊อกหรือสกัดกั้นจากการรุกของคู่แข่งขัน     มักจะนิยมใช้กับการรุกใกล้ตาข่าย      หรือลูกที่อยู่เหนือตาข่าย     โดยระมัดระวังไม่ให้อวัยวะส่วนของศีรษะยื่นข้ามตาข่าย      ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้  
           1   ยืนตรงหันหน้าเข้าหาตาข่าย    อย่าให้ร่างกายชิดตาข่ายมากเกินไป
           2   ย่อเข่ากระโดดลอยตัวขึ้นตรง ๆ ด้วยเท้าทั้งสองข้าง แขนทั้งสองกางออก     เล็กน้อย  เพื่อการทรงตัว
           3.  ก้มศีรษะ  เก็บใบหน้า  ให้บริเวณด้านบนของศีรษะตั้งเป็นแผงรับการรุกของ   คู่แข่งขัน  โดยไม่ต้องหลับตา
           4  ระวังอย่าให้ศีรษะยื่นข้ามตาข่าย และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกตาข่ายหรือเหยียบเส้นแบ่งกลาง 
              ให้ฝึกเคลื่อนตัวไปทั้งด้านซ้ายและขวา  โดยสไลด์เท้า 2 – 3  ก้าว  แล้วกระโดดขึ้นบล๊อกตลอดแนวของตาข่าย
การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยหลัง

ทักษะตะกร้อตอนที่ 7 (ตอนจบ)

                                           ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?
         การสกัดกั้นหรือการบล๊อกด้วยหลัง    คือ   การกระโดดขึ้นบล๊อกตรง ๆ    หรือ   เอียงตัว   โดยใช้บริเวณส่วนของแผ่นหลังสกัดกั้นการรุกของคู่แข่งขัน  การบล๊อกด้วยหลังนิยมเล่นกัน   2    แบบ    คือ   การขึ้นบล๊อกแบบตัวตรง   และการขึ้นบล็อกแบบตัวเอียง โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
        1    การสกัดกั้นหรือการบล๊อกด้วยหลังแบบตัวตรง
        2   ยืนหันหลังเข้าหาตาข่าย    แต่อย่าให้ชิดตาข่ายมากเกินไป
่        3   กระโดดลอยตัวด้วยเท้าทั้งสองข้างให้แผ่นหลังอยู่สูงเหนือตาข่าย
        4   เก็บแขนทั้งสองข้างให้ดี หรือกางออกด้านข้างเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว
        5    ฝึกเคลื่อนตัวไปทั้งด้ายซ้ายและขวา   โดยสไลด์เท้า   2  – 3   ก้าว   แล้วกระโดดขึ้นบล๊อกตลอดแนวตาข่าย 
การสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยลำตัวและขา

ทักษะตะกร้อตอนที่ 7 (ตอนจบ)

                                               ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?

      การสกัดกั้นหรือการบล๊อกด้วยลำตัวและขา   คือ   การกระโดดใช้อวัยวะของร่างกายส่วนขาและลำตัว  ขึ้นสกัดกั้นหรือบล๊อกลูกตะกร้อ  จากการเล่นลูกตะกร้อบริเวณหน้าตาข่ายของ  ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม  การบล๊อกวิธีนี้นิยมเล่นกันมากที่สุด เพราะสามารถบล๊อกได้ทั้งลูกสูง ลูกต่ำ ระยะใกล้  ระยะไกล    และมีประสิทธิภาพสูง    ขอแนะวิธีการสกัดกั้นหรือบล๊อกด้วยลำตัวและขา ดังนี้
      1 ยืนหันไหล่ข้างที่ตนเองถนัดเข้าหาตาข่าย  เท้าถนัดอยู่ด้านหน้า  เท้าไม่ถนัดอยู่ด้านหลังห่างจากตาข่ายโดยประมาณ คือไม่ชิดตาข่ายหรือห่างตาข่ายมากเกินไป และหันหน้าไปยังฝ่ายตรงข้าม  สายตามองที่ลูกตะกร้อ
      2 เมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกระโดดขึ้นเตะ (ฟาด)  ลูกตะกร้อ ให้ก้าวเท้าไม่ถนัดไปด้านหน้า 1  ก้าว  แล้วใช้เท้าไม่ถนัดกระโดดพร้อมยกขาข้างถนัดและลำตัวขึ้นเหนือตาข่าย  โดยเหยียดลำตัว  ต้นขา และปลายเท้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  แขนข้างถนัดให้แนบชิดกับลำตัว  และงอพับเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง และระมัดระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกตาข่าย หรือล้ำเข้าไปยังฝ่าย ตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นส่วนบนหรือส่วนล่าง หรือเหยียบเส้นกลางสนาม
      3 กลับลงสู่พื้นด้วยเท้าไม่ถนัด พร้อมกางแขนออกเพื่อการทรงตัว 
ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นการสกัดกั้นเป็นอย่างไร
2. การเล่นลูกการสกัดกั้นมีความสำคัญอย่างไร
 

ทักษะตะกร้อตอนที่ 7 (ตอนจบ)

                                                                ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?
                                                                      

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ 
1.ก่อนการเล่นตะกร้อควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down 
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นลูกการสกัดกั้น
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นลูกการสกัดกั้น

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา:  https://www.ryt9.com
2.ที่มา:  
https://www.google.co.th/imglanding

<iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/DAJkeKIfiHE" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3128

อัพเดทล่าสุด