https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นักวิทยาศาสตร์มุสลิม: อับดุสซาลาม (รางวัลโนเบิล ปี 1979). MUSLIMTHAIPOST

 

นักวิทยาศาสตร์มุสลิม: อับดุสซาลาม (รางวัลโนเบิล ปี 1979).


888 ผู้ชม

อับดุส ซาลาม เกิดในปี 1926 ในเมือง ญาง ประเทศปากีสถานท่านมาจากครอบครัวที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและเคร่งครัดในศาสนา บิดาของท่านเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาในอำเภอเกษตรกรรมค่อนข้างยากจนแห่งหนึ่ง


นักวิทยาศาสตร์มุสลิม: อับดุสซาลาม (รางวัลโนเบิล ปี 1979).


อับดุส ซาลาม เกิดในปี 1926 ในเมือง ญาง  ประเทศปากีสถานท่านมาจากครอบครัวที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและเคร่งครัดในศาสนา  บิดาของท่านเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาในอำเภอเกษตรกรรมค่อนข้างยากจนแห่งหนึ่ง  

เมื่อครั้งที่ท่านมีอายุ 14 ปี  สามารถทำคะแนนได้สูงสุดในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปันจาบ  ทุกคนในเมืองต่างก็มาร่วมชื่นชมยินดีกับท่าน  ท่านได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล และจากมหาวิทยาลัยปันจาบเมื่อครั้งที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี  และทำการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในปี 1946 ในปีเดียวกันโดยได้รับรางวัลทุนการศึกษาจากเซนต์จอห์นคอลเลจ เมืองแคมบริจด์  ซึ่งเป็นสถานที่ที่ท่านได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสองสาขาคือ คณิตศาสตร์และสาขาฟิสิกส์ในปี 1949

ปี 1950 ท่านได้รับรางวัลสมิทธ์ไพรซ์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริจด์ จากการที่มีผลการศึกษา ก่อนปริญญาเอก ดีเด่น ในสาขาฟิสิกส์ และท่านได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านฟิสิกส์พื้นฐานต่อที่นั่น วิทยานิพนธ์ของท่านได้รับการตีพิมพ์ในปี 1951  มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพื้นฐานด้านอิเลคโตรไดนามิกส์ ควอนตัม ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ


ท่านได้กลับไปเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยของรัฐบาลในเมืองปันจาบ ในปี 1951 เป็นหัวหน้าฝ่ายคณิตศาสตร์ในปี 1952  จากที่เคยมีความตั้งใจว่าจะกลับมาปากีสถานเพื่อหาโรงเรียนที่จะทำงานวิจัย แต่ก็พบว่ามันเป็นไปไม่ได้เลย ในที่สุดท่านจึงต้องออกไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ   หลายปีต่อมา ท่านได้ก่อตั้งหน่วยงาน
ICTP ที่เมือง Trieste ประเทศอิตาลี  เป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนนักฟิสิกส์รุ่นใหม่  โดยเฉพาะนักฟิสิกส์จากประเทศกำลังพัฒนา ได้ทำงานวิจัยในสาขาที่ตัวเองสนใจ  โดยมีหัวหน้าในแต่สาขาคอยดูแล  ปี1954 ท่านต้องจากปากีสถานอีกครั้งเพื่อไปเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแคมบริจจ์  แต่อย่างไรก็ดี ท่านได้ให้คำปรึกษาและผลักดันเกี่ยวกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์  ท่านเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมธิการหน่วยงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ของปากีสถาน เป็นคณะกรรมาธิการนักวิทยาศาสตร์ปากีสถาน เป็นหัวหน้าจนถึงประธานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ปี 1961 – 1974


ตั้งแต่ปี 1957 เป็นต้นมาท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีฟิสิกส์
 ที่ อิมพีเรียลคอลเลจ ณ.กรุงลอนดอน กระทั้งปี 1964 ท่านได้พ่วงตำแหน่งผู้อำนวยการ ของสถาบัน ICTP  Trieste อีกตำแหน่ง

ท่านทำงานวิจัยด้านทฤษฎีฟิสิกส์อนุภาค มามากกว่า 40 ปี  เป็นทั้งผู้ริเริ่มและผู้ร่วมวิจัยให้กับการพัฒนาด้านต่างๆในสาขาวิชานี้ เมื่อ 30 ปีก่อนท่านได้ใช้ชื่อเสียงของสถาบันการศีกษาเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับการทำกิจกรรม ในการมีส่วนร่วมผลักดันกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ในการร่วมงานด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ  ท่านมีตำแหน่งในหน่วยงานสหประชาชาติในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประเทศกำลังพัฒนา

โปรเฟสเซอร์ ซาลามสามารถจัดการกับงานที่มีอยู่อย่างมากมายได้อย่างน่าอัศจรรย์  ท่านแทบจะไม่มีเวลาสำหรับการพักผ่อนส่วนตัว ท่านทุ่มเวลาให้กับการทำงาน กับพบปะแก้ปัญหามากมาย ให้กับทีมงานที่ศูนย์วิจัย   ตลอดช่วงเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ด้านได้พยายามบริหารงานที่ ICTP ให้บรรลุตามเป้าหมาย ด้วยการบ่มเพาะ  ฝึกอบรม และวิจัย เกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านทฤษฎีฟิสิกส์อนุภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เป็นไปตามความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา   ท่านช่างมีแรงบันดาลใจอย่างมากมายในการทุ่มเทให้กับการทำงาน จนยากที่จะหาผู้ใดเปรียบได้   เจ้าหน้าที่หลายคนต่างก็สมัครใจที่จะทำงานหนักร่วมกับท่านอย่างเต็มใจ   ท่านได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก ทบวงพลังงานปรมาณูเพื่อสันติระหว่างประเทศ (International Atomic for Peace , IAEA) รายได้จากรางวัลที่ได้ทั้งหมดท่านใช่เป็นทุนให้กับนักฟิสิกส์ปากีสถาน มาทำวิจัยที่ ICTP และรายได้จากรางวัลโนเบิลที่ท่านได้รับ ท่านได้ใช้มันเป็นรางวัลให้กับนักฟิสิกส์จากประเทศกำลังพัฒนา   ท่านไม่ได้นำเงินรางวัลที่ได้มาใช้ส่วนตัวเลยแม้แต่น้อย

เป็นที่ทราบกันว่า โปรเฟสเซอร์ อับดุส ซาลาม เป็นมุสลิมผู้เคร่งครัดในศาสนา  ท่านเป็นผู้ซึ่งไม่ได้แยกส่วนใดของชีวิตออกจากศาสนา เลย  ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการงาน หรือชีวิตครอบครัว ครั้งหนึ่งท่านเคยเขียนไว้ว่า “อัลกุรอาน บอกให้เรารู้ถึงกฎการสร้างของอัลเลาะห์ แต่อย่างไรก็ดี ทำให้ในยุคของเราได้เห็นถึงบางส่วนจากการสร้างอย่างสมบูรณ์ของพระองค์  นำมาสู่การขอบคุณ ด้วยหัวใจแห่งการน้อมนอบยอมจำนนต่อพระองค์”

ท่านได้ถึงกลับไปหาอัลเลาะห์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1996

เขียนโดย:  มาเรียม  ลือวิส ,ทบวงพลังงานปรมาณูเพื่อสันติระหว่างประเทศ   กรุงเวียนนา
แปลโดย:  นาซิดาแฆ
ที่มา : https://nobelprize.org

อัพเดทล่าสุด