https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาพพจน์ MUSLIMTHAIPOST

 

ภาพพจน์


1,271 ผู้ชม


ภาพพจน์ คือกลวิธีที่ผู้แต่งใช้เรียบเรียงถ้อยคำให้มีความไพเราะ สละสลวย สัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความกระทบใจ ความรู้สึกหรือจินตนาการ   

โวหารภาพพจน์                    
ภาพพจน์

    ประเด็นจากข่าว  
                                                                       ตะลึง!แม่ลูก2วัย41สวยปิ๊งหุ่นเป๊ะ
            17 ส.ค. 55 เชื่อเถอะว่าผู้หญิงทุกคนใคร ๆ ก็อยากจะดูอ่อนเยาว์เด็กกว่าวัยไปให้นานเท่านาน และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ลูกสองชาวไต้หวันคนนี้ช่างน่าอิจฉาเสียจริง ๆ เพราะด้วยวัย 41 ปี จาง ทิงเสวี่ยน ยังดูสวยสะพรั่งอย่างกับสาวอายุ 20 ต้น ๆ เท่านั้นเอง
          ส่วนเคล็ดลับความสวยใสหุ่นดีราวกับสาวอายุ 20 ต้น ๆ ของคุณแม่จาง ชาวไต้หวันคนนี้ คือการเน้นรับประทานผลไม้ที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายทุกวัน ทั้งนี้ เธอถึงกับถูกขนานนามว่าเป็น เทพีฟิตเนส เลยทีเดียว 
                                         ที่มาของภาพ https://www.komchadluek.net/detail/20120817/137840

เกริ่นนำ

      การใช้คำเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพของสิ่งที่กล่าวถึงช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นซึ่งเรียกว่า "ภาพพจน์"


เนื้อหาสำหรับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓

ภาพพจน์

                 ภาพพจน์ คือกลวิธีที่ผู้แต่งใช้เรียบเรียงถ้อยคำให้มีความไพเราะ สละสลวย สัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความกระทบใจ ความรู้สึกหรือจินตนาการ

ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/fantastic/2008/01/27/entry-1

        ๑. การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเปรียบเทียบให้เห็น เช่น  เสมือน  เหมือน  เฉก  เช่น  เพียง  เพี้ยง  ราว  กล  ดั่ง  ดั่ง  ดุจ  ประดุจ  ต่าง  ภาพพจน์นี้เรียกว่า อุปมา
เช่น
                         “ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ   ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า”  (รามเกียรติ์)
                        “พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต              ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
                     ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง                      อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”(พระอภัยมณี)

ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1

         ๒. การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งมากจนเกือบเป็นสิ่งเดียวกัน มักมีคำว่า  เป็น  คือ  เท่า  ปรากฎอยู่  ภาพพจน์นี้เรียกว่า  อุปลักษณ์
เช่น
                         “ความรักเป็นยาพิษชนิดหนึ่ง                      เป็นน้ำผึ้งจากแดนอันแสนหวาน
                    เป็นความสุขเป็นทุกข์ท้อทรมาน                     เป็นทางผ่านของใจใครบางคน” (มุทิตา)
                        “ลูกคือดวงใจของพ่อแม่                              แม่เป็นมิตรแท้ของลูกนั่น”


         ๓. การสมมุติสิ่งต่าง ๆ (ที่ไม่ใช่มนุษย์) มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์   ภาพพจน์นี้เรียกว่า บุคคลวัตหรือบุคคลสมมุติ
เช่น
                      “เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า               เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลังวันใหม่
                   เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย            เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน” (วารีดุริยางค์)

ภาพพจน์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&mont


       ๔. การกล่าวเกินจริง เพื่อให้ข้อความนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น ภาพพจน์นี้เรียกว่า อติพจน์
เช่น
                     “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร                         ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                 แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร                                   ขอพบพานพิศวาสมิคลาดคลา”  (พระอภัยมณี)
        ๕. การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  ที่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน เช่นดอกไม้แทนผู้หญิง เพราะมี
ลักษณะร่วมกันคือความสวยงาม ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัญลักษณ์
เช่น
                   “เจ้าดอกเอ๋ยดอกขจรอาวรณ์ถวิล                นกขมิ้นเหลืองอ่อนจะนอนไหน
                เขาวางขลุ่ยข่มน้ำตาว้าเหว่ใจ                           ตอบไม่ได้ดอกหนาข้าคนจร”(เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1


        ๖. การใช้คำให้กระทบความรู้สึกโดยการเลียนเสียงธรรมชาติ    ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัทพจน์
  เช่น
                    “ตุบตับฉับฉาดฉะ                                          ทำเงอะงะมิใคร่สู้ 
                  ยอมเขาก็ย่อมรู้                                                 ความพ่ายแพ้จักมาเยือน”
        ๗.  กลวิธีการแต่งที่กวีสรรหามาเพื่อให้บทประพันธ์มีความเด่นเป็นพิเศษ     ภาพพจน์นี้เรียกว่า การเล่นคำ
  เช่น
                  “หนึ่งในหล้าหนึ่งเดียวหนึ่งองค์นี้                   หนึ่งผู้มีบุญญามหาศาล
                 หนึ่งในใจประชามาเนิ่นนาน                              หนึ่งนั้นองค์ภูบาลภูมิพล”

ภาพพจน์

https://www.lesla.com/board/gen.php?id=19334&mode_id=4


ประเด็นคำถาม
นักเรียนเข้าไปตอบคำถามจากประเด็นคำถาม     คลิกที่นี่   
คำตอบข้อที่ ๑..........
คำตอบข้อที่ ๒..........
คำตอบข้อที่ ๓..........
คำตอบข้อที่ ๔..........
คำตอบข้อที่ ๕..........

กิจกรรมเสนอแนะ
๑.   อ่านหนังสือเพิ่มเติมหาข้อความที่ปรากฎโวหารประเภทต่าง ๆ

บูรณาการ
ศิลปะ:  การแสดงหรือทัศนศิลป์  


ที่มา


https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://news.sanook.com/1053529
https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://www.praphansarn.com/new/forum/forum_posts.asp?TID=13225&get=last
https://www.kroobannok.com/blog/7424
https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&month=04-11-2009&
https://www.komchadluek.net/detail/20120817/137840
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4786

อัพเดทล่าสุด