https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คิดวิเคราะห์เจาะด้วยเทคนิค 5E MUSLIMTHAIPOST

 

คิดวิเคราะห์เจาะด้วยเทคนิค 5E


933 ผู้ชม


ขออัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.....   

                 เนื้อเพลงนี้ ทรงนิพนธ์วิธีการทำ"ส้มตำ"..
                      ต่อไปนี้จะเล่า             ถึงอาหารอร่อย 
              คือส้มตำกินบ่อย                 รสชาติแซบจัง
              วิธีการก็ง่าย                       จะกล่าวได้ดังนี้ 
              มันเป็นวิธี                          วิเศษเหลือหลาย
              ไปซื้อมะละกอ                    ขนาดพอเหมาะเหมาะ 
              สับสับเฉาะเฉาะ                  ไม่ต้องมากมาย
              ตำพริกกับกระเทียม              ให้ยอดเยี่ยมกลิ่นอาย 
              มะนาวน้ำปลาน้ำตาลทราย    น้ำตาลปี๊บถ้ามี
              ปรุงรสให้เยี่ยมหนอ              ใส่มะละกอลงไป 
              อ้อ อย่าลืมใส่                     กุ้งแห้งป่นของดี
              มะเขือเทศเร็วเข้า                 ถั่วฝักยาวเร็วรี่ 
              เสร็จสรรพแล้วซี                  ยกออกจากครัว
              กินกับข้าวเหนียว                 เที่ยวแจกให้ทั่ว 
              กลิ่นหอมยวนยั่ว                  น่าน้ำลายไหล
              จดตำราจำ                         ส้มตำลาวเอาตำรามา 
              ใครหม่ำเกินอัตรา                 ระวังท้องจะพัง
              ขอแถมอีกนิด                      แล้วจะติดใจใหญ่ 
             ไก่ย่างด้วยเป็นไร                   อร่อยแน่จริงเอย
 ขออัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ที่ขับร้องโดยพุ่มพวงมาลงในบล็อค 
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ทรงเจริญพระชนมพรรษา 55 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2553 
 ข้าพระพุทธเจ้า จึงขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 
 มีพระพลานามัยสมบูรณ์ เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั่วหล้าตลอดกาลนาน

ที่มา  :  https://www.oknation.net/blog/chai/2009/04/02/entry-1

คิดวิเคราะห์เจาะด้วยเทคนิค 5E

รูปภาพ  https://www.google.co.th/imglanding?

 ประเด็นการศึกษา                  ฝึกปรือวิเคราะห์อาหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

๑. มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน
เรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ท ๒.๑.๑  สามารถเขียนเรียงความ ย่อความ ชี้แจงการปฏิบัติงาน การรายงาน เขียนจดหมายสื่อสารได้เหมาะสมกับโอกาสและจุดประสงค์ เขียนเรื่องราวจากจินตนาการหรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง รวมทั้งใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
๒.  สาระสำคัญ
ความสำคัญในด้านคุณค่าอาหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ก่อนจะทำอาหารรับประทานควรรู้จักส่วนผสมของอาหารประเภทนั้น เพื่อได้คุณค่าและประโยชน์รวมถึงรสชาติ
ของอาหารนั้นด้วย 
๓.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     ๑.  รู้จักการรายงานและเขียนสื่อสารได้ถูกต้องตามจุดประสงค์
     ๒.  สามารถวิเคราะห์เรียงความข้อเท็จจริงได้
     ๓.  สามารถพูดวิเคราะห์เรื่องราวได้
     ๔.  ใช้ภาษาเพื่อพัฒนาความรู้ได้

๔.  จุดประสงค์การเรียนรู้
     ๑.  นักเรียนบอกและแยกแยะส่วนผสมอาหารของผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืดได้
     ๒.  นักเรียนวิเคราะห์ส่วนผสมอาหารของผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืดได้
     ๓.  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
๕.   เนื้อหาสาระ
 - บอกและแยกแยะส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด
 - วิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด
๖.   กิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นเร้าความสนใจ  ( Engagement )   
     ๑. นักเรียนฟังเพลงส้มตำ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี 
จาก MP 3 ในโน้ตบุ๊กพร้อมดูเนื้อเพลงจากแผนภูมิเพลงส้มตำประกอบ  ( ภาคผนวก )
     ๒.  ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงส้มตำ จาก MP3 พร้อมกัน
     ขั้นก้าวไกลสำรวจ   ( Exploration )  
     ๓.  ครูซักถามถึงเนื้อเพลงดังนี้
                - ส่วนผสมอาหารส้มตำมีอะไรบ้าง
                - อาหารส้มตำนึกถึงผลไม้ชนิดใด
                - อาหารส้มตำต้องทานคู่กับอะไรถึงจะอร่อยที่สุด
     ขั้นตรวจสอบอธิบาย   ( Explanation )
     ๔.  ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าเราสามารถวิเคราะห์ส่วนผสมของอาหารส้มตำเป็นร้อยละในรูปแผนภูมิกราฟเช่น กราฟวงกลม กราฟแท่ง และกราฟเส้น

     ๕. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ส่วนผสมอาหารส้มตำในรูปของกราฟวงกลม โดยครูทำวงกลม
บนกระดานและใช้คำถามนำ
ครู : มะละกอประมาณร้อยละ 
นักเรียน : ร้อยละ ๗๐
ครู : พริกประมาณร้อยละ
นักเรียน : ร้อยละ ๒
ครู : กระเทียม
นักเรียน : ร้อยละ ๕
ครู : มะนาว ประมาณร้อยละ
นักเรียน : ร้อยละ ๓            
ฯลฯ
     ขั้นขยายความรู้   ( Elaboration )  
     ๖.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๖ กลุ่ม ๆ ละ ๔ คน ร่วมกันวิเคราะห์ส่วนผสมของอาหารที่แปรรูป
จากผลิตภัณฑ์สาหร่ายน้ำจืด ในรูปของแผนภูมิกราฟต่าง ๆ 
     ๗. ตัวแทนกลุ่มจับสลากเลือกอาหารจากผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด กลุ่มละ ๑ ชนิด 
โดยตกลงร่วมกันว่าจะใช้แผนภูมิกราฟชนิดใด
     ๘. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด 
จากใบความรู้ที่ ๑๕  ที่ครูเตรียมไว้และร่วมกันทำแผนภูมิกราฟ ครูคอยแนะนำแก้ไขข้อบกพร่อง
     ขั้นรวบรวมสู่การประเมิน  ( Evaluation )  
     ๙. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานการวิเคราะห์อาหารจากผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่าย
น้ำจืด ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินและเลือกผลงาน
     ๑๐. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการวิเคราะห์อาหาร
     ๑๑.  นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ ๒๑ ฝึกปรือวิเคราะห์เรื่องอาหาร เป็นการบ้าน
๗.  สื่อการเรียนการสอน
       ๑.  แผนภูมิเพลงส้มตำ
       ๒.  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 
       ๓.  ใบความรู้ที่ ๑๕ เรื่องส่วนผสมอาหารจากผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด
       ๔.  ใบกิจกรรมที่ ๒๑ ฝึกปรือวิเคราะห์เรื่องอาหาร
๘.  การวัดผล ประเมินผล
     ๘.๑   การวัดผล
               ๘.๑.๑ วัดด้านความรู้
               ๘.๑.๒ วัดด้านทักษะกระบวนการ
               ๘.๑.๓ วัดด้านเจตคติ
     ๘.๒  เครื่องมือการวัดผล
               ๘.๒.๑  แบบประเมินการวัดด้านความรู้
               ๘.๒.๒ แบบประเมินการวัดด้านกระบวนการ
               ๘.๒.๓ แบบประเมินการวัดด้านเจตคติ
     ๘.๓   เกณฑ์การประเมินผล
                นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ประเมินทุกด้าน ร้อยละ ๘๐                       
๙.   กิจกรรมเสนอแนะ

การวิเคราะห์ส่วนผสมอาหารเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ให้นักเรียนรู้จักแยกแยะเป็นแผนภูมิต่าง ๆ ควรเพิ่มเวลาในการสอนและฝึกให้นักเรียนรู้จักการวิเคราะห์สารอาหารคุณค่าทางโภชนาการ

บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์  การงานอาชีพและเทคโนโลยี

                                             สุขศึกษาพลศึกษา

 ที่มา : นัทธมน คำครุฑ  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2635

อัพเดทล่าสุด