https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน กลอน โคลง กลอนสุภาพ มาแต่งกลอนสุภาพกันเถอะ MUSLIMTHAIPOST

 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน กลอน โคลง กลอนสุภาพ มาแต่งกลอนสุภาพกันเถอะ


3,696 ผู้ชม


ไม่มีใครได้ทุกอย่างที่ตนอยากได้ ไม่มีใครที่ได้อยู่ในที่ที่ตนอยากอยู่เสมอไป แต่เมื่อเราจำเป็นต้องอยู่ ก็ต้องอยู่ให้ได้ คิดเสียว่าสมหวัง-ผิดหวัง-มิตร-ศัตรู เป็นเรื่องธรรมดาโลก   

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน กลอน โคลง กลอนสุภาพ มาแต่งกลอนสุภาพกันเถอะ

ต้น/ดอก/ผลสาละ ถ่ายที่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ จ.อุบลฯ

                                          จุดที่ฉันต้องยืน

                                     ฉันนั่งอยู่ในห้องที่ว่างเปล่า
                                     คิดเรื่องราวคับใจต้องทนฝืน
                                     ทั้งทุกข์ระกำใจมันเต็มกลืน
                                     แต่แกล้งยืนยิ้มแฉ่งแข่งทุกคน
                                                    พบแต่ความว่างเปล่าเคล้าชีวิต
                                                    จุดแรงจิตดับวูบไปทุกหน
                                                     มีแต่ความผิดหวังไว้ให้ยล
                                                     แพ้พาลชนแทบล้มประดาตาย
                                ยากจะหาความจริงใจในที่นี้
                               ไม่มีพี่มีน้องมิตรสหาย
                               มีแต่ความเลวระยำจ้องทำลาย
                               เราจึงพ่ายจึงแพ้แก่พวกมัน
                                               คิดถึงบ้านจากมาน้ำตาตก
                                               ไฟนรกเผาไหม้ในใจฉัน
                                               คิดถึงญาติพี่น้องต้องจาบัลย์
                                               ใครทำฉันก็ตัวฉันทำฉันเอง
                               นั่งขีดเขียนกลอนเพลงบรรเลงป่า
                               แทนวาจาแทนคำพูดแทนทุกข์เข็ญ
                              กลั่นออกจากหัวใจทุกประเด็น
                              ผสมเป็นม่านฝันและควันไฟ
                                                                                  ประพันธ์โดย....ครูตังเม
                                                                        ๓๐  กันยายน  ๒๕๒๙


เนื้อหาสาระสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระที่ ๔ หลักภาษาและการใช้ภาษา
 มาตรฐานการเรียนรู้  ท ๔.๑ ตัวชี้วัดที่ ๑.๕
เรื่อง  กลอนสุภาพ
                                      ลักษณะข้อบังคับของกลอนสุภาพ


         กลอนสุภาพเป็นคำประพันธ์ที่มีการกำหนดคณะ บังคับสัมผัสและมีการกำหนดเสียงของพยางค์ท้ายวรรคด้วย  คนไทยรู้จักกลอนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
                   ก. คณะ  กลอนสุภาพ  ๑  บทมี ๒ คำกลอน  ๔ วรรค  วรรคที่ ๑  เรียกว่าวรรคสดับ,สลับ  วรรคที่ ๒  เรียกว่า  วรรครับ   วรรคที่ ๓  เรียกว่า  วรรครอง  วรรคที่ ๔ เรียกว่า  วรรคส่ง   กลอนแต่ละวรรค
                    ข. พยางค์  ในกลอนวรรคหนึ่งๆจะมีจำนวนคำได้ตั้งแต่  ๗-๙ คำ  โดยมากนิยม  ๘  คำ  
                     ค. สัมผัส  สัมผัสตามแผนภูมิข้างล่างนี้


                                                       แผนภูมิกลอนสุภาพ

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน กลอน โคลง กลอนสุภาพ มาแต่งกลอนสุภาพกันเถอะ

(แผนผังจาก:  oknation.net/blog/home/)

                                 สัมผัส  ในกลอนสุภาพ  มี  ๒  ชนิด  คือ  สัมผัสใน  และสัมผัสนอก  
               สัมผัสใน  หมายถึงสัมผัสภายในวรรค   มี  ๒  ชนิด  ได้แก่
                         ๑)  สัมผัสสระ  คือคำที่มีเสียงสระเดียวกัน
                         ๒) สัมผัสอักษร  คือคำที่มีเสียงอักษรเสียงเดียวกัน
              สัมผัสนอก  หมายถึง  สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบท  จะเป็นสัมผัสสระ
ง. เสียงวรรณยุกต์ มีข้อบังคับการใช้เสียงวรรณยุกต์ดังนี้
 ๑) คำสุดท้ายวรรคสลับใช้ได้ทุกเสียงแต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
 ๒) คำสุดท้ายวรรครับ  ห้ามใช้เสียงสามัญ  ไม่นิยมเสียงตรี  นิยมใช้เสียงจัตวามากที่สุด
 ๓) คำสุดท้ายวรรครอง  ห้ามใช้เสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเสียงเดียวกันกับวรรครับ  ห้ามใช้เสียงจัตวา  นิยมเสียงสามัญ
 ๔) คำสุดท้ายวรรค  ห้ามใช้เสียงจัตวา  แต่นิยมเสียงสามัญมากที่สุด
ตัวอย่าง

  ถึงบางบอนย้อนคิดถึงเรื่องเก่า          โบราณเล่าว่าบอนซ่อนไม่ได้
  มันคันยิบคันยับจับหัวใจ ถ้าพูดออกบอกได้ก็หายคัน
  รู้อะไรนิ่งอั้นมันคันปาก ให้นึกอยากพูดยิ่งทุกสิ่งสรรพ์
  ขยายออกบอกใครได้ทุกวัน หายอัดอั้นคันปากเพราะอยากบอน
                                                                                                  (จากนิราศภูเขาทอง..ของสุนทรภู่)
กิจกรรมการเรียนการสอน
                  ๑. นักเรียนอ่านลักษณะข้อบังคับของกลอนสุภาพ
                  ๒. นักเรียนจับคู่สรุปลักษณะข้อบังคับของกลอนสุภาพ
                 ๓. นักเรียนทำแบบทดสอบ
                 ๔. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยแบบทดสอบ
                 ๕. นักเรียนอ่านบทกลอน  เรื่อง  จุดที่ฉันต้องยืน
           
แบบทดสอบ
๑. กลอนสุภาพ  ๑  บท  มี กี่วรรค
          ก.  ๑ วรรค        ข.  ๒  วรรค         ค.   ๓  วรรค      ง.   ๔   วรรค
๒. กลอนสุภาพ  ๔  คำกลอนมีกี่วรรค
         ก.  ๒ วรรค        ข.  ๔  วรรค         ค.   ๖  วรรค      ง.   ๘   วรรค
๓.  กลอนสุภาพ  ๑  บท มีกี่คำ
         ก.  ๗-๘  ตำ         ข.  ๗-๙ คำ        ค. ๗-๑๐  คำ      ง.   ๘-๑๐  คำ
๔.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกลอนสุภาพ
        ก.  กลอนสุภาพบังคับสัมผัส
        ข. กลอนสุภาพ  ๑  บท  มี ๔  คำกลอน  
        ค. สัมผัสในประกอบด้วยสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
        ง. กลอนสุภาพ  ๑ บท  มี ๔ วรรค  ได้แก่ วรรคสลับ  วรรครับ  วรรครอง  วรรคส่ง
๕. คำสุดท้ายของวรรคส่งของกลอนสุภาพจะส่งสัมผัสไปยังวรรคใด
     ก. วรรคสลับของบทต่อไป                      ข. วรรครับของบทต่อไป
     ค. วรรครองของบทต่อไป                      ข. วรรคส่งของบทต่อไป


กิจกรรมเสนอแนะ
       ให้นักเรียนไปฝึกแต่งกลอนสุภาพ  สะท้อนสภาพสังคมปัจจุบันความความคิดเห็นของนักเรียน  โดยตั้งชื่อเรื่องเอง  ความยาว  ๓ บท


การบูรณาการ
              บูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยใช้กลอนสุภาพเป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน  สรุปเนื้อหา  สอดแทรกเนื้อหา 


แหล่งอ้างอิง


กำชัย  ทองหล่อ.   หลักภาษาไทย.   พิมพ์ครั้งที่ ๗ .  กรุงเทพฯ :  บำรุงสาส์น ,  
                 ๒๕๓๐.
พรทิพย์  แฟงสุด.   คู่มือภาษาไทย  ม. ๔-๕-๖  (ฉบับรวมเล่ม).   กรุงเทพฯ :  ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ ,     
              ๒๕๔๓.
ศิริวรรณ  ฉายะเกษตริน  และคณะ.   หนังสือเรียนชุดพัฒนาทักษะกระบวนการ  ท ๓๐๖  ภาษาไทย .
              กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช ,  ๒๕๓๖.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2066

อัพเดทล่าสุด