https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่เท่าไร ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ ย่อ ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 MUSLIMTHAIPOST

 

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่เท่าไร ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ ย่อ ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554


953 ผู้ชม


วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่เท่าไร ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ ย่อ ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554

 

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปราย เรื่อง ปัญหาการใช้ ภาษาไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถ และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทยที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ นอกจากนี้ อีกวัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดตั้ง วันภาษาไทย ก็เพื่อต้องการกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้ยั่งยืนคู่ชาติไทยตลอดไป พร้อมทั้งเผยแพร่ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและในฐานะภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในการใช้ ภาษาไทย พระองค์ทรงรอบรู้ถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระวิริยะอุตสาหะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็น ภาษาไทย ที่สมบูรณ์ ทำให้วรรณกรรมเรื่องนั้นๆ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักใช้ภาษาไทยกันอย่างผิดเพี้ยน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของคนไทยมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ไปศึกษาในต่างประเทศชอบใช้ภาษาฝรั่งคำไทยคำ ทำให้เมื่อสื่อสารออกไปแล้วคนไม่เข้าใจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องในสังคมอินเตอร์เน็ตที่มักจะใช้คำง่ายๆ และสั้นๆ รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารด้วยจนกลายเป็นค่านิยมไปแล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเด็กไทยก็จะไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของภาษาและอาจทำให้ภาษาไทยวิบัติได้ในอนาคต

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและ ภาษาไทย ถิ่นดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนความร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้งดงามยั่งยืนคู่ชาติไทยตลอดไป ซึ่งได้มีการประกาศผลการคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและภาษาไทยถิ่นดีเด่นไปแล้วเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ดังนี้

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จำนวน ๑๓ คน ได้แก่ พระธรรมโกศาจารย์ (ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ธมฺมจิตโต), ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร, คุณหญิงคณิตา เลขะกุล, นางชอุ่ม ปัญจพรรค์, นายช่วย พูลเพิ่ม, ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์, พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก เสนีย์ วิลาวรรณ, นายอาจิณ จันทรัมพร

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน ๑๗ คน ได้แก่ นายกันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร, นายธีรภาพ โลหิตกุล, นางสาวนภา หวังในธรรม, นายนิติพงษ์ ห่อนาค, พลตรีประพาศ ศกุนตนาค, นายประภัสสร เสวิกุล, นายปราโมทย์ สัชฌุกร, นายศักดิ์สิริ  มีสมสืบ, นายศุ บุญเลี้ยง, นางสินจัย เปล่งพานิช, นาวาอากาศโทสุมาลี วีระวงศ์, นายสัญญา คุณากร, นางอารีย์ นักดนตรีม, นายเอนก นาวิกมูล ชาวต่างประเทศ จำนวน ๒ คน ได้แก่ ศาสนาจารย์ ดร.เอสเธอร์  เวคแมน, นางคริสตี แอนน์ เคนนีย์ บราวน์ฟิลด์

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน ๙ คน ได้แก่ พระราชประสิทธิคุณ (สุนันท์ สุภาจาโร), ดร.ฉันทัส  ทองช่วย, นางสาวนฤมล มั่นวงค์วิโรจน์, นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ, นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, นายมนัส สุขสาย, นายเมืองดี นนทะธรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนิท บุญฤทธิ์, นายอินตา เลาคำ

รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๙ คน และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะจัดงานมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและภาษาไทยถิ่นดีเด่น ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแสดงนิทรรศการและการแสดงของผู้ที่ได้รับเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ การแสดงของศิลปินที่ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่น (เพชรในเพลง) และการออกร้านคลินิกหมอภาษา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักให้คนไทยได้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทยและสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม โทร.๐๒๒๔๗๐๐๒๘ ต่อ ๑๔๑๙ 

 

แหล่งที่มา : m-culture.go.th

อัพเดทล่าสุด