https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธรกิจ การบริหารธุรกิจ กลยุทธ์ การขาย ตลาดออนไลน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วิธีเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าบนตลาดออนไลน์ MUSLIMTHAIPOST

 

ธรกิจ การบริหารธุรกิจ กลยุทธ์ การขาย ตลาดออนไลน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วิธีเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าบนตลาดออนไลน์


562 ผู้ชม


อาการของคนที่กำลังคิดจะซื้อของออ นไลน์แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้รับของตามที่คาด หวังไว้หรือไม่ นั่นเป็นอาการที่เรียกว่า ความกังวลใจของผู้ซื้อ หรือ Purchase Anxiety โดยผู้ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตจะมีอาการที่ว่านี้มากกว่าผู้ซื้อของตามร้าน ทั่วไป เพราะว่าการซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นคุณไม่ได้จับต้องหรือเห็นสินค้าของ จริงแถมยังซื้อจากใครก็ไม่รู้ที่ไม่เคยเห็นหน้าด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังคิดจะค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต เทคนิคแปดข้อต่อไปนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจที่จะซื้อของจากเว็บไซต์ ของคุณมากขึ้น

1. แสดงให้เห็นว่าคุณจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า สิ่งที่ลูกค้ากลัวที่สุด คือข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลหรือมีการขายข้อมูลลูกค้าให้แก่ผู้อื่นเพื่อผล ประโยชน์ทางการค้าโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม ดังนั้น คุณควรจะมีการแจ้งนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าคุณจะไม่เปิดเผยข้อมูลของพวกเขาให้แก่ใครทั้งสิ้น นอกเหนือจากระบบการจ่ายเงินผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง ดีเยี่ยมแล้ว คุณอาจต้องลงทุนกับ "Security Seals" หรือระบบป้องกันข้อมูลจากแฮกเกอร์ด้วย Security Seals ที่นิยมได้แก่ VeriSign และ TRUSTe

2. เพิ่มความคิดเห็นเข้าไปในเว็บ วิธีง่ายๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าใหม่ก็คือ การนำเสนอความคิดเห็นจากลูกค้าปัจจุบันตัวจริง ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยให้ลูกค้ารายอื่นมั่นใจที่จะเข้ามาซื้อ ของที่เว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้น เมื่อคุณสัมภาษณ์ลูกค้าขาประจำของคุณและขออนุญาตนำข้อความที่สัมภาษณ์ของเขา ขึ้นเว็บไซต์แล้ว คุณควรจะใส่ข้อมูลอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล อำเภอหรือจังหวัด รูป (ถ้ามี) แต่ข้อมูลส่วนตัวดังกล่าวอาจไม่จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ เช่น หากคุณทำกิจการเพื่อช่วยคนติดแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือการกินที่ผิดปกติ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลมากมาย อาจใส่เพียงแค่ชื่อต้นก็พอแล้ว

3. ให้ข้อมูลที่เจาะจง เมื่อต้องให้ข้อมูลเชิงสถิติ คุณควรใส่ตัวเลขที่เจาะจงลงไปเลย เช่น หากคุณขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อย่าเขียนว่าคุณสมชายลดน้ำหนักลงกว่า 20 กิโลกรัม ให้ใส่ไปเลยว่า คุณสมชายน้ำหนักลดลงไปถึง 23 กิโลกรัม

4. ใส่ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น คุณขายพรมใยสังเคราะห์ และคุณเพิ่งอ่านวารสารสุขภาพว่าเด็กที่มีปัญหาภูมิแพ้หรือหอบหืดจะมีอาการ แย่ลงเพราะมลภาวะในบ้าน คุณก็ควรใส่ข้อมูลจากวารสารนั้นลงไปในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้สินค้าของคุณ

5. ให้ข้อมูลสำหรับติดต่อ ลองจินตนาการว่า คุณเข้าไปเว็บไซต์หนึ่งและพบสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ แต่ว่าคุณมีคำถามคาใจเกี่ยวกับสินค้านั้นที่อยากได้คำตอบก่อนที่จะซื้อ แต่เมื่อมองหาที่ติดต่อกลับพบแต่อี-เมล์ คุณจะรู้สึกอย่างไร เพราะฉะนั้นอย่าเสียลูกค้าไปโดยไม่จำเป็นแม้เพียงคนเดียว คุณควรใส่ชื่อ-สกุลเต็มของคุณ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อี-เมล์ และใส่ลิงค์ไปยังข้อมูลเหล่านั้นทุกหน้าของเว็บไซต์

6. ใส่ประกาศนียบัตรจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียง หากคุณเป็นสมาชิกสมาคมทางวิชาชีพ สมาคมนักธุรกิจ หรือเคยได้รับรางวัลการประกวดใดๆ ก็ตาม อย่าลืมใส่เข้าไปในหน้า เกี่ยวกับเรา (About Us) ด้วย เพราะว่าการขายของทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ประเทศเราเท่านั้น คุณอาจมีลูกค้าจากนานาประเทศกลายเป็นธุรกิจอินเตอร์กับคนอื่นเขาได้เหมือน กัน

7. บอกให้ลูกค้ารู้ว่าคุณคือใคร ผู้บริโภคต้องการซื้อของจากใครบางคนไม่ใช่จากบริษัท ดังนั้น คุณควรช่วยให้เขารู้จักคุณมากยิ่งขึ้น คุณควรจะใส่รูปของคุณในหน้า เกี่ยวกับเรา (About Us) หรือแม้กระทั่งรูปพนักงานและรูปออฟฟิศ จะยิ่งทำให้คนซื้อรู้สึกว่าคุณและบริษัทมีตัวตนจริง นอกจากนั้นแล้วอาจใส่ข้อมูลอื่น เช่น ประสบการณ์ในวงการ ระยะเวลาที่เปิดธุรกิจ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณทำธุรกิจนี้ และเหตุที่คุณสนุกหรือมีความสุขที่ได้ทำธุรกิจนี้

8. มีการติดตามหลังการขาย เมื่อซื้อแล้วไม่ใช่ว่าจะจบลงตรงนั้น คุณควรส่งอี-เมล์ให้ลูกค้าทราบเป็นระยะ เช่น เมล์ตอบรับการสั่งซื้อสินค้า เมล์รายละเอียดการส่งสินค้า เพื่อให้ลูกค้าทราบสถานะของสินค้าที่สั่ง เพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาจบอกว่ายินดีรับฟังและตอบทุกความคิดเห็นด้วย
หากเว็บไซต์ของคุณ ยังไม่มีสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นละก็ ขอแนะนำให้รีบใส่โดยด่วน โดยเฉพาะเดือนเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบนี้ ลูกค้าทั่วประเทศ (หรือทั่วโลก) กำลังรอซื้อสินค้าจากคุณอยู่นะ
ทีมาhttps://group.wunjun.com/#!/tiensstar/topic/137758-3393

อัพเดทล่าสุด