https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การผลิต กระบวนการผลิต กระบวนการ พ่นสี MUSLIMTHAIPOST

 

การผลิต กระบวนการผลิต กระบวนการ พ่นสี


731 ผู้ชม


กระบวนการพ่นสี โดย นายสัมพันธ์ อรัญนารถ และ นายประยุทธ ชุมพล 

          องค์ประกอบในการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดดังนี้
          ๑. ปืนและปั๊มดูดสี พ่นสี : มีทั้งชนิดที่พ่นด้วยคนงาน และชนิดที่พ่นด้วยเครื่องพ่นอัตโนมัติ
          ๒. ปั๊มลม : ต้องเป็นชนิดที่ขจัดน้ำมันออกจากลม เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดันสีออกจากปืนพ่นให้เป็นละออง (สเปรย์)
          ๓. โซ่หิ้วชิ้นงาน : เพื่อทำหน้าที่หิ้วไม้แขวนชิ้นงานเข้าไปในห้องพ่นสี ห้องอบสีให้แห้ง วัสดุ : ทำด้วยโลหะเหล็กทนความร้อน
          ๔. ห้องพ่นสี : เป็นห้องสำหรับทำการพ่นสี ซึ่งจะมี ๒ ห้องเรียงกันคือ ห้องพ่นสีรองพื้น และห้องพ่นสีจริง คุณสมบัติของห้องคือ จะต้องสามารถป้องกันฝุ่นและผง และควบคุมปริมาณอากาศเข้า-ออกอย่างสมดุลกัน มีม่านน้ำไว้ป้องกันไม้ให้ละอองสีเกาะติด มีช่องสำหรับให้ละอองสีถูกดูดออกไปภายนอก
          ๕. ห้องพักตัวชิ้นงาน : เพื่อใช้เป็นห้องพักตัวหลังจากชิ้นงานถูกพ่นสีจากห้องพ่นสีแล้ว
          ๖. ห้องอบสี : เพื่อใช้อบสีให้แห้ง ซึ่งห้องดังกล่าวจะได้รับพลังงานความร้อนจากก๊าซแลพีจี โดยใช้อุณหภูมิในการอบ ๗๐-๗๕ องศาเซลเซียส สำหรับชื้นงานพลาสติก และ ๑๒๐-๑๓๐ องศาเซลเซียส สำหรับชิ้นงานเหล็ก
          ๗. สี : มีใช้อยู่ ๓ ชนิด คือ สีโซลิด สีเมแทลลิกส์ และสีทนความร้อน โดยทั้ง ๓ ชนิดเป็นสีชนิดที่ต้องผสมกับทินเนอร์
          ๘. น้ำยาผสมสี (ทินเนอร์) : ใช้ผสมสีเพื่อให้สีมีความหนืดตามมาตรฐานที่กำหนด
          ๙. ชิ้นงาน : มีทั้งชิ้นงานพลาสติกและชิ้นงานเหล็ก
          ๑๐. ไม้แขวนชิ้นงาน : ใช้สำหรับแขวนชิ้นงานซึ่งจะแขวนชิ้นงานได้จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของชิ้นงาน
          ๑๑. ห้องล้างทำความสะอาดชิ้นงาน : เป็นห้องสำหรับล้างชิ้นงานให้สะอาด ปราศจากฝุ่นและไขมัน โดยใช้สารเคมีเป็นส่วนผสมกับน้ำ แล้วฉีดผ่านหัว ฉีดพ่นไปบนชิ้นงาน
          ๑๒. ชุดจ่ายอากาศ : เพื่อจ่ายอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าไปในห้องพ่นสี เพื่อทำให้ระบบการหมุนเวียนอากาศในห้องพ่นสีเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
          ๑๓. ห้องติดสติกเกอร์ : เพื่อทำการติดสติกเกอร์สีสันต่างๆ บนชิ้นส่วนที่พ่นสีเสร็จแล้ว
          ๑๔. พนักงาน (Worker) : ทำหน้าที่แขวนชิ้นงาน เป่าลม เช็ดทำความสะอาด ผสมสี พ่นสี ติดสติกเกอร์ ปลดชิ้นงานหลังจากที่อบแห้งแล้ว ตรวจสอบคุณภาพ เคลื่อนย้ายชิ้นงานไปยังจุดต่อไป
          ๑๕. มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ : กำหนดวิธีการทำงานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพ
          ๑๖. รถเข็นใส่ชิ้นงาน : สำหรับใส่ชิ้นงานหลังจากพ่นสีเสร็จแล้ว และใช้ส่งชิ้นงาน

การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ด้วยกระบวนการพ่นสี (Painting Process) 

          ชิ้นส่วนโลหะบางชนิดที่สำเร็จรูปจากกระบวนการเชื่อมแล้ว เช่น ตัวถังรถ ท่อไอเสีย ถังน้ำมัน รวมทั้งชิ้นส่วนพลาสติก เช่น ฝาครอบข้าง ฝาครอบหน้า ฝาครอบหลัง จะถูกนำมาเข้ากระบวนการพ่นสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสนิมและสร้างสีสันที่สวยงาม กระบวนการพ่นสีจะประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอน โดยจะมีองค์ประกอบที่สำคัญที่กระบวนการดังที่กล่าวมาแล้ว
          ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการพ่นสี
             ขั้นตอนที่ ๑ : การแขวนชิ้นงานเข้ากับไม้แขวน เงื่อนไข : จำนวนที่แขวนต่อ ๑ ไม้แขวน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของชิ้นงาน ตามที่ฝ่ายวิศวกรรมการผลิตเป็นผู้กำหนด
             ขั้นตอนที่ ๒ : การล้างทำความสะอาดผิวของชิ้นงาน เพื่อทำการกำจัดไขมัน และคราบน้ำมันที่ติดอยู่บนผิวออกให้หมดน้ำยาที่ใช้ล้าง จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
             ขั้นตอนที่ ๓ : การเป่าลมเช็ดทำความสะอาดชิ้นงาน เพื่อขจัดฝุ่นผงออกจากชิ้นงานให้หมด สำหรับชิ้นงานพลาสติก จะใช้น้ำยาพิเศษชุบผ้านุ่ม เช็ดถูชิ้นงานเพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิตในชิ้นงานพลาสติก
             ขั้นตอนที่ ๔ : การพ่นสี พนักงานจะใช้ปืนพ่นสีสำหรับการพ่นสีรองพื้นและสีจริง แต่จะใช้เครื่องพ่นสีอัตโนมัติสำหรับชิ้นส่วนเหล็ก
             ขั้นตอนที่ ๕ : การตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพหลังจากชิ้นงานผ่านออกมาจากห้องอบสี
             ขั้นตอนที่ ๖ : การติดสติกเกอร์ เพื่อความสวยงาม และความคงทนของสีผิว และทำการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย
             ขั้นตอนที่ ๗ : การจัดส่ง ชิ้นส่วนทุกชิ้นเมื่อเสร็จสิ้นจากกระบวนการพ่นสีแล้ว จะถูกนำส่งไปยังหน่วยงานประกอบรถสำเร็จรูป
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2848

อัพเดทล่าสุด