https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การผลิต กระบวนการผลิต การผลิตรถจักรยานยนต์ MUSLIMTHAIPOST

 

การผลิต กระบวนการผลิต การผลิตรถจักรยานยนต์


795 ผู้ชม


มนุษย์ต้องการปัจจัยสี่ที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งประกอบด้วยอาหาร ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกเหนือจากนี้เราจะพบว่า ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งสำหรับการดำรงชีวิตในปัจจุบันคือ ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยานพาหนะในการเดินทาง เพื่อการติดต่อผู้คนและประกอบอาชีพ เริ่มต้นมาจากความจำเป็นที่จะต้องใช้เป็นสิ่งช่วยในการเดินทาง ต่อมาจึงได้พัฒนาให้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตาม วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และความต้องการของผู้ใช้ ในปัจจุบัน มนุษย์จึงมียานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมากมายหลายประเภท อาทิเช่น  รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถกระบะ  รถบรรทุก รถไฟ เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น
          สังคมไทยในชนบทส่วนใหญ่เป็นสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ประชากรมีรายได้จากการทำมาหาเลี้ยงชีพของตน ซึ่งถือได้ว่า เป็นการหาเลี้ยงชีพในลักษณะของ "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งหมายถึง การดำรงชีวิตอุ้มชูตัวเองให้ได้มีพอเพียงกับตัวเอง มีความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน และหากมีบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ในที่ไม่ห่างไกลและไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ดังนั้น ราษฎรหรือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจึงมีรายได้ในลักษณะพออยู่พอกิน และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
          ยานพาหนะประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยมของคนไทยคือ รถจักรยานยนต์ ซึ่งถือว่าเป็นยานพาหนะที่ให้ความคล่องตัวในการเดินทางสูงมีขนาดเล็กเหมาะกับการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีระยะทางไม่ไกลนัก มีความปลอดภัย และที่สำคัญคือ มีราคาที่เหมาะสมกับรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
          จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พบว่า ๘๕% (หรือ ๘๕ คันใน ๑๐๐ คัน) ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือตั้งรกรากอยู่ที่ต่างจังหวัด นอกเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่า ๗๖% (หรือ ๗๖ คันใน ๑๐๐ คัน) ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือน

          อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ รถจักรยานยนต์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในสังคมเมืองที่มีความแออัดและคับคั่งไปด้วยการจราจร เนื่องจากรถจักรยานยนต์ทำให้เกิดความคล่องตัวในการเดินทางสูง มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และประหยัดน้ำมัน

ประวัติความเป็นมา 

          การผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดย ดร. ถาวร  พรประภา ได้ก่อตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ขึ้นเป็นแห่งแรก โดยใช้ชื่อว่า บริษัท สยาม ยามาฮ่า จำกัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ
          การผลิตในระยะเริ่มแรก มีการใช้ชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศเพียงบางส่วน แต่หลายชนิดต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน ของชิ้นส่วนประกอบ จนสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ทำให้มีการใช้ชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงขณะนี้ การผลิตรถจักรยานยนต์สามารถใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้เองภายในประเทศมากถึงร้อยละ ๙๐ แต่ก็ยังมีชิ้นส่วนประกอบที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์พิเศษทางด้านระบบไฟฟ้า ปั๊มน้ำมันหล่อลื่นอัตโนมัติ มอเตอร์สตาร์ต (Starting Motor) 

พัฒนาการของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 

          การพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯของประเทศ จะเป็นไปตามแผนงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และดำเนินการตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศ  ร้อยละ ๙๐ สำหรับตัวรถจักรยานยนต์ และร้อยละ ๗๐ สำหรับชิ้นส่วนเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์

อัพเดทล่าสุด