https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ สร้างสรรค์ การพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักสร้างสรรค์ MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ สร้างสรรค์ การพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักสร้างสรรค์


865 ผู้ชม


ผู้ประกอบการนักสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneur) เปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ

            ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มาใช้  กลไกหลักที่นำไปสู่ความสำเร็จจะมาจากคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ชนชั้นสร้างสรรค์ (Creative class)”ซึ่ง Richard Florida ได้บรรยายคุณลักษณะของกลุ่มคนเหล่านี้ไว้ในหนังสือชื่อ The Fight of the Creative Class ว่า ประกอบด้วย คนทำงานทางด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และพวกมืออาชีพ ผู้ซึ่งก่อให้เกิดพลวัตรทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ รวมไปถึงบรรดานักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นักออกแบบ นักการศึกษา ศิลปิน เพลง และคนบันเทิง ที่สร้างแนวคิดใหม่ เทคโนโลยีใหม่ หรือเนื้อหาที่เป็นการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ขึ้น นอกจากนั้น ยังประกอบด้วยมืออาชีพทางด้านธุรกิจ การเงิน และกฎหมาย โดยคุณค่าของบุคคลกลุ่มนี้อยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง เป็นคนดี มีศีลธรรม จริยธรรม มีความหลากหลาย และมีความเปิดเผย ตรงไปตรงมา

             ผู้ประกอบการนักสร้างสรรค์ (Creative entrepreneur) คือ กลุ่มคนที่มีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบนี้ เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สร้าง หรือนำเอาแนวคิดสร้างสรรค์ ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาก่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ ที่สร้างให้เกิดการจ้างงาน รายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่ง  John Howkins ได้นิยามไว้ดังนี้

“ ผู้ประกอบการในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะดำเนินงานคล้ายผู้ประกอบการในรูปแบบดั้งเดิมของเซย์ (Say’ s original model entrepreneur) ที่ ยังคงให้ความสำคัญกับการแสวงหากำไร และรายได้จากการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่หายาก เพื่อนำมาผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาด แต่จะมีความแตกต่างที่สำคัญมากตรงที่ ผู้ประกอบการนักสร้างสรรค์นี้จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เป็น ทรัพยากรล้ำค่าในการสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้น และมีลักษณะของความเป็นปัจเจกชน ที่มีความเฉลียวฉลาด ให้คุณค่าในความเป็นตัวตนเหนือการยอมรับที่จะมาจากนักวิชาการ หรือนักการเมือง มักจะรักอิสระที่จะบริหารจัดการเวลาและความสามารถด้วยตัวเอง ทดแทนกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่คาดการณ์ได้ยาก หรือแม้แต่รายได้ที่มักจะไม่สม่ำเสมอ บุคคลประเภทนี้จะคิดโดยสัญชาติญาณเพื่อตัวเอง เครือข่าย และมักจะชอบคิด หรือเก็บเรื่องราวหลายๆ อย่างไว้ในเวลาเดียวกัน บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นกลุ่มที่สร้างความตกตะลึงให้กับบุคคลอื่นในสังคม ไม่เพียงแต่ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรม แต่ยังรวมถึงความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับรูปแบบการทำงานที่เกี่ยวข้อง”
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5777

อัพเดทล่าสุด