https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตั้งครรภ์เดือนที่ 7 MUSLIMTHAIPOST

 

ตั้งครรภ์เดือนที่ 7


969 ผู้ชม

ตั้งครรภ์เดือนที่ 7 นี้ คุณแม่จะเริ่มอึดอัดมากขึ้น เพราะลูกในท้องตัวใหญ่ขึ้นมากแถมยังดิ้นเป็นระยะๆ คุณแม่ควรทำอย่างไรดีให้รู้สึกสบายตัว


การตั้งครรภ์ เดือนที่ 7



pregnancy_momypedia
การเปลี่ยนแปลงของแม่

        • น้ำหนักของคุณแม่ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเริ่มรู้สึกอึดอัด อาหารไม่ย่อย และหน้าท้องเริ่มแตกลาย แต่คุณแม่เริ่มเตรียมตัวเพื่อรับการคลอดได้แล้ว
        • การนอนหลับ ท้องโตอุ้ยอ้ายเต็มทีจนทำให้นอนไม่สบายตัว คุณแม่ควรนอนตะแคงท่ากอดหมอนข้าง คือขาข้างหนึ่งงอเข่าไว้ ส่วนขาอีกข้างก็เหยียดออก จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายขึ้น
        • อาการปวดหลัง คุณแม่เกือบทุกคนมักหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง เพราะน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนรับน้ำหนักด้านล่างคือกระดูกเชิงกรานขยายตัวเตรียมคลอด หลังจึงต้องรับน้ำหนักเต็มที่
        • คุณแม่ควรใช้หลังให้ถูกต้องไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด สวมรองเท้าส้นเตี้ยสบายๆ ห้ามยกของหนัก หลีกเลี่ยงเก้าอี้และเตียงที่นุ่มเกินไป
        • การถ่ายปัสสาวะ มดลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว น้ำหนักตัวและการดิ้นของทารกจะกดลงบนกระเพาะปัสสาวะ คุณแม่จึงอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
        • หัวน้ำนม เริ่มมีการสร้างตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์นี้ เพื่อเตรียมพร้อมหากบังเอิญมีการคลอดเกิดขึ้นก่อนกำหนด คุณแม่จะสังเกตเห็นน้ำสีเหลืองใสออกจากหัวนม


พัฒนาการของทารกในครรภ์

        • สัดส่วนของทารก ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ ทารกจะมีลำตัวยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1,000 กรัม
        • เซลล์สมองและระบบประสาท ช่วงเดือนนี้สมองของทารกโตเต็มคับกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมองเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์และตื่นตัวเต็มที่ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง แต่กว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ก็ต้องรอจนถึงวัยหนุ่มสาว
        • ทารกเรียนรู้ได้มากขึ้น เพราะมีคลื่นสมองและระบบประสาทที่สมบูรณ์มากขึ้น ทารกเพิ่งจะเริ่มเตรียมตัวก่อนออกมาดูโลกภายนอก
        • ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกจะต้องปรับตัวมาก เพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องการหายใจและอุณหภูมิในร่างกายต่ำ แต่ถ้าได้รับการดูแลเป็นพิเศษทารกจะมีชีวิตได้ต่อไป
        • ผิว ผิวของทารกเริ่มเต่งตึงขึ้น เพราะมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้นมาก รอยเหี่ยวย่นตามใบหน้าและลำตัวเริ่มหายไป ขนอ่อนเริ่มหลุดร่วงเหลือไว้เฉพาะที่ไหล่และหลัง ทารกสามารถเปิดปิดเปลือกตาได้ และเริ่มการฝึกสมองในช่วงนี้ ผมจะเริ่มยาวขึ้น และทารกยังฝึกการดูดกลืนต่อไปอย่างขยันขันแข็ง
        • การหายใจ ทารกหายใจแรง ถุงลมเล็กๆ ภายในปอดจะมีปริมาณสูงขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจด้วยตัวเองเมื่อแรกคลอด และยังมีเซลล์พิเศษและน้ำหล่อลื่นเคลือบบริเวณถุงลม เพื่อช่วยในการขยายตัวของถุงลมตอนคลอด ทารกจะฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างเป็นจังหวะซึ่งตรวจพบได้ด้วยอัลตราซาวนด์
        • การถ่ายปัสสาวะ ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
        • การสร้างเม็ดเลือดแดง ทารกที่โตเต็มในครรภ์จะรู้สึกอึดอัดได้ คุณแม่สังเกตว่าตอนไหนที่คุณแม่อยู่ในท่าที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว ทารกจะตอบโต้ด้วยการเตะถีบท้องอยู่ตลอดเวลา คุณแม่ก็ต้องคอยปรับเปลี่ยนท่าเพื่อให้ทารกได้รู้สึกสบายขึ้น
        • เรียนรู้ทิศทาง ทารกจะฝึกกล้ามเนื้อพร้อมกับรู้ทิศทางว่าจะหันลำตัวและศีรษะไปทางไหน ทารกคงจะเอาก้นลงด้านล่างในช่วงเดือนนี้ เว้นแต่จะเป็นคุณแม่ครรภ์แรกซึ่งครรภ์ยังกระชับ หรือหากทารกโตไวก็อาจจะกลับหัวลงไปรอเตรียมพร้อมที่ประตูทางคลอดได้
        • ไขมัน ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน ทำให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น
        • อวัยวะเพศ ถ้าเป็นลูกชายลูกอัณฑะจะเริ่มเคลื่อนตัวลงจากช่องท้องผ่านขาหนีบ และลงไปอยู่ในถุงอัณฑะในที่สุด (ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจึงมักมีปัญหาเรื่องลูกอัณฑะยังคงค้างอยู่บริเวณขาหนีบ)
        • อุณหภูมิ ทารกเริ่มปรับอุณหภูมิในร่างกายตัวเองได้ดีขึ้นli>
        • ทารกอ้วนจ้ำม่ำ ทารกจะดูสมบูรณ์ มีเนื้อมีหนังมากขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังทำให้เปล่งปลั่ง รอยเหี่ยวย่นตามใบหน้าลำตัวเลือนหายไป ผมงอกยาว ขนคิ้ว ขนตาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเริ่มฝึกการมองเห็น ทารกเมื่อแรกเกิดจะมองเห็นได้ในระยะห่างเพียง 20-25 ซม. ซึ่งเท่ากับระยะที่ทารกมองเห็นได้ในครรภ์ ขณะนี้ทารก/a>มีสัดส่วนของร่างกายเท่ากับทารกที่ครบกำหนดคลอด


pregnancy_momypedia

ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

อาการปวดหลังในแม่ท้อง
คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 4 -5 กิโลกรัม ช่วงนี้จึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อไป หน้าท้องเริ่มขยายโตขึ้นเห็นชัดเจน จุดศูนย์ถ่วงของลำตัวเปลี่ยนไปเพราะน้ำหนักครรภ์ คุณแม่ต้องเอนตัวไปข้างหลังเพื่อถ่วงดุลกับหน้าท้องที่ต้องแบกรับด้านหน้า การปรับเปลี่ยนท่าทางให้ถูกต้องจะช่วยให้ลดอาการปวดหลัง


ข้อต่อต่างๆ ของกระดูกเชิงกรานจะเริ่มหลวม เพื่อให้เชิงกรานขยายตัวได้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ฐานรับน้ำหนนักกระดูกสันหลังที่กระดูกเชิงกรานก็คลอนแคลนไปด้วย คุณแม่อาจรู้สึกปวดกระดูหัวหน่าวและบริเวณก้นกบไม่น้อย
การแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ใช้หลังให้ถูกต้อง เพื่อลดภาระการแบกรับน้ำหนัก เช่น ออกกำลังกาย เดินยืนนั่งในท่วงท่าที่เหมาะสม เวลานั่งทำงานก็ควรจัดระดับโต๊ะเก้าอี้ให้สมดุล และนั่งหลังตรง เวลาก้มลงหยิบของหรือทิ้งตัวลงนั่งคุณแม่ควรงอเข่าและหลังตรง ห้ามใส่รองเท้าส้นสูงและไม่ควรยกของหนักโดยเด็ดขาด

กระตุ้นพัฒนาการของทารก
เดือนนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นของทารกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลูบสัมผัส การพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ถ้าอยากเพิ่มช่วงเวลาแห่งความผูกพัน ลองหาหนังสือนิทานมาอ่านเล่าให้ฟัง ทำเสียงเล็กเสียงน้อยไปตามตัวละคร เป็นการส่งเสริมการได้ยินของเขาและความคุ้นเคยใกล้ชิดกับพ่อแม่ ซึ่งทำให้ทารกมีสุขภาพจิตดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์


อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 7

        • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
        • ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
        • แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้



การออกกำลังกาย
คุณแม่ใกล้เห็นหน้าลูกแล้ว หาโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้างถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว หรือจะยังคงว่ายน้ำและออกกำลังกายด้วยการเดินเล่นเบาๆ ก็ยังคงทำได้

อัพเดทล่าสุด