https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 MUSLIMTHAIPOST

 

การตั้งครรภ์เดือนที่ 8


960 ผู้ชม

ตั้งครรภ์เดือนที่ 8 นี้คุณแม่เริ่มจะเดินไม่ค่อยไหวเ้พราะท้องโตมากๆ แถมลูกยังตัวใหญ่จนหายใจไม่ค่อยทัน แต่ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีจนใกล้จะได้พบหน้าพ่อแม่แล้


การตั้งครรภ์ เดือนที่ 8



pregnancy_momypedia
การเปลี่ยนแปลงของแม่
คุณแม่อุ้ยอ้ายเต็มที คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น เพราะเป็นช่วงที่เกิดโรคแทรกได้มาก เช่น ครรภ์เป็นพิษ จึงต้องตรวจวัดความดันโลหิตและปัสสาวะของคุณแม่

        • ช่องเชิงกราน บริเวณข้อต่อของกระดูกเชิงกรานหย่อนตัวอาจปวดหน่วงเชิงกรานเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ
        • เจ็บครรภ์เตือน มดลูกจะฝึกหดตัวเป็นระยะ เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะการเจ็บท้องคลอดจริง มดลูกจะนูนแข็งขึ้นมาเป็นครั้งคราวไม่เกิน 30 วินาที คุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องตึงแต่ไม่เจ็บมาก
        • หน้าท้อง มดลูกขยายตัวขึ้นตามขนาดของทารกในครรภ์ ยอดมดลูกจะขึ้นไปดันยอดอกและชายโครง ทำให้คุณแม่เกิดอาการจุกเสียดและเจ็บชายโครง สะดือจะตื้นขึ้นและคล้ำลง เส้นดำกลางลำตัวจะมีสีเข้มขึ้น
        • เท้าบวม เกิดจากน้ำหนักครรภ์กดบริเวณหลอดเลือดดำใหญ่ด้านหลังลำตัว เลือดจะเดินกลับขึ้นเข้าสู่หัวใจไม่สะดวก อาการเท้าบวมอาจเลยมาถึงหน้าแข้ง ถ้าคุณแม่มีอาการบวมมาก ควรปรึกษาคุณหมอ


พัฒนาการของทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์จะมีสัดส่วนของร่างกายเท่ากับทารกครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังต้องการใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อให้โตเต็มที่และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อยก่อนที่จะคลอดออกมาเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรง หากทารกคลอดออกมาในตอนนี้อาจมีปัญหาในเรื่องการหายใจบ้าง แต่ทารกส่วนใหญ่จะมีชีวิตรอดปลอดภัย

        • สัดส่วนของทารก ลำตัวยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,500 กรัม
        • อวัยวะต่างๆ ของทารกมีการพัฒนาไปเกือบสมบูรณ์ ยกเว้นปอดที่ยังเจริญไม่เต็มที่ แม้มีการสร้างน้ำหล่อลื่นรอบถุงลมเล็กๆ ในปอด เพื่อเตรียมตัวให้ปอดขยายเมื่อทารกเริ่มหายใจครั้งแรกขณะคลอดออกมาก็ตาม
        • การเคลื่อนไหว ทารกมักจะขยับแขนเหยียดขาเตะผนังหน้าท้องของคุณแม่จนนูนออกมาเห็นได้ชัด คุณแม่อาจนอนไม่ค่อยหลับ ใช้มือลูบท้อง และพูดคุยกับทารกเพื่อการผ่อนคลาย
        • ท่าทางของทารกในครรภ์ ทารกบางคนอาจอยู่ในท่าศีรษะลงเตรียมตัวที่จะคลอดออกมาแล้ว แต่ก็ยังมีเวลาเหลือเฟือที่ทารกจะกลับหัวลง แต่ถ้าเกิน 36 สัปดาห์ไปแล้วยังอยู่ในท่าก้น ทารกก็จะตัวโตคับครรภ์ และเกินกว่าจะกลับตัวได้ ทารกส่วนใหญ่จึงอยู่ในท่าก้นตลอดไปจนกระทั่งครบกำหนดคลอด
        • ผม ผิว เล็บ ผมทารกเริ่มขึ้นดกเต็มศีรษะ ผิวเริ่มเป็นสีชมพูเพราะไขมันสีขาวมาสะสมใต้ผิว ไขมันเหล่านี้ช่วยให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ เมื่อทารกคลอด ไขสีขาวที่พอกตามผิวหนังขณะนี้หนามาก เล็บมืองอกยาวมาถึงปลายนิ้วเล็กๆ แล้ว แต่เล็บเท้ายังงอกมาไม่ปิดปลายนิ้ว
        • การมองเห็น ทารกจะเริ่มเปิดปิดเปลือกตาและเริ่มกะพริบตาถี่ๆ ได้ รูม่านตาเริ่มขยายและหรี่ได้ ถ้ามีแสงสว่างจ้า รูม่านตาจะหรี่ลง และฝึกปรับให้คมชัดได้ แม้ว่าขณะอยู่ในครรภ์ยังไม่จำเป็นต้องใช้ก็ตาม
        • ระบบหล่อเลี้ยงทารก นับจากเดือนนี้ไปรกจะสมบูรณ์เต็มที่และสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ รวมทั้งฮอร์โมนเพศได้ในระดับสูง ฮอร์โมนจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การขยายตัวของมดลูกและการเตรียมการคลอดของคุณแม่
        • สายสะดือ มีสารคล้ายยางที่มีความยืดหยุ่นห่อหุ้มเส้นเลือดไว้ ซึ่งจะช่วยไม่ให้สายสะดือหักงอหรือพนกันเลือดจึงสามารถไปเลี้ยงทารกได้เพียงพอตลอดเวลา
        • ถุงน้ำคร่ำ จะมีน้ำปัสสาวะของทารกเป็นส่วนใหญ่ ลูกจะถ่ายปัสสาวะประมาณวันละครึ่งลิตร ในน้ำคร่ำจะมีไขเคลือบผิว สารอาหาร และสารที่จำเป็นต่อการหล่อลื่นปอดปะปนอยู่ด้วย
        • ทารกตัวโตขึ้น ทารกจะรับรู้ความมืดและสว่างจากการสะท้อนของแสงผ่านทางผนังหน้าท้อง ทารกเริ่มกลับตัวเอาศีรษะลงด้านล่างเพื่อเตรียมตัวคลอด นับจากเดือนนี้น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นในส่วนของกล้ามเนื้อและไขมัน


pregnancy_momypedia

ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

ของใช้จำเป็นก่อนคลอด
เดือนนี้คุณแม่ควรเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับตัวเองและทารกลงกระเป๋าไว้ให้พร้อม เผื่อเจ็บท้องคลอดเมื่อไรจะได้ไม่ฉุกละหุก สิ่งที่ควรเตรียมมีดังนี้

        • ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โลชั่น ฯลฯ
        • เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก กางเกงชั้นใน
        • ผ้าอนามัย 1 ห่อ
        • ชุดใส่กลับบ้าน
        • ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด
        • ถุงเท้า ถุงมือ หมวก
        • ผ้าห่อตัวเด็ก
        • ขวดนมขนาดเล็ก


กระตุ้นพัฒนาการของทารก
แสงจากภายนอกครรภ์ จะช่วยส่งเสริมระบบการมองเห็นของทารกในครรภ์ได้ ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น ผนังมดลูกของคุณแม่จะยิ่งบางลงทำให้แสงจากภายนอกส่องผ่านเข้าไปได้มากขึ้น ทารกจะเริ่มเรียนรู้เรื่องกลางวันและกลางคืน เพราะในเวลากลางคืนภายในมดลูกจะมืดสนิท ส่วนกลางวันจะมีแสงผ่านเข้าไปได้ รวมทั้งมีเสียงและการเคลื่อนไหวของแม่


เคยมีการทดลองใช้ไฟส่องเข้าไปในโพรงมดลูกและพบว่า ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แสดงว่าทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างระบบการมองเห็นของทารกโดยการส่องไฟนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน ไม่เหมือนการกระตุ้นโดยวิธีอื่นที่คุณแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทารกได้เลย


อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 8

        • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้า 3 จะช่วยให้กะโหลกศีรษะของทารกแข็งแรงและพร้อมผ่านช่องคลอดไปได้ด้วยดี
        • กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เพราะคุณแม่ต้องการปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งในช่วงตั้งครรภ์และการคลอด


การออกกำลังกาย
คุณแม่ควรฝึกบริหารและดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้การคลอดดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยออกกำลังกายประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์ คุณแม่อาจเดินเล่น ว่ายน้ำเบาๆ หรือโยคะแม่ตั้งครรภ์ก็ได้ และหาเวลาพักหลับช่วงกลางวันสัก 2 ชั่วโมงในวันที่รู้สึกเหนื่อยล้า จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้

อัพเดทล่าสุด