https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม MUSLIMTHAIPOST

 

กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม


1,600 ผู้ชม

   แพทย์เผยคนไทยป่วยโรคไตเพิ่มจากอัตรา 300 เป็น 700 ต่อล้านประชากร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง


กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม

          แพทย์เผยคนไทยป่วยโรคไตเพิ่มจากอัตรา 300 เป็น 700 ต่อล้านประชากร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง ชี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกิน ทั้งของเค็ม ซดอาหารเสริม กินยาแก้ปวด กินวิตามินซีมากเกิน 100-500 มก./วัน เป็นเวลานาน 


   
          เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กล่าวว่า จากข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตที่เข้ามารักษาในระบบประมาณ 5 หมื่นคน เพิ่มขึ้นจากอัตราการเกิดที่ 300 ต่อล้านประชากร มาเป็น 700 ต่อล้านประชากร


          ในจำนวนนี้รักษาด้วยการฟอกเลือก 70% ล้างไตทางช่องท้อง 20% และปลูกถ่ายไต 10% อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจ จะส่งผลให้เป็นโรคไตในอนาคตประมาณ 60% ซึ่งหากไม่ควบคุมให้ดี ๆ คาดว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าจะส่งผลให้เป็นโรคไตตามมาประมาณ 40% และจากนั้นอีก 5 ปีข้างหน้าจะเกิดปัญหาไตวายเรื้อรัง

กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม


          ทั้งนี้ นอกจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตคือ



           1.  การอั้นฉี่จนเกิดภาวะเกิดนิ่วที่ไต
           2.  การอักเสบของหลอดเลือดฝอย ปัสสาวะเป็นเลือด
           3.  การรับประทานยาแก้ปวดเป็นเวลานาน
           4.  การรับประทานผลไม้บางชนิด เช่น มะเฟือง ที่มีกรดออกซาลิก แอซิด จำนวนมากและเป็นเวลานาน

กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม


           5.  การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม
           6.  การรับประทานวิตามินซีในปริมาณสูงเกินกว่า 100-500 มิลลิกรัม เป็นเวลานาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย เพราะเพียงแค่รับประทานผัก-ผลไม้สดก็ได้วิตามินซีแล้ว
           7.  สาเหตุที่ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคอีสานจะมีปัญหาเป็นนิ่วมาก ภาคใต้ที่นิยมรับประทานลูกไหน ก็ทำให้เป็นนิ่วเช่นกัน

กินวิตามินซี-ยาแก้ปวดมากไป เสี่ยงป่วยโรคไตเพิ่ม


          อย่างไรก็ตาม นพ.สมเกียรติ ก็แนะนำว่า สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรไปรับการตรวจสภาพการทำงานของไตอย่างน้อยปีละครั้ง หากยังไม่พบความผิดปกติก็ให้ดูแลร่างกาย และเฝ้าระวังสุขภาพของตัวเอง หากมีอาการบวมตามขา ก้นกบ ใบหน้า ให้รีบไปตรวจหาโรคไต


          "ที่ประเทศไทยมีการรณรงค์เรื่องนี้กันมานาน แต่คนยังเป็นโรคไตกันเพิ่มขึ้น เป็นเพราะไม่ตระหนักกัน มีความอยากต่าง ๆ นับว่าโรคที่เกิดจากพฤติกรรม ดังนั้นการป้องกันที่ดีคือยังย้ำว่าต้องลดเค็ม เพราะเป็นตัวการให้เกิดความดันสูง ต้องคุมเบาหวาน คุมน้ำตาลให้ดี" นพ.สมเกียรติ กล่าว

อัพเดทล่าสุด