https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
Shaken Baby Syndrome, ถูกเขย่า, กระแทก, เด็ก MUSLIMTHAIPOST

 

Shaken Baby Syndrome, ถูกเขย่า, กระแทก, เด็ก


857 ผู้ชม


จับลูกเขย่า…ระวัง shaken baby syndrome

โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ าจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้จัดการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะด้วยความโมโห หรือเล่นรุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Shaken Baby Syndrome ส่งผลต่อสมอง และอันตรายถึงชีวิต!


baby_Momypedia.com

Shaken Baby Syndrome
ทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากการถูกเขย่าว่า Shaken Baby Syndrome หลายรายนอกจากโดนเขย่าอย่างรุนแรงแล้ว ยังโดนจับกระแทกกับที่นอนกับหมอนด้วย ซึ่งมีผลให้สมองได้รับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นอีกถึง 50 เท่า โอกาสจะกลายเป็นเด็กพิการหรือเสียชีวิตก็ยิ่งมีมาก (บางรายแย่ยิ่งกว่านี้ นั่นคือโดนจับกระแทกกับของแข็ง เช่น ขอบเตียง เก้าอี้ ทำให้เด็กแบเบาะกระดูกแขน ขา ซี่โครง หรือกะโหลกศีรษะแตก)

เด็กที่โดนเขย่ารุนแรงหลายๆ รายมักไม่เห็นร่องรอยของการบาดเจ็บจากภายนอก ไม่ได้รีบส่งมารักษา ทั้งที่มีอาการของ Shaken Baby Syndrome จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง (เด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome จำนวน 1 ใน 3 คน มักจะเสียชีวิต) ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป

ต้องอย่าลืมว่า ลูกวัยแบเบาะกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ศีรษะก็ยังพยุงเองไม่ได้ แล้วสมองนั้นเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการทั้งร่างกายและจิตใจ แต่สมองของเด็กน้อยมีโอกาสได้รับการกระทบกระเทือนได้โดยง่าย เพราะศีรษะเด็กมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของลำตัว การพลัดตกหกล้ม ศีรษะจึงมักจะลงก่อน การกระเทือนถึงสมองจึงเป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง

มีอีกกรณีที่เราอาจนึกไม่ถึง ก็คือการที่เด็กแบเบาะโดนเขย่าอย่างรุนแรงจนตาบอด พิการ หรือเสียชีวิต หลายสิบปีก่อนที่คนทั่วไป แม้แต่แพทย์เองก็ยังงงกับอาการของเด็กในวัยแค่ไม่กี่เดือนที่ผู้ใหญ่อุ้มมาพบด้วยอาการชัก หยุดหายใจเป็นช่วงๆ เนื้อตัวเขียว แถมหลายคนกลายเป็นเด็กพิการในเวลาต่อมา และหลายรายถึงกับสิ้นใจตาย เมื่อแพทย์ทำการผ่าชันสูตรก็พบว่าเด็กมีเลือดออกในสมองเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ดูภายนอกแล้วก็ไม่มีบาดแผลหรือริ้วรอยการถูกทำร้ายแม้แต่น้อย...

เหตุใดการเขย่าถึงกับทำให้ทารกน้อยพิการ หรือเสียชีวิต ?

การเขย่าลูกน้อยอย่างรุนแรงและกระชากกลับอย่างรวดเร็ว (Violently Shaken) ความร้ายแรงนั้นเปรียบได้กับการขับรถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน การถูกแรงเหวี่ยงไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว มีผลให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เชื่อมกันระหว่างเนื้อเยื่อของสมองฉีกขาดแล้วเลือดออก (เขย่าไปด้านข้าง เลือดก็จะออกจากสมองด้านข้าง ถ้าเขย่าไปด้านหน้าเลือดก็จะออกจากสมองด้านหน้า) เส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริ ฉีกขาด และมีเลือดออก

สมองของเด็กแบเบาะมีส่วนที่เป็นน้ำมากกว่าส่วนที่เป็นเนื้อสมอง การโดนผู้ใหญ่เขย่าไปมา อย่างไม่ปรานีปราศรัย จะมีผลให้เนื้อสมองแกว่งไป แกว่งมา แล้วไปกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ จนสมองบอบช้ำเสียหาย นอกจากนั้นเส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริฉีกขาด มีเลือดออกได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหน อย่างไร เราไม่ควรเขย่าลูก แต่ถ้าพบเห็นเด็กถูกเขย่า หรือพ่อแม่เองที่เผลอทำเสียเอง สิ่งที่ควรทำก็คือตั้งสติให้เยือกเย็นลง และรีบแก้ไขดังนี้

1. พาเด็กไปรับการตรวจกับแพทย์ทันที

2. อาการเริ่มแรกของผลกระทบจากการเขย่าเด็กรุนแรงก็คืออาเจียน หรือหายใจลำบาก ซึ่งคล้ายอาการของโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ภาวะปวดท้อง 3 เดือน (โคลิก) กินนมมากเกินไป หรือให้นมไม่ถูกวิธี ดังนั้นจะต้องบอกคุณหมอว่าเด็กถูกเขย่าอย่างรุนแรง เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาทันเวลา เพราะอาการ Shaken Baby Syndrome อาจมีผลให้สมองเด็กได้รับอันตราย หรือเลือดออกในสมองเพราะการเขย่ารุนแรง ซึ่งต้องรีบทำการรักษา มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จนอาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กได้ทัน


อัพเดทล่าสุด