https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ MUSLIMTHAIPOST

 

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ


1,994 ผู้ชม

การดูว่า ยาหมดอายุ หรือไม่นั้น เริ่มแรก คือดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งทั่วๆ ไป เราถือว่า หากเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปีค่ะ และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน


 

การดูว่า ยาหมดอายุ หรือไม่นั้น เริ่มแรก คือดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งทั่วๆ ไป เราถือว่า หากเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปีค่ะ และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน

 

นอกจากนี้ เรายังมีวิธีสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพด้วยวิธีดังต่อไปนี้คือ

1. ยาเม็ด สังเกตว่าเม็ดยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา หรือหากเป็นยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยาอาจเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม

2. ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน ผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตมาก

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ

3. ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สี หรือรสเปลี่ยนไป

4. ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมีลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ

5. ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าพบว่าเนื้อยาแข็งหรืออ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีของยาเปลี่ยนไป ทิ้งดีกว่าค่ะ

เมื่อทราบกันอย่างนี้แล้ว ทางที่ดีไม่ควรเสี่ยงใช้ยาหมดอายุนะคะ เพราะอาจเกิดอันตรายกับร่างกายของคุณภายหลังใช้ยาได้

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ

 

อัพเดทล่าสุด