https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ระวัง! สารพัดโรคจาก รองเท้าส้นสูง MUSLIMTHAIPOST

 

ระวัง! สารพัดโรคจาก รองเท้าส้นสูง


969 ผู้ชม


ระวัง! สารพัดโรคจาก รองเท้าส้นสูง

ระวัง! สารพัดโรคจาก รองเท้าส้นสูง

คนรักส้นสูง ต้องอ่าน! (e-magazine)
          ส้นสูง นับเป็นของคู่กันกับหญิงสาว แต่นอกจากรองเท้าส้นสูงจะทำให้หลังตรง สูงเพรียว และหุ่นดูสวยสง่าแล้ว รองเท้าส้นสูงยังอาจนำโรคร้ายมาสู่ตัวคุณ ซึ่งแน่นอนว่า คงไม่มีสาวหน้าไหนอยากเจ็บตัวอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจะชวนคุณมาพลิกแผ่นดิน เพื่อตามล่าส้นสูงที่จะทำให้คุณดูดีได้แบบไม่ต้องร้องโอดครวญ
 สารพัดโรคที่มาพร้อมรองเท้าส้นสูง
          เรื่องความสูงของส้นรองเท้านั้น มีหลายคนเขียนไว้แตกต่างกัน บางท่านก็แบ่งเพศว่า ชายสูงไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร หญิงสูงไม่เกิน 4.5 เซนติเมตร จนในที่สุดก็มีผู้ทำการศึกษาวิจัยโดยทำการทดลองให้หญิงสาวสวมรองเท้าส้นสูงในขนาดต่าง ๆ กัน แล้วให้เดินสายพาน ในความเร็วประมาณ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงและศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อและการขยับของข้อต่าง ๆ ซึ่งพบว่า ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อรองเท้าส้นสูงเกินกว่า 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงการทดลองในผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงประจำครึ่งหนึ่งและใส่ส้นเตี้ยประจำครึ่งหนึ่ง ซึ่งการสวมรองเท้าส้นสูงจนเป็นนิสัยนั้นจะนำพาโรคเหล่านี้มาสู่คุณ
1. กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวาย
          ในขณะที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงคุณสาว ๆ ต้องยืนอยู่ในท่าเขย่ง ซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในท่านี้เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวายตึงและหดสั้น สังเกตได้จากอาการปวดน่องบ่อย ๆ จากการเดินหรือการเป็นตะคริว
2. โครงสร้างของเท้า
          เมื่อกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวายหดสั้นอยู่บ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างของเท้า เมื่อยืนด้วยเท้าเปล่าจะเห็นว่าเท้าแบนทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอุ้งเท้าและส้นเท้าจนกลายเป็นปัญหาฝ่าเท้าตามมา
3. กระดูกสันหลัง
          การใส่รองเท้าส้นสูงทำให้ปลายเท้าส่วนหน้าต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายไว้เกือบทั้งหมด เพื่อให้สามารถยึดตัวให้ตั้งตรงและทรงตัวได้ ในขณะเดียวกันสรีระของร่างกายก็จะปรับให้อวัยวะส่วนหลัง บริเวณช่วงเอวแอ่นไปด้านหลังส่งผลให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อจนถึงขั้นปวดหลังในที่สุด
 การปฐมพยาบาล
          ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าจากการใส่ส้นสูง ให้ใช้ความเย็นซึ่งอาจจะเป็นถุงน้ำแข็ง ประคบไว้ประมาณ 20-30 นาที ขณะเดียวกันให้ยกขาสูง และลดการใช้งาน สามารถประคบได้ บ่อย ๆ 4-5 ครั้งต่อวัน หรือทุก 2 ชั่วโมง ในวันแรกที่ได้รับบาดเจ็บ ควรประคบต่ออีก 2-3 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความร้อน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือกลับแย่ลง ให้ไปปรึกษาแพทย์ครับ ข้อสำคัญ คือ ห้ามนวด หรือห้ามดัดบิดข้อเท้า
          จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ในต่างประเทศ พบว่ามีสุภาพสตรีที่มีปัญหาเรื่องปวดเท้า ประมาณ 80% และในจำนวนนี้ มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับรองเท้าส้นสูงถึง 75% จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจึงมีผู้มาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดเท้า แต่ในบางรายก็อาจจะเป็นเนื่องจากรูปร่างของเท้าที่ผิดปกติ
          สำหรับเรื่องรองเท้าส้นสูงที่เกิน 2 นิ้ว อาจส่งผลให้เกิดปัญหา ตั้งแต่เล็บเท้าขบ หูดหรือตาปลาที่ฝ่าเท้า เส้นประสาทเท้าอักเสบ เอ็นข้อเท้าอักเสบ กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายหดรั้ง การบาดเจ็บจากเท้าพลิก นอกจากนี้ ยังมีอาการเจ็บเข่าเนื่องจากการเกร็งของเข่าเพื่อการทรงตัว และที่สำคัญ คือ ยังส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วยครับ การทานอาหารให้ครบหมู่ มีสารอาหารและแคลเซียมเพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ต้องควบคุมน้ำหนักตัวด้วย
          อย่างไรก็ตาม วัยไหน ๆ ก็ไม่เหมาะที่จะใส่รองเท้าส้นสูง โดยเฉพาะเด็ก และสตรีมีครรภ์ ใส่ส้นสูงให้ปลอดภัยใส่ไม่เกิน 2 นิ้ว เลือกชนิดที่มีสายรัดบนหลังเท้า และพื้นรองเท้ากว้างรับกับแผ่นเท้าทั้งหมด วัสดุที่รองเท้าต้องนุ่ม ช่วงเวลาที่ใส่ให้สั้นที่สุด และต้องออกกำลังกายยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่อง

อัพเดทล่าสุด