https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทำไมจะต้อง การฝากครรภ์ MUSLIMTHAIPOST

 

ทำไมจะต้อง การฝากครรภ์


1,726 ผู้ชม


ทำไมจะต้อง การฝากครรภ์

ภาพประกอบ: https://healthywomanusa.com/blog/what-to-expect-from-your-doctor-when-youre-pregnant


คุณแม่ทุกคนปรารถนาให้ช่วงเวลาการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกแข็งแรง สมบูรณ์ การฝากครรภ์จึงมีประโยชน์และจำเป็นต่อคุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพราะคุณหมอจะได้ดูแลคุณแม่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังให้ความรู้อันเหมาะสมต่างๆ ในการดูแลครรภ์ เพราะบางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอจะสามารถรักษาได้ทันท่วงที หรือในบางครั้งคุณแม่อาจต้องรับการตรวจพิเศษ เพื่อให้ทราบสาเหตุแน่ชัดของปัญหาผิดปกติที่เกิดขึ้นคุณแม่จึงควรไปฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์


ฝากครรภ์ที่ไหนดี
สิ่งแรกที่คุณแม่จะต้องคิดตัดสินใจในการไปฝากครรภ์แรก

        • ควรสอบถามจากเพื่อน ญาติพี่น้องที่เคยตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
        • คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วอาจจะฝากท้องกับคุณหมอสูติที่คุ้นเคย
        • ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกฝากครรภ์ที่ใด ควรจะคิดด้วยว่าหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น สามารถไปโรงพยาบาลได้สะดวก

ในช่วง 7 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดให้คุณแม่มาตรวจเดือนละ 1 ครั้ง หลังจาก 7 เดือนแล้ว ก็จะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง และจะนัดทุกสัปดาห์ในช่วง 1 เดือนก่อนคลอด สำหรับคุณที่ตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดให้มาตรวจถี่ขึ้นกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตามปกติในช่วง 2 เดือนก่อนคลอด

โรงพยาบาลรัฐ
คุณแม่ที่ตัดสินใจไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาลใหญ่ๆ ของรัฐอาจจะต้องรอการตรวจนานกว่าปกติ เพราะมีผู้ไปรับบริการกันมาก คุณหมอที่ตรวจก็จะผลัดเปลี่ยนกันไปไม่ใช่หมอคนเดิม คุณแม่อาจรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะมีประวัติการรักษาตามหลักวิชาการอยู่แล้ว

โรงพยาบาลเอกชน
ในกรณีที่คุณแม่ไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเอกชนก็จะได้พบกับคุณหมอคนเดิมทุกครั้ง ทำให้มั่นใจว่าตัวเองได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่ต้องคิดว่าจะเลือกเสียค่าใช้จ่ายมากเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย หรือจะสะดวกน้อยหน่อย ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลรัฐแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า


เตรียมตัวไปฝากครรภ์
ก่อนไปตรวจครรภ์ทุกครั้งคุณแม่ควรเตรียมคำถามที่สงสัยหรือกลัวว่าจะปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องไปถามคุณหมอ เพราะเวลาอยู่ต่อหน้าคุณหมอ คุณแม่อาจนึกคำถามไม่ออก การจดข้อสงสัยใส่กระดาษเป็นวิธีกันลืมที่ดี ไม่ต้องเสียเวลามานั่งนึก โดยเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐซึ่งมีผู้ใช้บริการมาก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ควรสอบถามเอาเองจากผู้อื่นหรือทำตามความเชื่อที่เคยปฏิบัติกันมา


การที่จะรู้วันกำหนดคลอดได้ ต้องใช้ประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ประกอบการคำนวณ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรจดจำการมีประจำเดือนของตนเองให้ได้
อายุครรภ์ครบกำหนดคลอดปกติประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือวันกำหนดคลอดนั้นคำนวณได้โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด
ถ้าคุณแม่จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้เลย ก็ควรสังเกตว่าทารกในท้องดิ้นเมื่อไร เพราะคุณหมอจะคำนวณวันคลอดจากประวัติการดิ้น คุณแม่ครรภ์แรกจะรู้สึกว่าทารกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ แต่วิธีนี้มีโอกาสทำให้คุณแม่คะเนวันคลอดคลาดเคลื่อนได้ คุณหมอก็จะตรวจร่างกายคุณแม่เพื่อประเมินอายุครรภ์โดยการวัดระดับยอดมดลูกของคุณแม่ได้อีก
ปัจจุบันการใช้อัลตราซาวนด์คำนวณอายุครรภ์เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย คุณหมอสามารถบอกอายุครรภ์ของทารกได้อย่างใกล้เคียงเมื่อตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ คุณแม่ที่มีประวัติประจำเดือนไม่แน่นอน เมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจทารกในครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์ทันที ซึ่งพบว่ามีความแม่นยำสูงมาก ถ้าคุณได้รับการตรวจในช่วงอายุครรภ์ก่อน 3 เดือน


ฝากครรภ์ครั้งแรก
เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรจะไปฝากครรภ์ทันที คุณหมอจะซักประวัติและสอบถามโดยละเอียดเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์

        • ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ และมาสม่ำเสมอหรือไม่
        • สุขภาพโดยทั่วไปของคุณแม่
        • สิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของคุณแม่
        • ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อนๆ รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น
        • ญาติพี่น้องมีครรภ์แฝดหรือไม่
        • โรคที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ซึ่งคุณแม่อาจมีโรคที่ว่านี้แอบแฝงอยู่ เช่น โรคเลือด เบาหวาน เป็นต้น
        • โรคที่คุณแม่เคยเจ็บป่วยรุนแรงหรือโรคที่เจ็บป่วยในวัยเด็ก
        • ประวัติการแพ้ยาและยาที่คุณแม่ใช้ประจำ


สมุดฝากครรภ์คืออะไร
ครั้งแรกที่คุณแม่มาฝากครรภ์ คุณหมอจะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดรวมทั้งตรวจเลือดและปัสสาวะ ผลการตรวจทุกอย่างจะถูกบันทึกลงในใบฝากครรภ์หรือสมุดฝากครรภ์ซึ่งเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวหรือบัตรประชาชนของทารกในครรภ์


คุณแม่ควรนำบัตรนี้ติดตัวไปด้วยเสมอโดยเฉพาะเมื่อเดินทางไกลซึ่งอาจเกิดภาวะฉุกเฉินต้องเข้าโรงพยาบาล คุณหมอจะดูแลรักษาคุณแม่และทารกตามข้อมูลที่บันทึกไว้
ถ้าคุณแม่ไม่มีสมุดฝากครรภ์ติดตัวคุณหมอจะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณแม่ ไม่ทราบว่ามีปัญหาอะไรบ้าง รักษามาอย่างไรและมีผลเลือดอย่างไร คุณแม่อาจจะต้องเจาะเลือดใหม่ ซึ่งทำให้เสียเวลาด้วย

 ภาพประกอบ:https://www.integranaturopathics.com/programs/baby-and-me-pregnancy-program/



สิ่งที่ควรถามเมื่อไปฝากครรภ์

        • กำหนดคลอดจะถึงเมื่อไหร่ เพื่อคุณแม่จะได้เตรียมตัวให้พร้อม
        • อาหารการกิน จากการวิจัยพบว่า อาหารการกินส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักและสุขภาพโดยรวมของทารก
        • ต้องเสริมกรดโฟลิกหรือไม่ อย่างไร เพราะกรดโฟลิกช่วยสร้างอวัยวะโดยเฉพาะบริเวณสันหลังให้สมบูรณ์
        • ยาชนิดใดเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์บ้าง การกินยาขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ก่อนใช้ยาต้องสอบถามคุณหมอทุกครั้งแม้จะเป็นยาที่เคยใช้ประจำก็ตาม
        • ออกกำลังกายแบบใดได้บ้าง คุณแม่ที่สนใจการออกกำลังกาย ควรปรึกษาจากคุณหมอ
        • จะต้องมาตรวจครั้งต่อไปเมื่อไร เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ต้องมาพบคุณหมอสม่ำเสมอตามนัด
        • ต้องตรวจอะไรบ้าง สุขภาพ อายุ โรคประจำตัว ฯลฯ ของคุณแม่แต่ละคนก็แตกต่างกันไป ควรสอบถามคุณหมอให้แน่ชัดว่าต้องตรวจอะไรบ้าง
        • อัลตราซาวนด์ต้องตรวจหรือไม่ ส่วนใหญ่คุณหมอจะแนะนำให้อัลตราซาวนด์เพื่อดูการเติบโตของทารกในครรภ์และกำหนดอายุครรภ์ และในกรณีที่จำเป็น เช่น ตั้งครรภ์แฝด หรือคุณแม่มีความเสี่ยงสูง
        • สิทธิที่คุณแม่ควรได้รับ หรือสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ เช่น ค่าลดหย่อนในการตรวจครรภ์ การออกใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงานพักงาน ฯลฯ ควรบอกให้คุณหมอทราบด้วย
        • สิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก เช่น เชื้อโรคจากแมว ควันบุหรี่ การติดเชื้อที่ทำให้แท้งบุตร พิษจากสารเคมี ฯลฯ เลี่ยงอย่างไรให้ปลอดภัย คุณหมอจะให้คำปรึกษาแนะนำได้
        • คลอดเองได้หรือไม่ คุณแม่ควรยืนยันแสดงการความตั้งใจให้ชัดเจน


การตรวจสุขภาพเมื่อฝากครรภ์
คุณหมอจะตรวจร่างกายคุณแม่อย่างละเอียดในครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์ รวมทั้งตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย เมื่อตรวจร่างกายแล้วคุณหมอจะสามารถบอกได้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ สิ่งที่คุณหมอตรวจมีดังนี้

        • ชั่งน้ำหนัก น้ำหนักจะเป็นตัวบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ในช่วง 3 เดือนแรก คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารไม่ได้เลย ทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้น หลังจากสามเดือนไปแล้ว น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม หรือประมาณ 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์
        • การตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าปกติ มีอาการบวม และความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษสูง จำเป็นต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด และตรวจอัลตราซาวนด์ถี่กว่าปกติ
        • วัดส่วนสูง คุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก ตัวเตี้ย โดยเฉพาะสูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตร ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดเองยาก เนื่องจากอุ้งเชิงกรานมีขนาดเล็กแคบ ทำให้ศีรษะของทารกไม่สามารถผ่านทางช่องคลอดออกมาได้ คุณแม่จึงมีโอกาสต้องผ่าคลอดสูงกว่าปกติ
        • ตรวจอาการบวม บริเวณข้อมือ เท้า และลำตัว คุณแม่อาจมีโอกาสบวมได้ในช่วงเดือนหลังๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เพราะมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนกลับไม่สะดวกจนเกิดอาการบวมขึ้นได้ บางครั้งคุณแม่อาจมีอาการชาด้วยเพราะเส้นประสาทถูกเนื้อเยื่อที่บวมมากกดรัดไว้
        • ตรวจเต้านม นมแม่มีประโยชน์มากต่อทารก ถ้าคุณหมอตรวจพบว่าลานนมและหัวนมมีความผิดปกติทำให้ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เช่น หัวนมแบนหรือบอด คุณหมอจะให้คำแนะนำในการเตรียมหัวนม โดยการดึงยืดหัวนมหรือใส่ปทุมแก้ว เพื่อกดลานนมให้หัวนมโผล่ ก็จะช่วยให้ทารกดูดได้
        • ตรวจหน้าท้อง เพื่อดูขนาดของมดลูกและการเจริญเติบโตของทารก มดลูกจะเจริญเติบโตจนพ้นกระดูกหัวหน่าว คลำได้ชัดเจนเมื่อตั้งครรภ์เกิน 3 เดือน และจะโตจนถึงระดับสะดือเมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์หรือ 5 เดือน มดลูกจะโตขึ้นจนถึงระดับลิ้นปี่เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ และหลังจากนั้นท้องจะลดลง จนใกล้ครบกำหนดคลอด ศีรษะทารกอเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน จากการตรวจหน้าท้องคุณหมอจะบอกได้ว่าทารกอยู่ในท่าใด ศีรษะหรือก้นเป็นส่วนนำ หรือศีรษะเข้าสู่อุ้งเชิงกราน
        • วัดความดันโลหิต ความดันโลหิตมีอยู่ 2 ค่า คือ ความดันช่วงหัวใจบีบตัวและความดันช่วงหัวใจคลายตัว คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีความดันโลหิตระหว่าง 120/70 มิลลิเมตรปรอท แต่ช่วงตั้งครรภ์ประมาน 7-8 เดือน ความดันโลหิตจะลดลงอีกเล็กน้อย เพราะความต้านทานของเส้นเลือดในร่างกายจะลดลง ถ้าพบว่าคุณแม่มีความดันโลหิตสูง มีอาการบวมและมีไข่ขาวในปัสสาวะ สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษมากขึ้น
        • ตรวจร่างกายทั่วไป คุณหมอจะตรวจสภาพร่างกายทั่วๆ ไป ดูภาวะซีดเหลือง หรืออ่อนเพลียผิดปกติหรือไม่ ตรวจการทำงานของหัวใจ ปอด รวมทั้งตรวจหน้าท้องหาความผิดปกติของ ตับ ไต ม้าม หรือเนื้องอกอื่นๆ ที่ผิดปกติในช่องท้อง ถ้าตรวจพบสิ่งใดคุณหมอจะนัดให้คุณแม่มาตรวจครรภ์ถี่กว่าปกติและอาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม
        • ตรวจภายใน ปกติคุณหมอจะตรวจภายในเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น เช่น เจ็บครรภ์ มีมูกเลือด น้ำเดิน เพื่อตรวจดูว่าปากมดลูกเปิดกว้างเท่าใด และทารกมีส่วนนำเป็นอะไร รวมทั้งประเมินขนาดอุ้งเชิงกรานด้วยว่าคุณแม่จะสามารถคลอดเองได้หรือไม่ โรงพยาบาลบางแห่งจะตรวจเช็กมะเร็งปากมดลูกให้ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรก แต่ส่วนใหญ่คุณแม่จะได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกหลังคลอดประมาณ 4-6 สัปดาห์
        • ตรวจเลือด สิ่งสำคัญอีกอย่างเมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก คือการตรวจเลือด คุณหมอจะนำเลือดคุณแม่ไปตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด หมู่ ABO และ Rh ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคเอดส์

คุณแม่ตั้งครรภ์ปกติจะมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณน้ำในร่างกายสูงขึ้น ระดับความเข้มข้นของเลือดหรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดมีความสำคัญสำหรับคุณแม่ เพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งให้ทารกในครรภ์ด้วย
ถ้าตรวจพบว่าคุณแม่มีระดับความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าอาจเป็นโรคเลือดบางชนิด โดยเฉพาะโรคเลือดทาลัสซีเมีย โรคพยาธิปากขอ หรือซีดจากการขาดธาตุเหล็ก คุณแม่จะได้รับการตรวจอุจจาระและเลือดอย่างละเอียดอีกครั้ง
คุณแม่ที่ติดเชื้อโรคซิฟิลิสมักจะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าติดโรคนี้ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีอาการและอาการแสดง แต่ถ้าคุณหมอตรวจพบเชื้อนี้ในเลือด คุณหมอจะรักษาด้วยการฉีดยาทันที เพราะเชื้อนี้เป็นสาเหตุของการแท้งทารก การคลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์หรือมีความพิการตามมาได้
ปัจจุบันนี้ทุกโรงพยาบาลจะตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสเอดส์กันมากขึ้น เพื่อดูแลทารกในครรภ์ให้ดีขึ้น คุณหมอสามารถให้ยาแก่คุณแม่เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสเอดส์ไปยังลูกน้อย จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ที่ได้รับยารักษาโรคเอดส์ในระหว่างตั้งครรภ์จะสามารถลดการติดเชื้อเพียง 8 % เท่านั้น ส่วนคุณแม่ที่ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี คุณหมอจะเตรียมฉีดวัคซีนไว้สำหรับฉีดป้องกันการติดเชื้อของลูกทันทีที่คลอด

ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
คุณหมอจะตรวจปัสสาวะเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์และตรวจหาไข่ขาวปัสสาวะ เพื่อช่วยบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเฉพาะโรคติดเชื้อและโรคไตบางชนิด หรือถ้าตรวจพบร่วมกับความดันโลหิตสูงและคุณมีอาการบวมมาก แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ
ถ้าพบน้ำตาลในปัสสาวะ คุณหมอจะตรวจเลือดอย่างละเอียด หากชี้วัดว่าคุณแม่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ควรจะได้รับฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดต่อไป หรือถ้าผลการตรวจเลือดไม่พบว่าคุณแม่เป็นเบาหวาน คุณแม่จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะซ้ำในการฝากครรภ์ครั้งต่อไป เพราะโรคเบาหวานบางครั้งอาจตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้นก็ได้

        • แอลฟา-ฟีโต โปรตีน คือสารโปรตีนชนิดหนึ่งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะมีการสร้างไข่แดงสำหรับใช้เลี้ยงทารก เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นก็จะมีการสร้างที่ตับของทารกในครรภ์

เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นในครรภ์ ปริมาณสารแอลฟา-ฟีโต โปรตีนจะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คุณหมอสามารถใช้ปริมาณของสารนี้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

  • จะพบสารแอลฟา-ฟีโต โปรตีนสูงขึ้นในคุณแม่ที่มีครรภ์แฝด นับประจำเดือนคลาดเคลื่อน มีความเสี่ยงต่อการแท้ง และทารกมีความผิดปกติของไตหรือระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ถ้าพบว่ามีสารตัวนี้ผิดปกติ คุณหมอจะตรวจต่อไปด้วยการอัลตราซาวนด์ เพื่อหาอายุครรภ์ที่ถูกต้อง และตรวจดูว่ามีภาวะผิดปกติใดๆ ที่สงสัยหรือไม่
  • เมื่อตรวจด้วยอัลตราซาวนด์แล้วไม่พบความผิดปกติๆ คุณหมอจะตรวจเพิ่มเติมโดยเจาะเลือดคุณแม่ หรือการเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อหาความผิดปกติ
  • สารแอลฟา-ฟีโต โปรตีน มีค่าแตกต่างกันตามช่วงอายุครรภ์ โดยมากแล้วมีค่าไม่สูงนักในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ดังนั้น หากคุณแม่ได้เจาะตรวจสารตัวนี้ผลออกมาสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า แสดงว่าอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทของทารกได้ เช่น เด็กหัวโตผิดปกติ กระดูกสันหลังไม่ปิด
  • หากค่าของสารแอลฟา-ฟีโต โปรตีนต่ำกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า ทารกในครรภ์อาจมีความผิดปกติของสมอง ซึ่งมักพบในรายที่เป็นเด็กดาวน์ หากตรวจพบสิ่งปกติ คุณหมอจะตรวจยืนยันด้วยการเจาะตรวจน้ำคร่ำอีกครั้ง

ที่มา: มัมมี่พิเดีย

อัพเดทล่าสุด