https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ดูแลเด็กภูมิแพ้ เมื่อเป็นภูมิแพ้ในหน้าหนาว MUSLIMTHAIPOST

 

ดูแลเด็กภูมิแพ้ เมื่อเป็นภูมิแพ้ในหน้าหนาว


2,204 ผู้ชม


ดูแลเด็กภูมิแพ้ เมื่อเป็นภูมิแพ้ในหน้าหนาว

ภาพประกอบ: ABC

ถึงแม้ในกรุงเทพฯ จะไม่ได้สัมผัสอากาศหนาวเย็นเท่าไหร่ แต่ในหลายๆภาคประเทศไทย ก็ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว และในช่วงอากาศหนาวๆ อย่างนี้ มีโอกาสที่เด็กๆ จะมีอาการภูมิแพ้เกิดขึ้นได้ง่าย ทั้งโรคแพ้อาหาร โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหอบหืด ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการภูมิแพ้ต่างๆ จะกำเริบ มีวิธีสังเกตค่ะ

  • อาการแพ้ทางผิวหนัง ผิวจะแห้งมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการคัน เด็กจะเกาจนส่งผลให้ผื่นลุกลามมากขึ้น
  • จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จะเป็นหวัดมากขึ้น มีอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูกและคัดจมูก ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว และหากติดเชื้อซ้ำเติมก็จะทำให้มีอาการเพิ่มมากขึ้น จนอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไซนัสอักเสบ หูอักเสบได้
  • โรคหอบหืด นอกจากจะเป็นหวัดง่าย และกระตุ้นให้เกิดอาการหอบแล้ว ในกลุ่มที่มีอาการหอบสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย จะมีอาการได้ง่ายขึ้นในช่วงอากาศเย็นด้วย อาการที่สังเกตได้ คือ ไอช่วงกลางคืน หรือไอภายหลังจากออกกำลังกาย บางครั้งอาจหายใจมีเสียงวี้ด ๆ และมีอาการหอบ


โรคภูมิแพ้ทุกชนิดเราป้องกันไม่ให้อาการมากขึ้นในฤดูหนาว โดย
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อรา โดยปิดหน้าต่างเมื่อมีลมแรง หมั่นกำจัดใบไม้ร่วงที่ทับถมบนพื้น รวมถึงเศษหญ้าชื้นแฉะในสนามทั่วไป และควรสวมใส่หน้ากาก ถ้าต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงกับการฟุ้งกระจายของเชื้อรา เช่น กวาดใบไม้หรือดูดฝุ่น ส่วนผู้ที่แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนนิดอื่น ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่แพ้อย่างเคร่งครัด
2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงลดภูมิแพ้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหวัด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้ร่างกายอบอุ่น
3. ควรใช้ยาควบคุมอาการภูมิแพ้เป็นประจำและสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยาในช่วงนี้ สำหรับการดูแลเฉพาะโรคนั้นอาจมีเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ได้แก่
3.1 โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ควรดูแลไม่ให้ผิวแห้ง โดยหมั่นทาโลชั่นทุกวัน เช้า-เย็น
3.2 โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ถ้าเริ่มมีน้ำมูกควรล้างจมูกทุกวัน เพื่อลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ และยังเป็นการช่วยให้น้ำมูกไม่สะสมในจมูก
3.3 โรคหอบหืด ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนเสมอ และในรายที่มีอาการหอบในช่วงออกกำลังกาย อาจป้องกันโดยใช้ยาพ่นขยายหลอดลม ก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที และควรพกยาขยายหลอดลมติดตัวเสมอ
*ที่สำคัญ ผู้ป่วยภูมิแพ้ทุกชนิด หากสังเกตว่าร่างกายเริ่มมีอาการผิดปกติมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

ที่มา: มัมมี่พิเดีย

อัพเดทล่าสุด