https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทารกตัวเหลือง ทำอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

ทารกตัวเหลือง ทำอย่างไร


2,603 ผู้ชม


ทารกตัวเหลือง ทำอย่างไร

ภาวะตัวเหลืองหลังคลอดเกิดขึ้นได้ในเด็กแรกเกิด แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามีเกร็ดน่ารู้ การดูแลเด็กตัวเหลืองหลังคลอด และการรักษารวมทั้งวิธีป้องกันอาการเด็กตัวเหลือง มาฝากคุณแม่หลังคลอดกันค่ะ ส่วนความเชื่อที่ว่าเด็กตัวเหลืองหลังคลอดเพราะกินน้ำน้อย จริงหรือไม่ เรามีคำตอบจากนิตยสาร Modern Mom มาบอกกันค่ะ ...
           อาการตัวเหลืองในทารกหลังคลอดก็เป็นอีกภาวะที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งเกิดได้หลากหลาย สาเหตุ ก็เป็นคำถามที่น่าสงสัยอย่างหนึ่งที่สร้างความกังวลให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก ที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุความเป็นมาของอาการตัวเหลืองหลังคลอดของลูกได้อย่างชัดเจน
 สาเหตุเด็กตัวเหลืองหลังคลอด
           เด็กตัวเหลืองหลังคลอดพบได้เสมอค่ะ เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น
               1. มีปัญหาโรคตับ
               2. ปัญหาของความผิดปกติของเอ็นไซม์ที่อยู่ในเม็ดเลือดบางประการ
               3. ปัญหาของกลุ่มเลือดของแม่กับลูกที่ไม่สัมพันธ์กัน
               4. พบบ่อยที่สุดก็เป็นอาการตัวเหลืองปกติในเด็ก ๆ ที่เกิดจากระบบการทำงานของตับยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนมากจะหายไปได้ภายในเวลาไม่นาน
           เด็กแต่ละคนจะมีระดับของความเหลืองหรือที่เรียกว่าระดับบิลิลูบินไม่เหมือน กัน บางคนเป็นน้อยมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางคนก็มีระดับความเหลืองสูงจนคุณแม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
 การรักษาเด็กตัวเหลืองหลังคลอด
           การรักษาก็จะดูเป็นระยะ ๆ ไปตามความรุนแรงของอาการตัวเหลืองนั้น โดยทั่ว ๆ ไปแล้วไม่ต้องทำอะไร ถ้าเป็นน้อย ๆ จะหายไปเอง แต่ในกรณีที่ตัวเหลืองมองเห็นด้วยตา และตรวจสอบได้ว่ามีระดับบิลิลูบินสูงขึ้นอยู่ระดับปานกลาง คุณหมอจะให้การรักษาด้วยการส่องไฟจากนั้นก็จะตรวจระดับของบิลิลูบินเป็นช่วง ๆ ว่าไม่สูงขึ้นอีก 
 การส่องไฟรักษาเด็กตัวเหลือง
           เมื่อเด็กตัวเหลืองถึง เกณฑ์ที่ต้องส่องไฟรักษา แพทย์จะใช้แสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) ชนิดพิเศษ (Special blue light) ส่องไปที่ตัวเด็ก ซึ่งจะใช้จำนวนหลอดไฟ และระยะห่างจากตัวเด็กตามมาตรฐาน โดยถอดเสื้อผ้าเด็ก และปิดตาเด็กไว้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตา แสงสีฟ้าที่ใช้มีความยาวคลื่นประมาณ 425-475 นาโนเมตร จะถูกดูดซึมโดยบิลิรูบิน และจะช่วยเปลี่ยนบิลิรูบินให้เป็นชนิดที่ละลายน้ำ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ออกทางอุจจาระ และผ่านไตออกทางปัสสาวะ
           ทั่ว ๆ ไปแล้วเด็กที่ตัวเหลืองจะหายไปเป็นปกติและสามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะว่าเด็กที่มีอาการตัวเหลืองและคุณหมอได้ให้การดูแลรักษาในช่วงแรก คุณหมอจะตรวจกรองโรคต่าง ๆ ด้วย
 เด็กตัวเหลืองหลังคลอดเพราะกินน้ำน้อยจริงหรือ ?
           ความเชื่อในเรื่องของเด็กตัวเหลืองจากกินน้ำน้อยนั้น คงจะไม่ใช่ความจริงอีกต่อไปนะคะ หมอคิดว่าที่เราเข้าใจกันว่าตัวเหลืองต้องทานน้ำมากๆนั้น น่าจะเกิดจากเรามีประสบการณ์ว่าถ้าดื่มน้ำน้อยหรือขาดน้ำปัสสาวะจะออกมามีสีเหลืองเข้มขึ้น ดังนั้นจึงเอาเรื่องของปัสสาวะเหลืองไปผูกกันกับตัวเหลือง และไปแนะนำให้เด็กที่ตัวเหลืองดื่มน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันนะคะ เวลาที่เด็กตัวเหลืองจึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ แต่ให้ดื่มนมแม่ต่อไปเพราะว่าในนมแม่เองนั้นก็มีทั้งน้ำทั้งสารอาหารอยู่ครบถ้วนแล้ว คุณแม่ไม่ต้องลังเลใจที่จะให้ลูกดื่มแต่นมแม่อย่างเดียว ซึ่งจะทำให้การผลิตนมแม่ หรือการที่คุณแม่จะมีน้ำนมเต็มที่นั้นก็จะมีมากขึ้น และในเวลาเดียวกันเด็กๆก็จะชินต่อการดื่มนมแม่ โดยไม่สับสนกับน้ำที่เราให้จากขวดน้ำด้วยค่ะ ถ้าคุณแม่จะให้น้ำในช่วงเดือนแรก หมออยากจะแนะนำให้ดื่มน้ำด้วยวิธีอื่นไม่ใช่จากการดูดขวดน้ำ เช่นดื่มจากแก้วหรือดื่มจากช้อน หรือหลอดดูด ซึ่งคุณแม่สามารถจะดัดแปลงพัฒนาได้ตามความเหมาะสมค่ะ
 ป้องกันภาวะตัวเหลืองในเด็กได้อย่างไร ?
           แม้สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในเด็กหลายชนิดไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีภาวะตัวเหลืองในเด็กบางภาวะสามารถป้องกันได้ เช่น

           1. ภาวะติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ มารดาควรรีบฝากครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรก (3เดือนแรกที่ตั้งครรภ์) ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้งการเจาะเลือดตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม และตรวจหาภาวะติดเชื้อในแม่ ทำให้สามารถทราบว่า อาจมีการติดเชื้อในเด็กตั้งแต่ในครรภ์ โรคบางอย่างสามารถรักษาได้
           2. เมื่อใกล้คลอด หรือในระหว่างให้ลูกกินนมแม่ แม่ต้องระวังการใช้ยาบาง อย่าง เช่น ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ทำให้บิลิรูบินจับกับอัลบูมินได้ไม่ดี หรือทำให้มีเม็ดเลือดแดงแตกในเด็กที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficien cy) อาจทำให้เกิดตัวเหลืองในเด็กแรกคลอด
           3. ในเด็กแรกเกิด แม่ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่เร็วที่สุด ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ ให้ได้ 10-12 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ลำไส้ของลูกเคลื่อนตัวทำงานได้ดี ช่วยขับสารสีเหลือง/บิลิรูบินออกไปได้ดี

ที่มา: กระปุกออนไลน์

อัพเดทล่าสุด