https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อย่าเป่าอาหาร อย่ากัดอาหารให้ลูก เพราะอะไร? MUSLIMTHAIPOST

 

อย่าเป่าอาหาร อย่ากัดอาหารให้ลูก เพราะอะไร?


12,253 ผู้ชม


ฟันผุหลายคนอาจจะคิดว่า ไม่ใช่โรคติดต่อ จะติดกันได้อย่างไร แต่ทราบไหมคะว่าการเป่าอาหาร กัดอาหาร หรือแม้แต่จูบเด็กๆ ก็อาจจะทำให้เด็กๆ มีโอกาสฟันผุได้ เพราะได้รับแบคทีเรียจากผู้ใหญ่ที่ฟันผุ หรือมีแบคทีเรียอยู่ หลายครอบครัวพ่อแม่เข้าใจ แต่ว่าอาจจะมีปัญหากับญาติพี่น้อง ปู่ย่า ตายาย หรือพี่เลี้ยงที่เลี้ยงน้องอยู่ ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าเพราะอะไร ทำไมไม่ควรจะเป่าอาหาร หรือป้อน ชิมอาหารด้วยช้อนเดียวกับเด็กๆ
เรามีเรื่องราวจากคุณหมอกมลชนก ซึ่งเป็นทันตแพทย์เคยเขียนไว้ใน blog มาแบ่งปันกันค่ะ ว่าทำไมถึงไม่ควรเป่าอาหาร ชิมอาหารช้อนเดียวกับลูก
 

อย่าเป่าอาหาร อย่ากัดอาหารให้ลูก เพราะอะไร? 

picture: www.webmd.com/

สมัยหมอเรียนอยู่นั้น มีงานวิจัยพบว่า เชื้อแบคทีเรียในช่องปากลูกที่ทำให้เกิดฟันผุได้นั้น มีสายพันธุ์เดียวกันกับแม่ ประมาณลูกใครแม่ใครจับคู่กันไปเป็นคู่ๆได้จากเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งติดต่อถ่ายทอดทางความใกล้ชิดในการเลี้ยงดู เช่น


การเป่าอาหารให้ลูก การใช้ช้อนเดียวกับลูกชิมหรือทานอาหาร การกัดอาหารให้ชิ้นเล็กลงให้ลูกทาน รวมทั้งการจูบปากลูก แม่จึงไม่ควรมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากมากเกินไปอีกด้วย  หมอคิดในใจว่าหากมีลูก หมอไม่มีทางเป่าอาหารให้ลูกแน่ ก็ใช้พัดลมเป่า แล้วทดสอบว่าอุ่นหรือร้อนอยู่โดยเอาอาหารมาแตะหลังมือ
แต่พอมีลูกจริงๆ เมื่อลูกเริ่มอาหารเสริม ก็เข้มงวดกับทุกคนโดยเฉพาะพี่เลี้ยงลูกว่าห้ามเป่าอาหารให้น้อง หรือห้ามใช้ช้อนน้องชิมอาหาร แต่แล้วบางเวลา ตัวหมอเองกลับทำผิดกฎเอง ทั้งกัดขนมให้ชิ้นเล็กลงให้ลูก หรือกัดน้ำแข็งให้เล็กลงแม้จะเอาน้ำแข็งที่กัดแล้วนั้นไปแกว่งๆล้างน้ำอีกครั้งก่อนให้ลูกทานก็ตาม 
ดังนั้น การควบคุมให้แบคทีเรียในช่องปากของคุณแม่และทุกคนที่เลี้ยงลูกไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปก็จะเป็นการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อโรคฟันผุไปให้ลูกได้ เราควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้โดยการแปรงฟันให้สะอาดทุกวัน และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน หรือหากมีฟันผุควรอุดหรือรักษาให้เรียบร้อย
ฟันลูกแข็งแรงเริ่มได้ตั้งแต่ในครรภ์
การจะให้ฟันลูกแข็งแรง ไม่ได้เริ่มเมื่อลูกมีฟันขึ้นในช่องปาก แต่เริ่มตั้งแต่ลูกเป็นทารกในครรภ์ เพราะหน่อฟันน้ำนมเริ่มสร้างตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ มีการศึกษาแสดงว่า ทารกในครรภ์ที่ได้รับอาหาร แร่ธาตุ จากคุณแม่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ, ซี,และดี รวมทั้งคุณแม่ที่ได้รับสารเคมีบางชนิด หรือคุณแม่ป่วยมากขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้มีการรบกวนการสร้างฟัน จนทำให้เกิดความผิดปกติของฟันได้ ดังนั้น เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตัวเองมากขึ้น  รับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนและเพียงพอแก่ความต้องการ เพื่อที่จะไปสร้างฟันที่สมบูรณ์
เมื่อลูกคลอดแล้ว ควรทำความสะอาดช่องปากของลูกตั้งแต่แรกเกิด ลูกยังไม่มีฟันก็จริง แต่คราบน้ำนม โดยเฉพาะนมผง หากติดค้างอยู่ในช่องปากจะเป็นแหล่งอาหารให้เชื้อโรคต่างๆมาสะสมได้ถ้าเราไม่ทำความสะอาดช่องปากให้ลูก เมื่อคราบนมหมักหมมในช่องปากนานๆ บางรายเกิดเชื้อราในช่องปากและลิ้น สังเกตง่ายๆ คือ ลิ้นเด็กมีฝ้าขาวเกาะติด บางรายมีฝ้าขาวตามสันเหงือก, กระพุ้งแก้มด้วย ถ้าเกิดจากเชื้อรา เด็กจะเจ็บมาก ดูดนมก็เจ็บ ร้องโยเย ดังนั้น การทำความสะอาดช่องปากทารก จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และเป็นการฝึกนิสัยให้เคยชินกับการมีช่องปากที่สะอาดด้วยค่ะ
วิธีทำความสะอาดช่องปากทารก
ให้ใช้ผ้าอ้อมสะอาดพันที่นิ้วชี้ของคุณแม่ ถนัดขวาก็พันที่นิ้วชี้ขวา เอาลูกนอนที่ตัก ให้ศีรษะลูกอยู่ที่แขนซ้ายของจากนั้นเอานิ้วชี้ที่พันผ้าไว้ จุ่มลงในน้ำดื่มของลูก เช็ดให้ทั่วช่องปากลูก เริ่มจากสันเหงือกบน-ล่าง, กระพุ้งแก้มซ้าย-ขวา แล้วจบด้วยที่ลิ้นของลูก ผ้าจะช่วยกวาดเอาคราบนมออกมา เด็ก
ส่วนใหญ่จะร้องทันทีที่เริ่มทำ ก็เป็นเรื่องปกติ ร้องได้ ก็อย่าทำนานเกินไป แต่ถ้าเราทำเป็นประจำ เด็กจะเริ่มชินและรู้ว่าสิ่งนี้ไม่น่ากลัว บางครั้งลูกอาจดูดผ้า ก็ไม่เป็นไรเพราะเราใช้ผ้าสะอาดกับน้ำดื่มของลูก ให้เช็ดวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้ากับก่อนนอน นอกจากจะไม่ต้องเป็นโรคเชื้อราในช่องปากแล้ว ลูกจะเคยชิน กับสภาพปากที่สะอาด ทำให้เมื่อโตอีกหน่อยลูกจะยอมรับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

ที่มา: blog คุณหมอกมลชนก/มัมมี่พิเดีย

อัพเดทล่าสุด