https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
6 สารอันตรายที่อาจปนเปื้อนในอาหาร ยิ่งทานเยอะยิ่งเสี่ยงร่างพัง! MUSLIMTHAIPOST

 

6 สารอันตรายที่อาจปนเปื้อนในอาหาร ยิ่งทานเยอะยิ่งเสี่ยงร่างพัง!


5,101 ผู้ชม

มีอาหารอยู่หลายชนิด ที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายปนเปื้อน แม้จะมีการเร่งมือตรวจสอบทั้งจากภาครัฐ และเอกชนแล้ว แต่หากเราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เลือกทานให้น้อยลง ก็จะปลอดภัยต่อสุขภาพของเรามากที่สุด..


6 สารอันตรายที่อาจปนเปื้อนในอาหาร ยิ่งทานเยอะยิ่งเสี่ยงร่างพัง!

  อาหารปนเปื้อนสารเคมีอันตราย ยิ่งทานน้อยยิ่งดี!

1. สารบอแรกซ์ (Borax) 

มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย

อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์

ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น

พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ

1. แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ

2. แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ

คำแนะนำ

1. ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ

2. หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง

3. ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ

 

2. สารกันรา 

สารกันรา หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น

อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา

ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น

พิษของสารกันรา

เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้   ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้

หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย

เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย.

3. สารฟอกขาว 

สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว

ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน

อันตรายของสารฟอกขาว

เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้

หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดย

เลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป

คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว

4. สารฟอร์มาลิน

สารหอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย

อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่

เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น

อันตรายของสารฟอร์มาลิน

เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก

5. ยาฆ่าแมลง  

ยาฆ่าแมลงหรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง

อันตรายจากยาฆ่าแมลง

เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร

เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก (ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น

6. สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)

ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล

ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค

ผลข้างเคียงของสารเร่งเนื้อแดง

สารซาลบูตามอล อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์

คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก

แม้ในหลายๆ ชนิดอาหารเราอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางกรณี ก็ไม่ใช่ว่าเราจะทานไม่ได้เลยแม่แต่น้อยนะคะ และสารอันตรายดังกล่าว อาจไม่ได้ผสมอยู่ในอาหารทุกยีห้อเสมอไป เพียงแค่หากสามารถลดการบริโภคลงได้ เปลี่ยนทานหลากหลายยี่ห้อ หรืออาจจะเลือกแหล่งผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ก็อาจจะช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อยค่ะ

ขอบคุณเนื้อหาจาก กระทรวงสาธารณสุข
ภาพประกอบจาก istockphoto

ที่มา  สนุกออนไลน์

อัพเดทล่าสุด