https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มะเร็งรังไข่ กว่าจะรู้ตัวก็ระยะสุดท้าย MUSLIMTHAIPOST

 

มะเร็งรังไข่ กว่าจะรู้ตัวก็ระยะสุดท้าย


10,971 ผู้ชม

มะเร็งรังไข่สามารถพบได้ในสตรีทุกกลุ่มอายุโดยเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดต่างชนิดกัน สำหรับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวพบอุบัติการณ์สูงสุดในสตรีไทยอายุ 40-65 ปี โดยอายุเฉลี่ยประมาณ 52 ปี...


มะเร็งรังไข่ กว่าจะรู้ตัวก็ระยะสุดท้าย

มะเร็งรังไข่เป็นโรคเนื้องอกชนิดร้ายของรังไข่ ซึ่งรังไข่เป็นอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานของสตรี และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศ รวมไปถึงการตกไข่ เพื่อปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนต่อไป มะเร็งรังไข่จึงเป็นโรคที่ตรวจพบได้ยากเนื่องจากอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยอาจสำรวจตัวเอง ถึงความผิดปกติได้ยาก โดยโรคมะเร็งรังไข่ตรวจพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทางนรีเวช โดยสถิติของทั่วโลกพบผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ประมาณ 238,719 ราย และมีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่เสียชีวิตปีละ 151,917 รายต่อปี ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 64% และในหญิงไทยพบเป็นอันดับที่ 6 โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปีประมาณ 6,000 ราย

มะเร็งของรังไข่สามารถแบ่งชนิดตามเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว (Epithelial ovarian cancer) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด และมะเร็งรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่เซลล์เยื่อบุผิว ได้แก่ germ cell, sex-cord stromal tumors, sarcoma เป็นต้น

มะเร็งรังไข่สามารถพบได้ในสตรีทุกกลุ่มอายุโดยเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดต่างชนิดกัน สำหรับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวพบอุบัติการณ์สูงสุดในสตรีไทยอายุ 40-65 ปี โดยอายุเฉลี่ยประมาณ 52 ปี โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สตรีมีโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ได้แก่ สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีภาวะมีบุตรยาก หรือมีบุตรน้อยคน ผู้ที่ใช้แป้งฝุ่นที่มีสารแร่ใยหินบริเวณอวัยวะเพศ การบริโภคนํ้าตาล galactose มากเกินไป สตรีที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อยและเข้าสู่วัยหมดระดูช้า ผู้ที่มีดัชนีมวลกายสูง (BMI) ผู้ที่ได้รับยาฮอร์โมนทดแทนชนิดเอสโตรเจนอย่างเดียวเป็นระยะเวลานานเกิน 10 ปี และผู้ที่มีการผ่าเหล่าของยีนชนิด BRCA สำหรับปัจจัยที่ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ การทำหมันผูกท่อนําไข่ การทานยาเม็ดคุมกำเนิดต่อเนื่องกันเกิน 5 ปีขึ้นไป

อาการของโรคมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการที่ไม่จำเพาะ อาจตรวจพบได้จากการตรวจภายในและอัลตราซาวด์ประจำปี สำหรับผู้ที่มีอาการของโรคมะเร็งรังไข่มักเกิดจากการกดเบียดของก้อน หรือ ก้อนมะเร็งแตก บิดขั้ว หรือมีการ กระจายของโรคแล้วได้แก่ อาการปวดท้องน้อย ท้องอืด ท้องโตขึ้นมีนํ้าในช่องท้อง คลำได้ก้อนในท้อง ตัวบวม เบื่ออาหาร นํ้าหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะผิดปกติ ขับถ่ายผิดปกติเป็นต้น

มะเร็งรังไข่ กว่าจะรู้ตัวก็ระยะสุดท้าย

การวินิจฉัยโรคด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน รังสีวินิจฉัยได้แก่ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเลือดวัดระดับสารมะเร็ง การตรวจอื่น ๆ เพื่อประเมินการกระจายของโรคเบื้องต้น แต่การวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคมะเร็งรังไข่จำเป็นต้องได้ผลทางพยาธิวิทยายืนยัน ได้แก่ การผ่าตัดชิ้นเนื้อของรังไข่ การเจาะดูดนํ้าในช่องท้องเพื่อหาเซลล์มะเร็งกรณีที่ผู้ป่วยมีการกระจายของโรคมากแล้วไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ เป็นต้น แล้วจึงกำหนดระยะตัวโรค โดยแบ่งเป็น 4 ระยะตามการกระจายของมะเร็ง

การรักษามะเร็งรังไข่ ตามมาตรฐานปัจจุบันแนะนำให้ตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสอง ข้าง ร่วมกับการเลาะตุ่มนํ้าเหลืองในอุ้งเชิงกราน และช่องท้อง การตัดเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่สงสัยว่าจะมีการกระจายของโรค การเก็บนํ้าในช่องท้องเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ชนิดหนึ่ง และหากพบการกระจายของโรคแนะนำให้ยาเคมีบำบัดต่อภายหลังการผ่าตัด สำหรับสตรีอายุน้อยมีทางเลือกของการผ่าตัดแบบอนุรักษ์ (เช่น การผ่าตัดเฉพาะตำแหน่งของมะเร็ง เก็บมดลูกและรังไข่ข้างที่ไม่ใช่มะเร็งไว้) ได้ ในบางกรณีซึ่งต้องได้รับการประเมินจากแพทย์เฉพาะทางมะเร็งนรีเวชและตัดสินใจร่วมกันของแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ

กล่าวโดยสรุปมะเร็งรังไข่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะสตรีวัยใกล้หมดระดู และสตรีวัยหมดระดู และเป็นโรคที่ไม่มีอาการเตือนใด ๆ ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติทางร่างกายแนะนำพบแพทย์และรักษาตามความเหมาะสม รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะสามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ก่อนโรคลุกลามทำให้ได้ผลการรักษาที่ดี และโอกาสหายจากโรคสูงขึ้น ก่อนจะมีอาการหรือการกระจายของโรคแล้ว

ข้อมูลจาก แพทย์หญิงสุขุมาลย์  สว่างวารี แพทย์เฉพาะทางสาขามะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลพญาไท 1/ https://www.phyathai.com

ที่มา  เดลินิวส์ออนไลน์

อัพเดทล่าสุด