https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ถ่ายได้ทุกเช้า แก้อาการท้องผูกอย่างถาวร MUSLIMTHAIPOST

 

10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ถ่ายได้ทุกเช้า แก้อาการท้องผูกอย่างถาวร


15,056 ผู้ชม

วิธีทำให้เข้าห้องน้ำทุกเช้าสำหรับคนที่ถ่ายยากถ่ายเย็น จนแทบจะเรียกว่ามีอาการท้องผูกทุกวัน ลองทำตามนี้แล้วจะโล่ง เราเข้าใจคนที่ถ่ายยาก ถ่ายไม่ค่อยออกเลยในแต่ละวันนะคะว่ามันอึดอัดท้องแค่ไหน


10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ถ่ายได้ทุกเช้า แก้อาการท้องผูกอย่างถาวร

10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ถ่ายได้ทุกเช้า แก้อาการท้องผูกอย่างถาวร
วิธีทำให้เข้าห้องน้ำทุกเช้าสำหรับคนที่ถ่ายยากถ่ายเย็น จนแทบจะเรียกว่ามีอาการท้องผูกทุกวัน ลองทำตามนี้แล้วจะโล่ง เราเข้าใจคนที่ถ่ายยาก ถ่ายไม่ค่อยออกเลยในแต่ละวันนะคะว่ามันอึดอัดท้องแค่ไหน
ฉะนั้น คนที่มีอาการถ่ายลำบาก สัปดาห์หนึ่งเข้าห้องน้ำไม่เกิน 2-3 ครั้ง มาบอกลาอาการถ่ายไม่ออกกันง่าย ๆ ด้วย 10 วิธีทำให้เข้าห้องน้ำทุกเช้ากันเถอะ


1. รีบลุกมาเข้าห้องน้ำตั้งแต่เช้า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเข้าห้องน้ำก็คือช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 05.00-07.00 น. หรือถ้าอยู่ในช่วงเช้าก็ยังพอไหว แต่สำหรับคนที่ไม่ชินกับการเข้าห้องน้ำตอนเช้า ก็ต้องเริ่มฝึกกันใหม่ แต่ถ้าไม่ปวดก็ไม่ต้องเบ่ง เพราะมันจะปวดเป็นช่วง ๆ ถ้าช่วงไหนปวดก็เบ่งตาม หากไม่ปวดแล้วเบ่ง เคสนี้อาจมีเพื่อนชื่อริดสีดวงแวะมาทักทาย
2. อย่าขัดใจอุนจิ รู้สึกปวดอุจจาระตอนไหนให้เข้าห้องน้ำตอนนั้น โดยเฉพาะหากปวดถ่ายในช่วงเช้า กรณีนี้ยิ่งห้ามอั้นโดยเด็ดขาด เพราะนี่คือนาทีทองที่จะทำให้เราได้ถ่าย และหากอั้นอุจจาระเอาไว้ คราวนี้อาจไม่รู้สึกปวดอีกเลยตลอดวัน
3. นวดลำไส้ ถ้ายังถ่ายยากอีกทีนี้ให้ลองนวดลำไส้ โดยนวดตั้งแต่ตอนกลางคืนเลย เริ่มจากเอามือนวดที่ท้องส่วนล่างซ้าย ซึ่งเป็นที่อยู่ของลำไส้ใหญ่ คลำจนพบลำของกากอาหารแล้วก็กดลงเบา ๆ เป็นระยะ สักประมาณ 5 นาที พอตื่นขึ้นมาก็ดื่มน้ำอุ่นสักแก้ว รอสักพัก อาการปวดก็จะมา หรือให้นวดลำไส้ที่เดิมอีกสักรอบ โดยค่อย ๆ นวดเบา ๆ ดันลงไปด้านล่าง สักพักก็จะรู้สึกปวดอยากถ่ายขึ้นมา แต่หากว่านั่งถ่ายแล้วยังไม่ออกก็ให้ลุกขึ้นเดินสักพัก อย่านั่งแช่ เพราะน้องริดซี่อาจมาได้
4. นวดกดซ้ำอีกครั้ง หากนวดลำไส้แล้วยังไม่รู้สึกอยากถ่าย คราวนี้ลองลุกไปเข้าห้องน้ำ แล้วขณะที่นั่งอยู่บนโถส้วม ให้ใช้ฝ่ามือนวดหน้าท้อง โดยวนตามเข็มนาฬิกาหลาย ๆ รอบ แขม่วท้องไว้ด้วย ลองดูสักพักอาการปวดถ่ายจะมา
5. ดื่มน้ำอุ่นแก้วใหญ่ ๆ ตื่นมาให้ดื่มน้ำอุ่น ๆ 1 แก้วใหญ่ จากนั้นก็ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ น้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หลอดเลือดต่าง ๆ ก็จะขยายใหญ่กว่าปกติ ไล่ให้สิ่งที่ค้างอยู่ในลำไส้ทยอยลำเลียงกันออกมา คราวนี้เราก็โล่งสบายท้องแล้วล่ะ
6. มื้อเช้าเน้นหนักอาหารไฟเบอร์สูง มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญ และหากจะให้มื้อเช้าช่วยเสริมระบบขับถ่ายด้วยก็ต้องเลือกกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักและผลไม้ นม น้ำผลไม้
7. ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายเยอะ ๆ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงก็ควรต้องออกกำลังกายเป็นประจำ แต่สำหรับคนที่อยากให้สุขภาพการขับถ่ายสตรองมาก ๆ ลองซิทอัพอย่างน้อยวันละ 40 ครั้ง หรือวิ่งเหยาะ ๆ วันละครึ่งชั่วโมง และนั่งยอง ๆ ให้หน้าขากดหน้าท้อง เพราะนี่คือท่าสำคัญของมนุษย์ ที่ธรรมชาติสร้างท่านั่งยอง ๆ มาให้เรา ก็เพื่อไว้สำหรับการถ่ายหนัก เพราะแรงกดจากหน้าขาของเราจะกดลงพอดีกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ ทว่าหากไม่มีเวลาออกกำลังกายจริง ๆ การลุกขึ้นเดินไป-มาก็ช่วยได้ เพราะจะทำให้ไส้บีบตัวดี สักพักไส้จะบีบรีดเอาอุจจาระที่คั่งค้างออกมา แล้วเราจะรู้สึกปวดเบ่งอีกที
8. นั่งให้ถูกท่า อย่างที่บอกว่าท่านั่งยอง ๆ คือท่าที่ช่วยให้ถ่ายคล่องมากที่สุด แต่หากใครใช้ชักโครก วิธีแก้ง่าย ๆ ก็คือการเปลี่ยนท่านั่งชักโครกเสียใหม่ เท่านี้ก็จะถ่ายสะดวก หมดปัญหาถ่ายยากแล้ว โดยท่านั่งให้ขับถ่ายสะดวกก็ดูจากนี่ได้เลย
9. ฝึกเข้าห้องน้ำให้ตรงเวลา ตื่นให้เช้ากว่าเดิมอีกนิด และพยายามเข้าห้องน้ำในช่วงไม่เกิน 07.00 น. หรือจะเลทกว่านั้นก็ได้ แต่ควรลุกมาเข้าห้องน้ำในเวลานี้ให้ได้เป็นประจำ เพื่อฝึกร่างกายให้ขับถ่ายอย่างเป็นเวลา
10. อย่าเครียด ความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แถมท้องยังผูกอีกด้วย ฉะนั้นตอนที่นั่งขับถ่ายก็พยายามทำจิตใจให้โปร่งสบาย ปราศจากความเครียดเข้าไว้เป็นดี
นอกจาก 10 วิธีนี้แล้วก็ควรดูแลสุขภาพในส่วนอื่น ๆ ร่วมกันด้วย เช่น ดื่มน้ำเยอะ ๆ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 8 แก้วต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก-ผลไม้ แต่ก็กินให้ครบ 5 หมู่พื้นฐาน ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หนังสือคู่มือการดูแลสุขภาพ โดยวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย , The science of eating


อัพเดทล่าสุด