https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย ดูแลอย่างไร ให้หายไว ไม่ติดเชื้อ MUSLIMTHAIPOST

 

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย ดูแลอย่างไร ให้หายไว ไม่ติดเชื้อ


5,021 ผู้ชม

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย หลังจากมีการฉีกขาดขณะคลอดลูกหลังคลอดลูกคุณหมอจะเย็บบริเวณทวารหนักถึงช่องคลอดเพื่อป้องกันการฉีกขาดระหว่างคลอด


แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย ดูแลอย่างไร ให้หายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย หลังจากมีการฉีกขาดขณะคลอดลูกหลังคลอดลูกคุณหมอจะเย็บบริเวณทวารหนักถึงช่องคลอดเพื่อป้องกันการฉีกขาดระหว่างคลอด

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย  ดูแลอย่างไร ให้หายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย หลังจากมีการฉีกขาดขณะคลอดลูกหลังคลอดลูกคุณหมอจะเย็บบริเวณทวารหนักถึงช่องคลอดเพื่อป้องกันการฉีกขาดระหว่างคลอด หลังจากคลอดลูกแล้วคุณแม่อาจเจ็บบริเวณช่องคลอด การดูแลตัวเองหลังคลอดเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อและเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต

แผลฝีเย็บหลังคลอดกี่วันหาย???!!! 

ช่วง 2-3 อาทิตย์หลังคลอดคุณอาจจะเจ็บบริเวณฝีเย็บได้โดยเฉพาะเมื่อคุณหมอเย็บแผลฝีเย็บให้ วิธีการดูแลบริเวณฝีเย็บโดยทั่วไปคือ การรักษาความสะอาดบริเวณนั้นอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการปวดร่วมด้วยเราพอมีวิธีดูแลตัวเองมากฝากดังนี้

  • พยายามล้างด้วยน้ำอุ่นทุกครั้งหลังเสร็จภารกิจในห้องน้ำ อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้ง
  • หากปวดมากให้ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย สเปรย์สำหรับป้องกันการติดเชื้อก็มีประโยชน์สำหรับแผลขนาดใหญ่
  • กินอาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก

การกระชับฝีเย็บ

การกระชับฝีเย็บคือ การสร้างความแข็งแรงให้ฝีเย็บและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับแม่มือใหม่ทุกคนไม่ว่าจะคลอดเองหรือผ่าคลอดก็ตาม เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่กระชับ หลังจากคลอดลูกคุณหมอจะนัดดูแผลและอาการโดยทั่วไปของคุณ คุณหมอจะบอกว่าแผลของคุณดีขึ้นมากขนาดไหนแล้ว คุณต้องรอให้ครบ 8 สัปดาห์ก่อนจึงจะออกกำลังกายเพื่อกระชับฝีเย็บได้ เพราะแผลบริเวณนี้อควรหายดีเสียก่อน หากมีเลือดไหลควรหยุดออกกำลังกายทันที

วิธีดูแลแผลฝีเย็บและการกระชับฝีเย็บ

  • ปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารอุ้งเชิงกรานโดยตรง เพื่อทดสอบความแข็งแรงและการควบคุมกล้ามเนื้อฝีเย็บเพื่อจะดูว่าการกระชับกล้มเนื้อฝีเย็บแบบไหนที่เหมาะกับคุณ
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อฝึกการขมิบฝีเย็บก็เป็นวิธีหนึ่ง
  • การออกกำลังกายตามหลักของคีเกิล (หรือการขมิบ) ก่อนและหลังตั้งครรภ์เพื่อรักษารูปร่างของฝีเย็บ
  • สำหรับผู้หญิงที่ต้องการกระชับหน้าท้องเพื่อกำจัดน้ำหนักส่วนเกินหลังตั้งครรภ์ควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายฝีเย็บก่อน เพราะการออกกำลังกายบริเวณหน้าท้องจะทำให้ฝีเย็บทำงานหนักขึ้น ควรรอสักประมาณ 3 เดือนก่อนจะกลับไปออกกำลังกายเหมือนเดิมจะดีที่สุด

คุณแม่ทุกคนควรออกกำลังกายเพื่อบริหารอุ้งเชิงกรานก่อนและหลังตั้งครรภ์เพื่อกระชับฝีเย็บ คุณสามารถทำได้แทบจะทุกที่เพียงแค่ขมิบกล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานเหมือนเวลาคุณจะปัสสาวะสัก 10 วินาที และค่อยคลาย ทำอย่างนี้วันละ 3 เวลา ครั้งละ 10 ที

ประโยชน์ของการกระชับกล้ามเนื้อฝีเย็บ

มีหลายเหตุผลที่คุณควรระวังแผลฝีเย็บหลังคลอดและควรทำตามเทคนิคการกระชับฝีเย็บที่ถูกต้อง

การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด 

  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวกลับคืนสู่สภาพก่อนตั้งครรภ์ได้
  • ช่วยป้องกันปัสสาวะเล็ดซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยให้ผู้หญิงที่คลอดลูกแบบธรรมชาติ
  • ช่วยป้องกันมดลูกหย่อนซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อรักษา
  • ช่วยเพิ่มความรื่นรมย์ให้กิจกรรมบนเตียงและป้องกันความเจ็บปวดระหว่างมีเซ็กส์ได้

คุณสามารถป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บก่อนคลอดได้หรือไม่?

ช่วงตั้งท้องว่าที่คุณแม่ทั้งหลายควรเตรียมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้พร้อมสำหรับเตรียมคลอดลูก จะได้หลีกเลี่ยงการฉีกขาดและการกรีดฝีเย็บจากแพทย์

  • การออกกำลังกายเพื่อบริหารอุ้งเชิงกรานตามแบบของคีเกิล
  • ใช้ครีมสูตรธรรมชาติเพื่อนวดบริเวณฝีเย็บทุกวัน 2-3 เดือนก่อนคลอด ครีมจะช่วยให้กล้ามเนื้อฝีเย็บยืดหยุ่นเวลาคลอด

คุณควรบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหลังคลอดด้วยเช่นกัน การปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยลดความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นกับฝีเย็บได้และยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปด้วย

ที่มา:  th.theasianparent.com

อัพเดทล่าสุด