กลิ่นปากเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่แท้เป็นเพราะเจ้าก้อนสีเหลืองๆ ในปาก มาดูกันว่ามันคืออะไร!? MUSLIMTHAIPOST

 

กลิ่นปากเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่แท้เป็นเพราะเจ้าก้อนสีเหลืองๆ ในปาก มาดูกันว่ามันคืออะไร!?


6,849 ผู้ชม

ปัญหากลิ่นปาก ที่หลายคนน่าจะเคยเป็นกัน โดยเฉพาะเวลาที่จะต้องพูดคุยกับใคร แต่กลับไม่มั่นใจในการสนทนาเท่าควร เพราะปัญหาของกลิ่นปากและลมหายใจ ซึ่งบางครั้งเราเองก็ไม่รู้ตัว และคนข้างๆ ก็ไม่กล้าบอก บางคนรู้สาเหตุแต่ยังแก้ไม่ถูกทาง ทำให้กลิ่นปากกลายเป็นปัญหากวนใจที่แก้ไม่ได้เสียที แถมยังเป็นตัวทำลายบุคลิกภาพเสียยับเยิน


กลิ่นปากเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่แท้เป็นเพราะเจ้าก้อนสีเหลืองๆ ในปาก มาดูกันว่ามันคืออะไร!?

ปัญหากลิ่นปาก ที่หลายคนน่าจะเคยเป็นกัน โดยเฉพาะเวลาที่จะต้องพูดคุยกับใคร แต่กลับไม่มั่นใจในการสนทนาเท่าควร เพราะปัญหาของกลิ่นปากและลมหายใจ ซึ่งบางครั้งเราเองก็ไม่รู้ตัว และคนข้างๆ ก็ไม่กล้าบอก บางคนรู้สาเหตุแต่ยังแก้ไม่ถูกทาง ทำให้กลิ่นปากกลายเป็นปัญหากวนใจที่แก้ไม่ได้เสียที แถมยังเป็นตัวทำลายบุคลิกภาพเสียยับเยิน

สาเหตุของกลิ่นปาก ส่วนใหญ่เกิดจากเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามซอกฟัน บริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก หรือในรูฟันผุ แต่บางคนอาจจะมีปัญหากลิ่นปากเรื้อรัง รู้สึกคล้ายมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ทำให้เกิดอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก และทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่หู หรือไอเรื้อรังได้ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งวันนี้เราจะมาเฉลยคำถามที่เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ว่าก้อนสีขาวๆ เหลืองๆ ที่หลุดออกมาจากคอเรามันคืออะไร อย่ารอช้า มาฟังคำตอบเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่าค่ะ
ทอนซิล (Tonsils) คือ ต่อมน้ำเหลืองในทางเดินหายใจ มีหลายตำแหน่ง ได้แก่ สองข้างของลิ้น (Palatine Tonsil), ด้านหลังจมูก, ผนังคอด้านหลัง และโคนลิ้น ทอนซิล เป็นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ทำงานโดยการจับเชื้อโรคมาไว้ในหลืบ จนบางครั้งเกิดเป็นนิ่วทอนซิล ซึ่งออกมาจากร่องของต่อมทอนซิล
นิ่วทอนซิล หรือบางคนเรียกว่า ขี้ทอนซิล (Tonsillolith หรือ Tonsillith หรือ Tonsil stone) คือ ก้อนสีขาวขุ่นหรือสีออกเหลืองขุ่นที่เกิดอยู่บนต่อมทอนซิล โดยเกิดขึ้นในร่องต่างๆ บนตัวต่อมทอนซิล ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมักเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปาก ทั้งนี้นิ่วทอนซิลอาจพบเกิดได้ในช่องคอหอยหรือช่องคอส่วนอื่นๆเช่น โพรงหลังจมูก แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดคือที่ต่อมทอนซิล

นิ่วทอนซิลเป็นโรคที่พบได้เรื่อยๆ พบได้ประมาณ 10% ของคนทั่วไป โดยอาจเกิดกับต่อมทอนซิลเพียงด้านเดียวหรือทั้งซ้าย - ขวาพร้อมๆกัน ทั้งนี้โอกาสเกิดในต่อมด้านซ้ายและด้านขวาเท่ากัน
นิ่วทอนซิลพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงกว่าในช่วงวัยหนุ่มสาว และพบได้น้อยมากในเด็ก ผู้หญิงและผู้ชายพบเกิดได้ใกล้เคียงกัน นิ่วทอนซิลมักมีสีขาวหรือสีออกเหลืองขุ่น อาจออกสีเทา บางครั้งเป็นสีน้ำตาล หรือสีดำได้ อาจเป็นเพียงก้อนเล็กๆ ก้อนเดียวหรือมีหลายๆ ก้อน เมื่อมีก้อนเล็กๆ มักพบได้หลายก้อนพร้อมกัน แต่เมื่อมีขนาดใหญ่มักพบมีเพียงก้อนเดียว ขนาดก้อนพบได้ตั้งแต่เพียง 1 มิลลิเมตร หรือ 2 - 3 มิลลิเมตร (พบได้บ่อย) จนถึงประมาณ 3-4 เซนติเมตร

สาเหตุเกิดนิ่วทอนซิลที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเกิดจากมีการสะสมของแบคทีเรียหลายชนิดทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช่ออกซิเจนในร่องต่างๆ ของต่อมทอนซิล จนก่อให้เกิดคราบแบคทีเรียที่เรียกว่า ไบโอฟิล์ม (Biofilm) เกิดเป็นแก่นให้เกิดการสะสมหมักหมมของซากแบคทีเรียที่ตายแล้ว เศษอาหาร สารคัดหลั่งต่างๆ จากโพรงหลังจมูก ภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง ช่องคออักเสบเรื้อรัง กรดไหลย้อน และจากต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง และมีเกลือแร่ต่างๆ ดังกล่าวมาร่วมจับสะสมจนเกิดเป็นนิ่วทอนซิลขึ้น ซึ่งจากการย่อยสลายของแบคทีเรียและ ซากหมักหมมต่างๆ จึงก่อให้เกิดกลิ่นขึ้น และเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปากโดย เฉพาะในผู้ที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง

นิ่วทอนซิลที่มีขนาดเล็กมักไม่มีอาการ แต่ถ้าก่ออาการคือ การมีกลิ่นปาก แต่เมื่อก้อนนิ่วใหญ่ขึ้นจะก่ออาการได้ ซึ่งอาการที่พบได้คือ

  • มีกลิ่นปาก
  • เจ็บคอเรื้อรัง ไอเรื้อรัง
  • รู้สึกคล้ายมีอะไร/ก้างติดคอ
  • กลืนอาหาร/ดื่มน้ำแล้วรู้สึกเหมือนติดคอ
  • มีรสชาติอาหารผิดไป อาจรู้สึกว่าได้รับรสโลหะ

เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่พอเมื่ออ้าปากจะมองเห็นก้อนนิ่วได้ โดยเห็นมีก้อนสีขาวๆ หรือเหลืองๆ หรือสีต่างๆ ในต่อมทอนซิล นิ่วทอนซิลเป็นโรคไม่รุนแรง ไม่ทำให้เสียชีวิต เพียงแต่มีผลต่อคุณภาพชีวิตเมื่อเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก และเป็นโรคที่กลับเป็นใหม่ได้อีกเมื่อได้รับการรักษาไปแล้ว
ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานว่า นิ่วทอนซิลก่อให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนใดๆ ยกเว้นอาจเป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปาก และยังไม่มีรายงานว่า นิ่วทอนซิลเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งทอนซิล หรือเป็นอาการของโรคมะเร็งทอนซิลหรือกลายเป็นมะเร็งทอนซิล

ขอบคุณที่มา : www.sara-1000.com

อัพเดทล่าสุด