เบาหวานกับการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ MUSLIMTHAIPOST

 

เบาหวานกับการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์


962 ผู้ชม


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หญิงที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน และเกิดตรวจพบระดับน้ำตาลสูงถึงขั้นเบาหวาน อาจจะรักษาด้วยการฉีดยา หรือโดยการควบคุมอาหารขณะตั้งครรภ์ สาเหตุไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากรก [placenta] สร้างฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตของทารก ฮอร์โมนนี้ทำให้ความไวต่ออินซูลินลดลง เกิด ภาวะ insulin resistance ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นเมื่อคลอดแล้วระดับน้ำตาลจะลดลง 

หญิงคนไหนเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดได้กับคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป ผู้ที่ตั้งครรภ์และมีลักษณะดังต่อไปนี้ควรจะได้รับการทดสอบน้ำตาล หากการทดสอบให้ผลลบควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ 24-48 สัปดาห์

  • อายุมากกว่า 25ปี
  • มีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์
  • มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
  • เคยคลอดเด็กที่มีน้ำหนักมาก
  • เคยคลอดเด็กที่เสียชีวิตในครรภ์
  • หญิงกลุ่มนี้ควรตรวจหาน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ตั้งครรภ์ประมาณ 6 เดือน

หญิงคนไหนเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภต่ำ

  • อายุน้อยกว่า 25ปี
  • น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ปกติ
  • ไม่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
  • ไม่มีประวัติคลอดบุตรผิดปกติ
  • ไม่เป็น impair fasting glucose
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจน้ำตาลขณะตั้งครรภ์

การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลอย่างไรกับทารกและมารดา

อินซูลินที่มีมากในมารดาไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกได้ แต่น้ำตาลและสารอาหารจำนวนจากผ่านจากแม่ไปสู่ทารกทำให้ตับอ่อนของทารกต้องสร้างอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาล ผลคือทารกจะอ้วน [macrosomia] ซึ่งอาจทำให้เด็กคลอดยาก และอาจมีบาดเจ็บต่อไหล่ หลังคลอดอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเนื่องจากอินซูลินในเลือดสูง เด็กบางรายอาจมีปัญหาระบบหายใจ เด็กกลุ่มนี้โตขึ้นจะมีแนวโน้มเป็นเบาหวาน สำหรับมารดาก็เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดได้แก่

  • เด็กพิการแต่กำเนิดเช่น หัวใจ สมอง ไตพบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เนื่องจากอวัยวะเด็กจะเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 13 สัปดาห์แต่โรคเบาหวานมักจะเกิดหลัง 12 สัปดาห์แล้ว
  • เด็กตัวโตดังกล่าวข้างต้น
  • เด็กที่เกิดมามีโอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย
  • เกิดครรภ์เป็นพิษได้สูงกว่าคนทั่วไปซึ่งคนท้องจะมีความดันโลหิตสูง ถ้าสูงมากคุณแม่อาจจะชักได้
  • น้ำคล่ำมากไปทำให้คุณแม่อึกอัด
  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบซึ่งอาจจะลุกลามไปไตได้
  • เด็กเกิดมาหายใจหอบเนื่องจากปอดเด็กยังทำงานไม่ได้เต็มที่

การเฝ้าติดตามผลน้ำตาลและสุขภาพเด็ก

  • ควรเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อปรับขนาดยา สำหรับผู้ที่รักษาเบาหวานโดยการฉีดอินซูลินควรจะเจาะน้ำตาลหลังอาหารดีกว่าน้ำตาลก่อนอาหาร
  • ไม่แนะนำให้ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเนื่องจากไม่เพียงพอ
  • ควรจะตรวจความดันโลหิตและปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อเฝ้าติดตามเรื่องความดันโลหิต
  • ตรวจทารกโดยใช่คลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อเด็กอายุ 6-7เดือน

การรักษา

เป้าหมายของการรักษาคือลดระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติให้มากที่สุด โดยการ คุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการฉีดอินซูลิน และควรจะเจาะเลือดเพื่อปรับขนาดอินซูลิน

ปรึกษาโภชนากรเพื่อควบคุมอาหารให้มีสารอาหารเพียงพอสำหรับเด็กและมารดา และไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่อ้วน BMI>30  ให้ลดพลังงานลง 30-33%(ประมาณ1800 กิโลแคลอรี)
ให้ใช้อินซูลินเมื่อคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้ายังสูงกว่า 95 มก.% หรือระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชม.มากกว่า 120 มก.%
น้ำตาลหลังอาหาร 1-h postprandial whole blood glucose 140 mg/dl (7.8 mmol/l)
1-h postprandial plasma glucose 155 mg/dl (8.6 mmol/l)
หรือ 2-h postprandial whole blood glucose 120 mg/dl (6.7 mmol/l) 2-h  postprandial plasma glucose
130 mg/dl (7.2 mmol/l)

  • แนะนำให้ออกกำลังกาย
  • ไม่ใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล
  • ให้ใช้อินซูลินที่มีโครงสร้างเหมือนคน [human insulin]
  • แนะนำให้คลอดเมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 38 สัปดาห์ เนื่องจากหากอายุครรภ์มากกว่านี้โอกาสที่เด็กจะอ้วนมีมาก
  • แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา

การติดตามโรค

ควรเจาะน้ำตาลตรวจหาระดับน้ำตาลทุกวันซึ่งจะให้ผลดีกว่าการเจาะเลือดนานๆครั้ง
ไม่ควรใช้วิธีการตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะในการปรับยา แต่ควรตรวจหา คีโตนในปัสสาวะเพื่อดูว่าพลังงานที่ได้เพียงพอหรือไม่
เมื่อแม่มาตรวจควรวัดความดันโลหิต และตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ
หลังจากคลอดแล้วจะเป็นเบาหวานจะหายหรือไม่

หลังคลอดบุตรเบาหวานจะหายไป หากตั้งครรภ์อีกโอกาสจะเป็นเบาหวาน 2/3 หลังคลอด 6 สัปดาห์ควรเจาะหาระดับน้ำตาล ถ้าปกติให้เจาะเลือดทุก 3 ปี เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต

  • ลดน้ำหนัก ซึงจะป้องเบาหวานชนิดที่สองได้
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เพิ่มผัก ผลไม้ ลดอาหารไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
  • การออกกำลังกาย ซึ่งป้องกัน insulin resistant

อัพเดทล่าสุด