https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคระบบย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคระบบย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร


4,076 ผู้ชม


โรคระบบย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร

โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหารมีหลายโรค มีทั้งชนิดที่รุนแรงและไม่รุนแรง เช่น

ไส้ติ่งอักเสบ

สาเหตุ
เกิดจากการที่มีการอุดตันของไส้ติ่ง โดยอาจจะอุดตันจาก เศษอุจจาระ พยาธิ ทำให้เกิดการเพิ่มความดันภายใจไส้ติ่ง ซึ่งต่อมาจะทำให้ไส้ติ่งบวม มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นมากขึ้นก็อาจทำให้ไส้ติ่งแตก

อาการ
1.จะเริ่มด้วยอาการปวดท้อง โดยเริ่มปวดบริเวณรอบๆสะดือก่อน ( บางคนเริ่มปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวาเลย ) ต่อมาจึงย้ายมาปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา
2.อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ ถ่ายท้องร่วมด้วย
3.ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา อาการปวดท้องจะมากขึ้นโดยปวดทั่วท้องน้อย ( ซึ่งแสดงว่าไส้ติ่งแตกแล้ว )

การรักษา
-หากว่ามีอาการดังกล่าวหรือสงสัยว่าจะเป็นควรรีบส่งโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ ซึ่งในระหว่างนี้ควรงดน้ำงดอาหารก่อน
-การรักษาในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก
-การกินยาแก้ปวดหรือฉีดยาแก้ปวด อาจทำให้อาการปวดลดลงได้ แต่จะเป็นผลเสียกับคนไข้ เพราะจะทำให้ตรวจพบได้ช้า และกว่าจะปวดมากอีกที ไส้ติ่งอาจจะแตกแล้วก็ได้

ข้อแนะนำ
1.ถ้ามีอาการปวดท้องร่วมกับกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านขวา ต้องนึกถึงไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อนเสมอ
2.อาจจะมีบางโรคที่มีอาการคล้ายกับไส้ติ่งอักเสบได้ เช่น ท้องนอกมดลูก นิ่วในท่อไต ลำไส้อักเสบ

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

- Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
- Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยในผู้ใหญ่ มะเร็งส่านใหญ่รักษาหายขาดถ้าสามารถวินิจฉัยได้เร็วและรักษาเร็วมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เช่นกันดังนั้นท่านผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

ระบบทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ช่องปาก [oral cavity] หลอดอาหาร [esophagus] กระเพาะอาหาร[stomach] ลำไส้เล็ก [jejunum] ส่วนลำไส้ใหญ่เริ่มตั่งแต่ ascending colon, transverse colon,descending colon,sigmoid colon ไปสิ้นสุดที่ ทวารหนัก rectum และเปิดที่รูทวาร anus หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือกักอาหารที่เหลือจากการดูดซึม ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 6 ฟุต ส่วน rectum ยาว 8-10 นิ้ว

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแต่มักจะพบร่วมปัจจัยต่างๆดังนี้
- พบมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี แต่สามารถพบในอายุน้อยได้
- อาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และใยอาหารน้อย
- polyps เนื้องอกในลำไส้ใหญ่หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก เต้านม มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
- ผู้ป่วยที่มีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นมะเร็งมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
- ผู้ป่วยทีเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ulcerative colitis

วิธีลดความเสี่ยง จากการค้นคว้าพบว่า การวินิจฉัยและการตัด polyps การหยุดสูบบุหรี่ การที่ได้รับ aspirin การงดสุรา และการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงลงได้

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย
- อุจาระเหลวกับอุจาระแข็งสลับกัน บางครั้งเหมือนถ่ายไม่หมด
- เลือดปนอุจาระ
- อุจาระลำเล็กกว่าปกติ
- ท้องอืดแน่นท้องตลอดเวลา
- น้ำหนักลด
- อาเจียน

การวินิจฉัย
เมื่อแพทย์ทราบอาการของผู้ป่วยและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แพทย์จะซักประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัว หลังจากนั้นจะตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจพิเศษเพิ่มเติมดังนี้

- ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์จะสวมถุงมือและทาครีมหล่อลื่นแล้วตรวจเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
- ตรวจหาเลือดในอุจาระ โดยให้งดเนื้อสัตว์และเลือดรวมทั้งวิตามินบำรุงเลือด3 วันแล้วนำอุจาระตรวจหากผลตรวจให้ผลบวกแสดงว่ามีเลือดทางเดินอาหาร
- การส่องกล้องมีทั้งการส่อง sigmoidoscope คือส่องดูแค่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และ colonoscopy ส่องดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
- การสวนสี barium enema โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าในลำไส้ใหญ่แล้ว x-ray ดูลำไส้ใหญ่
- การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ biopsy อาจจะตัดชิ้นเนื้อขณะส่องกล้อง หรือตรวจหลังจากทราบผล x-ray

การแบ่งระยะของโรค

หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรคโดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรคดังนี้
1. Stage 0 คุณเป็นคนที่โชคดีเป็นโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้
2. Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้
3. Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง
4. Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่น
5. Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด
6. Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจาการรักษา

การรักษา มีการรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสุขภาพ ตำแหน่ง ขนาด และระยะของโรค
1. การผ่าตัด แพทย์จะตัดเนื้อร้ายทั้งหมดร่วมกับเนื้อดีบางส่วน โดยมากแพทย์สามารถต่อลำไส้ได้แต่บางรายไป่สามารถต่อลำไส้ได้แพทย์จะเปิดลำไส้ไว้ที่ผนังหน้าท้อง ถ่ายอุจาระทางหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอุจาระ
2. การให้เคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เหลือจากการผ่าตัด
3. การให้รังสีรักษา โดยมากจะให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้อร้าย หรือให้หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์เนื้อร้ายที่เหลือ
4. Biological therapy คือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
หลังการรักษาควรไปตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่เพื่อที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจหาเลือดในอุจาระ x-ray เจาะเลือดตรวจ

มะเร็งทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ ส่วนมะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งตับอ่อน มะเร็งของลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี และม้าม ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเท่าใดนัก

ในระยะเริ่มแรกไม่จำเป็นต้องมีอาการ ซึ่งยากที่จะทราบได้ถ้าไม่ตรวจเช็คแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงซึ่งแตกต่างกันไปในมะเร็งแต่ละชนิด บางชนิดสามารถตรวจเช็คทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจเอ็กซเรย์ได้ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจเลือดซ่อนเร้นในอุจจาระ (stool occult blood) หรือมะเร็งตับ ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alphafetoprotein, AFP) ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการ อาจเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น เบื่ออาหาร ผอมลง อ่อนเพลีย ต้องเริ่มวิเคราะห์จากอาการที่เป็น ซึ่งในบางอาการ อาจพอที่จะระบุได้ว่าเป็นอวัยวะใด แต่มักไม่จำเพาะว่าต้องเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องทำการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม
มะเร็งหลอดอาหาร

อาการที่ควรสงสัย คือ กลืนลำบากติดที่กลางอก หรือกลืนแล้วอาเจียนสำลัก โดยเฉพาะอาหารแข็งมากกว่าอาหารเหลว แต่ถ้าเป็นมาก ก็จะกลืนติดทั้งอาหารแข็งและเหลว อาการอื่นที่พบได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือดดำ (เลือดถูกกรดในกระเพาะอาหารจะเปลี่ยนสีจากแดงเป็นดำ) หรือแดง กลืนแล้วเจ็บกลางอก หรือเจ็บหน้าอกแต่ตรวจแล้วไม่ได้เกิดจากโรคปอดหรือหัวใจ ตรวจหาได้โดยการกลืนแป้งเอ็กซเรย์หรือส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการที่ควรสงสัย คือ ปวดจุกที่ลิ้นปี่ หรืออาเจียนเป็นเลือดดำหรือแดง อาการอื่นที่พบได้ เช่น ก้อนที่ลิ้นปี่ ปวดท้องเฉียบพลันรุนแรงจากมะเร็งกระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนหลังทานอาหารสักพักจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ตรวจหาได้โดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ส่วนการกลืนแป้งเอ็กซเรย์ไม่ค่อยดีพอในมะเร็งเล็กๆ หรือชนิดที่แทรกตามผิวกระเพาะอาหาร

มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

อาการที่ควรสงสัย คือ ถ่ายเป็นเลือดแดง การขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ ก้อนที่ทวารหนัก

อาการอื่นที่พบได้ เช่น ปวดท้องเรื้อรังอาจเฉพาะที่หรือเปลี่ยนที่ไปมา ไม่ถ่ายไม่ผายลมปวดท้องรุนแรงมากจากภาวะลำไส้อุดตัน ตรวจหาได้โดยการตรวจเลือดซ่อนเร้นในอุจจาระ หรือสวนแป้งเอ็กซเรย์ทางทวารหนัก หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

ในปัจจุบันมีการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (carcinoembryonic antigen, CEA) ซึ่งมีประโยชน์ในการติดตามผู้ป่วยมะเร็งลำไส้หลังรักษาที่มีสารนี้ขึ้นสูงผิดปกติก่อนรักษา ว่ามีการตอบสนองหรือเกิดซ้ำหรือไม่ ไม่ควรใช้ในการเฝ้าระวังหรือตรวจหาในประชากรทั่วไป เพราะไม่มีความไวหรือความจำเพาะเจาะจงเพียงพอ กล่าวคือสารนี้ปกติหรือขึ้นสูงได้ในคนปกติ และสารนี้อาจปกติได้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

มะเร็งตับ

พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มสุราประจำเป็นเวลานานๆ มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี และผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็ง อาการที่ควรสงสัย คือ ปวดหรือมีก้อนที่ใต้ชายโครงขวา ตาเหลืองตัวเหลือง ท้องมาน (มีน้ำในท้อง)

อาการอื่นที่พบได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือดดำหรือแดง ขาบวม ตรวจหาได้โดยอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน ส่วนการตรวจเลือดหาสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ (alphafetoprotein, AFP) จะสูงผิดปกติในมะเร็งตับเพียง 70% และไม่จำเพาะเจาะจง เพราะสูงผิดปกติได้ในภาวะอื่นๆอีกมาก จึงแนะนำให้ส่งตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าวข้างต้น หรืออัลตร้าซาวด์สงสัยมะเร็งตับ

อัพเดทล่าสุด