https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไก่ชนพม่า มารู้จัก ไก่ชนพม่า กันดีกว่า MUSLIMTHAIPOST

 

ไก่ชนพม่า มารู้จัก ไก่ชนพม่า กันดีกว่า


2,152 ผู้ชม


ไก่ชนพม่า มารู้จัก ไก่ชนพม่า กันดีกว่า

ไก่พม่า

ไก่พม่าในปัจจุบัน นิยมเลี้ยงกันมากใน 18 จังหวัด แถบภาคเหนือตอนบนแล้วตอนล่าง 
จังหวัดที่นิยมเลี้ยงไก่พม่าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ฯลฯ โดยส่วนมากไก่พม่าที่เลี้ยงกันจะเป็นลูกครึ่งพม่า-ไทย เป็นส่วนใหญ่ ภาคเหนือตอนบนเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ฯ จะนิยมไก่พม่าลูกครึ่งรอยเล็ก คือตั้งแต่ 2.0 - 2.6 ส่วนภาคเหนือตอนล่างตั้งแต่จังหวัด อุตรดิตถ์ ลงไปจะนิยมไก่พม่าลูกครึ่งรอยใหญ่ขึ้น คือตั้งแต่ 2.6 เป็นต้นไป

ไก่ชนพม่า มารู้จัก ไก่ชนพม่า กันดีกว่า

ชั้นเชิงไก่พม่าตามที่ผู้เขียนคลุกคลีเลี้ยงไก่พม่ามา พอจะแบ่งชั้นเชิงไก่ โดยส่วนใหญ่ได้ดังนี้
  1. ถอยตี
  2. โยกตี
  3. ม้าล่อ
  4. สาดแข้งเปล่า
  5. ถอดหัวตี
ข้อดีข้อเสียของไก่พม่า
ข้อดี
1. ตีไว ปากไว ตีแม่น สาดแข้งเปล่าอาชีพ 
ตีได้โดยไม่ต้องจิก
2.ตีได้เรื่อย ๆ ไม่มีหยุด มีก๊อก 1 23 มาเรื่อย ๆ ตีแผลเกิดบาดแผลเร็ว
ข้อเสีย
1. ตัวเล็ก เตี้ย รูปร่างไม่สวย โครงสร้างของร่างกายบอบบาง
2. มีไม่มากเชิง ส่วนมากเป็นไก่เชิงเดียว
ข้อควรคำนึงถึงในการเลี้ยงไก่พม่าเข้าตีในสนามชนไก่
1. เวลาปล้ำไก่พม่าอย่าปล้ำเกินเดือนละ 2 ครั้ง ถ้ามากกว่านี้ไก่จะโทรม
ร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน จะทำให้เสียไก่ได้
2.การออกกำลังควรงดการโยนเบาะ เพราะจะทำให้ไก่พม่ากล้ามเนื้อยึด แกร่ง นิ้ว
เล็บ อาจเจ็บ อาจหลุดได้วิธีการออกกำลังกายใช้วิธีการ ล่อบิน ล่อวิ่ง วิ่งสุ่ม
วิ่งสุ่ม ล่อเตะล่อสาดแข้ง ดีที่สุด
3. ควรฝึกสาดแข้งเปล่า โดยใช้วิธีพันปาก ทั้งตัวที่เลี้ยงและคู่ปล้ำ
เพื่อฝึกการสาดแข้ง แล้วนำมาฉะแข้งอาทิตย์ล่ะ 2 วัน ครั้ง 5 นาที
4.เวลาปล้ำควรให้ปล้ำกับไก่ทุกเชิง จะได้รู้ว่าไก่เราแก้เชิงไหนได้
และเชิงไหนที่แก้ไม่ได้ ถ้าเรารู้จะทำให้ได้เปรียบในการเปรียบไก่ในสนามชนไก่
ว่าควรจะเลือกตีกับไก่เชิงไหนไก่เราถึงจะมีโอกาสชนะ
หรือหลีกเลี่ยงตีกับไก่เชิงอะไร
5.อาหารบำรุงอย่าให้ประเภทไขมันมากนักเพราะจะทำให้อ้วน บินไม่ขึ้น
ควรให้เนื้อปลา สมุนไพร หญ้า 
6.อย่าลงขมิ้นกับปูน เพราะจะทำให้รัดตัวไก่ ถ้าลงจะทำให้ไก่อึดอัด
ความคล่องแคล่วในการตีการสาด ลดน้อยลง
7.นำไปออกกำลังด้วยการว่ายน้ำ อาทิตย์ล่ะครั้ง ครั้งล่ะ 10 นาที ก่อนออกตี 9
วัน จะทำไก่สาดแข้ง ตีได้สุดแข้งขึ้น
แต่ระวังก่อนนำไปว่ายน้ำต้องหาพลาสติกมาคลุมปีกกันปีกโดยน้ำด้วย
เพราะปีกโดนน้ำบ่อย ๆ จะทำให้ปีกหัก แตก ได้ง่าย
8.น้ำสมุนไพรที่ใช้อาบไก่พม่านั้น ใช้บอระเพ็ด ต้นตะไคร้
และผลมะกรูดทั้งลูกไม่ต้องผ่า
9.ไก่หม่าอย่าเลี้ยงให้หนักมาก แข็งมาก เลี้ยงให้น้ำหนักพอดี ๆ 
ทดสอบน้ำหนักไก่สม่ำเสมอว่าน้ำหนักเท่าไหร่ไก่ตีได้ดีที่สุด
ลองพิจารณา วิเคราะห์ นะครับ จากประสบการณ์ที่ผมเลี้ยงไก่พม่ามา 10 กว่าปี
วิธีนี้ใช้ไเลี้ยงไก่พม่าสำหรับตัวผมเหมาะสมที่สุดแล้วครับ

โดย พรเทพ บุรินทร์โกษฐ์ 

อัพเดทล่าสุด