อาการท้องเสีย จุลินทรีย์ดี ร้ายไม่สมดุล แก้ง่ายๆ MUSLIMTHAIPOST

 

อาการท้องเสีย จุลินทรีย์ดี ร้ายไม่สมดุล แก้ง่ายๆ


897 ผู้ชม


อาการท้องเสีย จุลินทรีย์ดี ร้ายไม่สมดุล

อาการท้องเสีย จุลินทรีย์ดี ร้ายไม่สมดุล แก้ง่ายๆ

                ขยายความต่อจากเมื่อวาน กับ ‘จุลินทรีย์’ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในร่างกายของเรา และอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าจุลินทรีย์มีทั้งชนิดที่ให้คุณและให้โทษ โดยต้องรักษาให้จำนวนจุลินทรีย์สองชนิดนั้นอยู่ในระดับสมดุลแล้วร่างกายจะแข็งแรง
และวันนี้ ‘ภาษาหมอ’ มีจุลินทรีย์ตัวดีมาแนะนำให้รู้จัก อย่าง ‘บิฟิโดแบคทีเรีย’ อาศัยอยู่ในลำไส้ ช่วยป้องกันสารพิษดูดซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย สร้างกรดแลคติคและกรดไขมันห่วงโซ่สั้นที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวที่ทำให้คนเราเกิดอาการท้องเสีย เช่น E.Coli, Clostridium perfringens, Salmonella spp. และยังช่วยกระตุ้นการสร้างวิตามิน เพิ่มการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย
อีกตัวมีชื่อว่า ‘แลคโตบาซิลไล’ คอยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ แย่งอาหารของจุลินทรีย์ตัวร้ายทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้
แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น จุลินทรีย์ตัวดีจะลดจำนวนน้อยลงกว่าตัวร้าย จึงทำให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย อุจจาระสีคล้ำและเหม็นมาก รวมทั้งภูมิต้านทานลดลง ทำให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ง่าย
เมื่อเป็นเช่นนั้น ‘พรีไบโอติก’ หรือกลุ่มหนึ่งของอาหารฟังก์ชั่น มีหน้าที่มากกว่าอาหารที่ให้ความอิ่ม จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยคงสภาพความสมดุลของจุลินทรีย์ เพราะมีคุณสมบัติป้องกันและรักษาโรค เนื่องจากพรีไบโอติกมีสารที่ร่างกายย่อยไม่หมด หรือลำไส้ส่วนบนไม่สามารถย่อยได้จึงถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ตัวดี ไม่ให้ถูกลดจำนวนลง
พรีไบโอติกซึ่งกำลังได้รับความนิยม คือ อินนูลิน และโอลิโกฟรุกโตส พบมากในรากชิโครี อาร์ติโชก หัวหอม หัวหอมใหญ่ ต้นหอม กระเทียม ถั่วเหลือง หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ หรือกล้วย
พรุ่งนี้ ‘สามัญประจำบ้าน’ รอแนะวิธีการเลือกอาหารใส่กระเช้าปีอวยพรปีใหม่ให้ได้สุขภาพตามธาตุทั้ง 5 ส่วนการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ด้วย ‘พรีไบโอติก’ ตามอ่านกันต่อได้ภายในสัปดาห์นี้

พิเศษสำหรับคุณผู้อ่านสามารถขอรับหนังสือ เรื่อง “สุขภาพดีเริ่มที่ลำไส้” ได้ที่ 02-860-4561 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลาทำการ
takecareDD@gmail.com
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเอกสารความรู้ ‘สุขภาพดีเริ่มที่ลำไส้’ โดย อ.จุริจา สัมมะสุต และ Health Impact
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

อัพเดทล่าสุด